ผลของการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเผชิญความจริงต่อการปรับตัวทางอารมณ์ของแม่เลี้ยงเดี่ยว

ผู้แต่ง

  • สดับพิณ เนียมถนอม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ประชา อินัง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ชมพูนุท ศรีจันทร์นิล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การปรับตัวทางอารมณ์, แม่เลี้ยงเดี่ยว, ทฤษฎีเผชิญความจริง

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research design)มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเผชิญความจริงต่อการปรับตัวทางอารมณ์ของแม่เลี้ยงเดี่ยว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว ในมูลนิธิทวีคนดี จำนวน 20คน โดยคัดเลือกจากแม่เลี้ยงเดี่ยวที่มีคะแนนการปรับตัวทางอารมณ์ในระดับต่ำที่สุดขึ้นไป สุ่มกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มทดลอง 10 คน และกลุ่มควบคุม 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวัดการปรับตัวทางอารมณ์และโปรแกรมการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเผชิญความจริง ผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองการให้การปรึกษากลุ่มทฤษฎีเผชิญความจริง จำนวน 10 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที โดยใช้แบบแผนการวิจัยเชิงทดลองสองตัวประกอบ แบบวัดซํ้าหนึ่งตัวประกอบ แบ่งการเก็บข้อมูลออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซํ้าประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่ม และหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม และทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีของ นิวแมน-คูลส์ผลการวิจัยพบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แม่เลี้ยงเดี่ยว กลุ่มทดลองมีคะแนนความสามารถในการปรับตัวทางอารมณ์สูงกว่าแม่เลี้ยงเดี่ยว กลุ่มควบคุมในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และแม่เลี้ยงเดี่ยว กลุ่มทดลองมีคะแนนความสามารถในการปรับตัวทางอารมณ์ ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล สูงกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

ชัญญา ภาคอุทัย. (2557). ผลการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเผชิญความจริงต่อการเรียนรู้ด้วยการนำตนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖. มหาวิทยาลัยบูรพา: ชลบุรี.

ถวิลธาราโภชน์,ศรัณย์ ดำริสุข. (2543). พฤติกรรมมนุษย์กับพัฒนาตน. กรุงเทพฯ: พิมพ์ครั้งที่๔ บริษัท อักษราพิพัฒน์ จำกัด.

พรพิมล พรมนัส. (2561). ผลของโปรแกรมการกำกับอารมณ์ต่อความสามารถทางอารมณ์และสังคม ของเด็กที่มาจากครอบครัวหย่าร้าง การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วริศรา ชีพสมุทร. (2561). การเสริมสร้างการปรับตัวทางอารมณ์ของสตรีที่ถูกกระทำความรุนแรงภายในครอบครัวด้วยการปรึกษารายบุคคลทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศุภกานต์ บำรุงสุนทร. (2563). การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางใจของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาที่มาจากครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวด้วยการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเผชิญความจริง. วารสารการวัดผลการศึกษา. 37(101). 135–145.

Aguilera, D and Janice Messick. (1974). Crisis Intervention Theory and Methodology St Louis The C V Mosby Company.

Corey, Gerald. (1996). Theory and Practice of Counseling and Psychotherapy. 8th ed. California: Brooks/Cole Publishing Company.

Dandridge, Rita B., comp. "Ann Allen Shockley: An Annotated Primary and Secondary Bibliography." New York: Greenwood, 1987. xvi+120 pp.

Glasser, W. (1965). Reality Therapy: A New Approach Phychiatry. New York: Harper & Row. Guilford.Roy C. The Roy Adaptation Model. 3. Upper Saddle River, NJ: Pearson Education, Inc; 2009.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-12