ผลการปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีเผชิญความจริงต่อความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคในการทําวิจัยในรายวิชาปัญหาพิเศษของนักศึกษาปริญญาตรี
คำสำคัญ:
การปรึกษากลุ่ม, ทฤษฎีเผชิญความจริง, ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ศึกษาผลการปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีเผชิญความจริงต่อความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคในการทำวิจัยในรายวิชาปัญหาพิเศษของนักศึกษาปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ นักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 สาขาการจัดการโลจิสติกส์ ที่มีคะแนนจากแบบวัดความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคในการทำวิจัยระดับค่อนข้างต่ำและระดับต่ำ สมัครใจเข้าร่วมการทดลอง จำนวน 16 คน สุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง 8 คน และกลุ่มควบคุม 8 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แบบวัดความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคในการทำวิจัย และโปรแกรมการปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีเผชิญความจริงที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ใช้เวลาสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 60-90 นาที รวมทั้งสิ้น 10 ครั้ง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับคำปรึกษาจากอาจารย์ที่ปรึกษาตามปกติ เก็บข้อมูล 3 ระยะ คือ ระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และติดตามผล สถิติที่ใช้คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยภายหลังการทดสอบรวมด้วยวิธี LSD ผลการวิจัยพบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการปรึกษาและระยะการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 นักศึกษาที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีเผชิญความจริงมีความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคในการทำวิจัย ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 นักศึกษาที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีเผชิญความจริงมีความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคในการทำวิจัย ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และนักศึกษากลุ่มควบคุมมีความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคในการทำวิจัย ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลกับระยะก่อนการทดลองไม่แตกต่างกัน
References
กัลยารัตน์ อนนท์รัตน์ และจงกรม ทองจันทร์. (2561). การเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญอุปสรรคของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 34(2), 154-163.
นพพร ปานขาว, เพ็ญนภา กุลนภาดล และดลดาว ปูรณานนท์. (2561). ผลการปรึกษาทฤษฎีเผชิญความจริงต่อการยอมรับของภรรยาผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม. วารสารการวัดผลการศึกษา. 35(98), 81-91.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2555). การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย: คุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พีระญาณ์ อัครวงศ์กรณ์. (2559). ผลการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเผชิญความจริงต่อการปรับตัวทางเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ราตรี เอี่ยมประดิษฐ์ และสุมาลี บุญนุช. (2557). ปัจจัยความสำเร็จในการทำปริญญานิพนธ์ของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. รายงานวิจัย, สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
วัชรี ทรัพย์มี. (2556). ทฤษฎีการให้ปรึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วันปิยะ เลิศปิยะวรรณ. (2560). ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรค: แนวทางการพัฒนาเครื่องมือวัดประเมิน. วารสารการวัดผลการศึกษา. 34(95), 15-28.
สุภาวดี โกยดุล และเจษฎา อิสเหาะ. (2560). การแก้ไขปัญหาผลการเรียนไม่สมบูรณ์ในรายวิชาปัญหาพิเศษของนักศึกษาสาชาวิทยาศาสตร์การประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. รายงานวิจัย, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การประมง, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
อภิญญา ปิตินิตย์นิรันดร์, เพ็ญนภา กุลนภาดล และดลดาว ปูรณานนท์. (2560). ผลการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเผชิญความจริงต่อพฤติกรรมการติดสมาร์ทโฟนของนิสิตปริญญาตรี. วารสารการวัดผลการศึกษา.35(98), 92-106.
อาทิตย์ พานิชอัตรา. (2561). ผลการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีเผชิญความจริงต่อการการยับยั้งชั่งใจในการดื่มแอลกอฮอล์ของนิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
Corey, G. (2012). Theory & Practice of Group Counseling (8th ed.). Pacific Grove, CA: Brooks/Cole.
Howell, D. C. (2007). Statistical methods for psychology (6th ed.). Belmont, CA: Wadsworth.
Stoltz, P. G. (1997). Adversity Quotient: Turning Obstacles into Opportunities. Milton Keynes: John Wiley & Sons.