ผลการปรึกษากลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญาต่อความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรี

ผู้แต่ง

  • พรรณรมณ ชูบัว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ประชา อินัง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • เพ็ญนภา กุลนภาดล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ความวิตกกังวล, ผลการปรึกษากลุ่ม,, พฤติกรรมทางปัญญา

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงทดลอง มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลการปรึกษากลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญาต่อความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา เป็นนักศึกษาปริญญาตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่มีคะแนนความวิตกกังวลอยู่ในระดับสูง จำนวน 20 คน และสุ่มอย่างง่าย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยแบ่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 10 คนเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่ แบบวัดความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษและโปรแกรมการปรึกษากลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญา โดยกลุ่มทดลองได้รับการปรึกษากลุ่ม สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที รวมทั้งสิ้น 10 ครั้ง และกลุ่มควบคุมนั้นได้ดำเนินชีวิตตามปกติ การเก็บข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม และทดสอบความแตกต่างรายคู่แบบ LSDผลการวิจัยพบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการปรึกษาและระยะการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 นักศึกษาที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามแนวคิดทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญามีความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักศึกษาที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามแนวพฤติกรรมทางปัญญามีความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลต่ำกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

References

จันทิรา เมฆวิลัย. (2559). ผลของโปรแกรมการบำบัดความคิดและพฤติกรรมต่อภาวะซึมเศร้าและพฤติกรรมหุนหันพลันแล่นของวัยรุ่นในศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชนเขตกรุงเทพและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จารุวรรณ ก้านศรี. (2555). ประสิทธิผลของกลุ่มบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมต่อภาวะซึมเศร้าและความคิดฆ่าตัวตายในผู้ติดเชื้อเอชไอวี. วารสารกองการพยาบาล. 39(1). 19-31.

ฉัตรระพี ซิมทิม. (2555). ผลของการให้คำปรึกษารายบุคคลตามแนวทฤษฎีการปรับพฤติกรรมทางปัญญาที่มีต่อความคิดเชิงบวกและภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์.20(4).79-91.

วรภรณ์ ทินวัง. (2555). ศึกษาผลของกลุ่มบำบัดแบบปรับความคิดและพฤติกรรมต่อความเครียดของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์. 39(1). 131-132.

วราภรณ์ วราธิพร, สายัณห์ วงศ์สุรินทร์, อรนุช สมประสิทธิ์, ภัทรพรรณ พรหมคช, และพูนพชร ทัศนะ. (2562). การศึกษาความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน.11(30). 119-124.

ปวริศ เพชรจันทร์. (2559). ความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษในชั้นเรียนของนักเรียนหญิงผู้บกพร่องทางการมองเห็น ณ ศูนย์ฝึกอาชีพหญิงตาบอด. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการสื่อสารและการพัฒนา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.

Beck, A. T., Emery, G. & Greenberg, R. L. (1985). Anxiety disorders and phobias: a cognitiveperspective. New York: Basic book.

Beck, A.T., Wright, F.D., Newman,C.F., & Liese, B.S. (1995). Cognitive therapy of substanceabuse. New York: Guildford.

Corey, G. (2012). Theory & Practice of Group Counseling(8 ed.). CA: Brooks/Cole.

Ellis, A, & John M. W. (1979). The Theoretical and Empirical Foundation of Rational-EmotiveTherapy. California: Brooks/ Cole.

Howell, D. C. (2007). Statistical methods for psychology(6th ed.). Belmont, CA: Wadsworth.

Spielberger, C. D. (1989). State-Trait Anxiety Inventory: Bibliography(2nd ed.). Palo Alto, CA: Consulting Psychologists Press

Struart GW & Sundeen S. J. (1995). Principle and practice of psychiatric nursing. (5th ed.).ST Louis: Mosby.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-12