การส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาร้อยละ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านน้ำแคม

ผู้แต่ง

  • สินจัย ศรีพล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • ภัทราพร เกษสังข์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • นฤมล ศักดิ์ปกรณ์กานต์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

การวิจัยปฏิบัติการ, การคิดวิเคราะห์, การแก้โจทย์ปัญหาร้อยละ, นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาร้อยละของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านน้ำแคม 2) เพื่อศึกษาความคาดหวัง และการส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาร้อยละ และ 3) เพื่อเปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาร้อยละของนักเรียนระหว่างก่อนพัฒนากับหลังพัฒนา กลุ่มเป้าหมายในงานวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านน้ำแคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 จำนวน 16 คน และ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ ครูที่สอนคณิตศาสตร์ โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ เกี่ยวกับสภาพปัญหา ความคาดหวัง แนวทาง 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบวัดย่อยและ 4) แบบวัดการคิดวิเคราะห์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัญหาการคิดวิเคราะห์ เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาร้อยละ พบว่า นักเรียนไม่สามารถคิดวิเคราะห์ ตีความ หรือ จับประเด็นโจทย์ปัญหาที่ให้มาในสถานการณ์ใหม่ได้ ไม่เข้าใจเรื่องที่โจทย์กำหนดให้ ไม่รู้ว่าต้องใช้หลักการอะไรในการหาคำตอบ และถ้าโจทย์ปัญหาซับซ้อนมากขึ้นจะวิเคราะห์โจทย์ปัญหาไม่ได้ อีกทั้งยังขาดทักษะการคิดวิเคราะห์2)ความคาดหวัง และแนวทางการพัฒนาการคิดวิเคราะห์ เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาร้อยละ พบว่า คาดหวังให้นักเรียนได้เรียนในเนื้อหาที่ไม่ต้องซับซ้อน นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ นักเรียนสามารถคิดวิเคราะห์ เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาร้อยละได้คะแนนร้อยละ 60 ขึ้นไป และนักเรียนที่ผ่านต้องมีจำนวนร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด  3) ผลการเปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาร้อยละ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนกับหลังการพัฒนา พบว่า การคิดวิเคราะห์ เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาร้อยละ โดยภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ย 21.94 คิดเป็นร้อยละ 73.13 ของคะแนนเต็ม นักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 มีจำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 87.50 ด้านที่นักเรียนผ่านเกณฑ์มากที่สุด ด้านการวิเคราะห์ส่วนประกอบ คิดเป็นร้อยละ 100 รองลงมาคือ ด้านการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ คิดเป็นร้อยละ 81.25 และด้านการวิเคราะห์หลักการคิดเป็นร้อยละ 75.00 และผลเปรียบเทียบ พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังที่ได้รับการพัฒนาการคิดวิเคราะห์ เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาร้อยละ สูงกว่าก่อนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560).คู่มือการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กลุ่มงานวัดและประเมินผลการศึกษา. (2559). รายงานการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2559.เลย: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1.

กลุ่มงานวัดและประเมินผลการศึกษา. (2560).รายงานการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2560.เลย: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1.

กลุ่มงานวัดและประเมินผลการศึกษา. (2561).รายงานการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2561.เลย: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1.

กิตติศักดิ์ บุญทอง, สุพจน์ เกิดสุวรรณ และทองปาน บุญกุศล. (2563). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์กับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิคทีมเกมการแข่งขัน.วารสารการวัดผลการศึกษา. 37(102). 43-58.

จิราภรณ์เฟื่องฟุ้ง และไพทยา มีสัตย์. (2560).การพัฒนาการคิดวิเคราะห์โดยใช้สื่อวิดีทัศน์ เรื่อง พันธะเคมีของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4.วารสารบัณฑิตวิทยาลัย บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. 5(2). 718-733.

ชานนท์ ปิติสวโรจน์, นพพร ธนะชัยขันธ์ และสุดาพร ปัญญาพฤกษ์. (2557).การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาการบวกและการลบโดยใช้กระบวนการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2.วารสารบัณฑิตวิจัย: บัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.8(1). 57-69.

ทัสริน สมนวนตาด และคณะ. (2555).การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการและการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้.วารสารสิ่งแวดล้อม- สสศท.6 (กรกฏาคม - ธันวาคม). 65 – 73.

ปรียาณ์ภัสนากร สุ่มมาตย์.(2562).การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิค KWDL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ภคมนโกษาจันทร์, ภัทราพรเกษสังข์ และนฤมล ศักดิ์ปกรณ์กานต์. (2562).การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนภูเรือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 13(1). 58-65

โรงเรียนบ้านน้ำแคม. (2561). บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้. เลย: โรงเรียนบ้านน้ำแคม.

โรงเรียนบ้านน้ำแคม. (2562).แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา 2562.เลย: โรงเรียนบ้านน้ำแคม.

สดใส ศรีกุตา. (2557). การใช้การประเมินระหว่างสอนของครูเพื่อปรับการจัดการเรียนรู้ ในชั้นเรียนที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สดใส ศรีกุตา. (2555). ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สดใส ศรีกุตา. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560).กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สมนึกกำลังเดช. (2553). การศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหา. สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุลักขณาใจองอาจ. และปวีณาอ่อนใจเอื้อ.(2561).ผลของโปรแกรมกิจกรรมแนะแนว ตามแนวการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนแพรกประชาสรรค์. วารสารการวัดผลการศึกษา. 35(98). 38-53.

สุวิทย์ มูลคำ, และอรทัย มูลคำ. (2545).19วิธีจัดการเรียนรู้: เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.

สุวิทย์ มูลคำ, และอรทัย มูลคำ. (2547).กลยุทธ์การสอนคิดวิเคราะห์.กรุงเทพฯ. ดวงกมลสมัย.

อุไรวรรณ ปานทโชติ.(2563).การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองสำหรับนักเรียนโรงเรียนอ่างทองพัฒนา.วารสารพิกุล.18(1).173-179.

Bloom, Benjamin S.ed. (1961). Taxonomy of educational objective book 1: Cognitive domain. New York: David Mckay.

Zambas, J.(2021). 15 Ways to Improve Your Analytical Thinking Skills.Retrieved April 7, 2020, from https://www.careeraddict.com/5-surprisingly-simple-ways-to-improve-your-analytical-thinking-skills

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-12