การออกแบบโปรไฟล์แบบเครือข่ายสำหรับการนิเทศเพื่อส่งเสริมทักษะการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษา

ผู้แต่ง

  • ปุณทิศา กลัดทอง คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วรรณี แกมเกตุ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

โปรไฟล์แบบเครือข่าย, การนิเทศ, ทักษะการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะข้อมูลสารสนเทศที่จำเป็นต่อการพัฒนาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาครูตามองค์ประกอบทักษะการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และออกแบบโปรไฟล์แบบเครือข่ายสำหรับการนิเทศเพื่อส่งเสริมทักษะการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถามเพื่อสำรวจความคิดเห็นจากอาจารย์นิเทศก์ อาจารย์พี่เลี้ยง อาจารย์หัวหน้าศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และนักศึกษาครู รวมจำนวน 285 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย และใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับทักษะการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่ต้องการมุ่งวัดจากอาจารย์นิเทศก์และครูพี่เลี้ยง จำนวน 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และใช้โปรแกรม Visual studio code ในการออกแบบโปรไฟล์เครือข่ายผลการวิจัยพบว่า

            1) ข้อมูลการประเมินเกี่ยวกับทักษะการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่ต้องการมุ่งวัดด้วยแบบสอบถามและจากแบบสัมภาษณ์มีความสอดคล้องกัน โดยตัวอย่างวิจัยเห็นด้วยกับการเก็บข้อมูลในแต่ละด้านอยู่ในเกณฑ์มากถึงมากที่สุด เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยรายด้าน พบว่า ครูพี่เลี้ยงและหัวหน้าศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของโรงเรียน เห็นด้วยว่าทักษะด้านการปฏิบัติตนควรมุ่งวัดมากที่สุด โดยมี gif.latex?\bar{X}=4.71, gif.latex?\bar{X}= 4.73 และ S.D.= 0.60, 0.51 ตามลำดับ อาจารย์นิเทศก์เห็นด้วยว่าทักษะด้านเนื้อหาสาระควรมุ่งวัดมากที่สุด ( gif.latex?\bar{X}=4.65, S.D.= 0.75) และนักศึกษาครูเห็นด้วยว่าทักษะด้านความสัมพันธ์กับโรงเรียนและชุมชนควรมุ่งวัดมากที่สุด ( gif.latex?\bar{X}=4.44, S.D.= 0.73)โปรไฟล์แบบเครือข่ายนี้ ประกอบด้วยองค์ประกอบ10 ด้าน คือ 1) ด้านการวางแผนและการเตรียมการ 2) ด้านเนื้อหาสาระ 3) ด้านวิธีสอน 4) ด้านการวัดและประเมินผลผู้เรียน 5) ด้านทักษะการตั้งคำถาม 6) ด้านการจัดการชั้นเรียน 7) ด้านการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสอน 8) ด้านความสัมพันธ์กับโรงเรียนและชุมชน 9) ด้านการปฏิบัติตน และ 10) ด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน

            2) เมื่อพิจารณาระดับความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 3 ท่าน โดยใช้แบบประเมินความเหมาะสม พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.33 ถึง 5.00 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดีและดีมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความสะดวกในการใช้งาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( gif.latex?\bar{X}= 5.00, S.D.= 0.00)

References

จุฑามาศ สิริวัฒน์โสภณ. (2559). ผลการเตรียมความพร้อมครูที่มีต่อชีวิตการทำงานครูในยุคดิจิทัลและผลที่ตามมา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดวงใจ สี เขียว. (2549) การพัฒนาระบบการประเมินนิสิต/นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูตามแนวคิดการประเมินแบบ 360 องศา โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสรุป อ้างอิง (Doctoral dissertation, จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ประวีนา เอี่ยมยี่สุ่น. (2557). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาคณะศิลปศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ครั้งที่ 1(The 1st RUSNC).

พิชญ์สินี ชมภูคำ. (2562). รูปแบบการประเมินสมรรถนะนักศึกษาครูในศตวรรษที่ 21. วารสารวิจัยทางการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มศว. 14(1).

เพ็ญนภา กุลวงศ์ (2560). การประเมินโครงการพัฒนาความรู้ด้านการวัดและประเมินผลของครูวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา.วารสารวัดผลการศึกษา. 34(96). 45-54.

วัชราภรณ์ เขื่อนวัง. (2549). สภาพปัจจัยและการส่งเสริมการนิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูแบบกัลยาณมิตรนิเทศ : พหุกรณีศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิรัชต์ วรรณรัตน์ (2561). ศักยภาพผลการเรียนรู้ของบัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตร ป.บัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ปีการศึกษา 2557-2559. วารสารวัดผลการศึกษา. 35(98). 12-23.

ศุภวรรณ สัจจพิบูล, (2560) แนวคิดการนิเทศเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปะ.37(1).203-222. https://doi.org/10.14456/sujthai.2017.38

สโรชา คล้ายพันธุ์. (2557). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา. 8(1). 63-76

Abucayon, M. (2016). Level of proficiency on the essential teaching skills among the pre-service teachers of the College of Education. The 9thInternational Conference on Educational Research.

Bonilla, S. X., & Méndez Rivera, P. (2008). Mentoring in pre-service teaching: from reflection on practice to a didactic proposal. Actualidades pedagógicas, 1(52), 79-90.

Darling-Hammond, L. (2006). Constructing 21st-century teacher education. Journal of teacher education. 57(3). 300-314.

Watkins, A. (2012). Teacher education for inclusion: Profile of inclusive teachers. European Agency for Development in Special Needs Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-12