การพัฒนาแบบวัดกริท (Grit) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

ผู้แต่ง

  • จิดาภา ศิริพรรณ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศิริเดช สุชีวะ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

แบบวัดเชิงสถานการณ์, กริท, การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดกริทสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 830 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดกริทสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ลักษณะของแบบวัดกริทเป็นแบบวัดเชิงสถานการณ์แบบเลือกตอบ ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 25 ข้อ มีความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ตั้งแต่ 0.60-1.00 มีค่าอำนาจจำแนก (Corrected Item-Total Correlation) ตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไป มีค่าความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายใน (Internal Consistency) เท่ากับ 0.84 และมีความตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัด จากการตรวจสอบด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอับดับสอง (Second Order Confirmatory Factor Analysis) พบว่าโมเดลแบบวัดกริทที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-Square=24.33 df=29 p=0.71 GFI=0.99 AGFI=0.99 RMR=0.01 RMSES=0.00)

References

จิราวัฒน์ เหลาสุภาพ. (2561). ความตรงและความเชื่อมั่นของมาตรวัดความมั่นหมาย (grit) (ฉบับสั้น) ฉบับภาษาไทย. วารสารสวนปรุง. 34(3).

ชาญณรงค์ วิไลชนม์, และทัศน์ศิรินทร์ สว่างบุญ. (2563). การพัฒนาเครื่องมือวัดคุณลักษณะความเป็นคนดีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษาชัยภูมิเขต1. วารสารการวัดผลการศึกษา. 37(101). 88-103.

ธนพจน์ โพสมัคร. (2562). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างกริท (Grit) ของนักเรียนวิทยาลัยนาฏศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม. วารสารราชพฤกษ์. 17.

ธน พจน์โพสมัคร, และลักขณา สริวัฒน์. (2562). การศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้กริทของนักเรียน วิทยาลัยนาฏศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม. Journal of Graduate School, Pitchayatat, Ubon Ratchathani Rajabhat University. 14(1). 71-79.

นิตยา สิงห์สา, นวรินทร์ ตาก้อนทอง, และอรอุมา เจริญสุข. (2563). การ สร้างแบบวัดพฤติกรรมการ ติดเกมออนไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนสังกัดอัครสังฆมณฑล กรุงเทพมหานคร. วารสารการวัดผล การศึกษา. 36(100). 199-219.

เบญจรัตน์ จงจำรัสพันธ์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างความหวังและสุขภาวะองค์รวม โดยมีความเพียรและความเครียดเป็นตัวแปรกำกับ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาจิตวิทยา. บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รักษพล ธนานุวงศ์. (2556). การพัฒนาเด็กเก่ง Generation Me Me Me.https://library.ipst.ac.th/handle/ipst/330

ล้วน สายยศ, และอังคณา สายยศ. (2543). การวัดด้านจิตพิสัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

ล้วน สายยศ, และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 2): กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2549). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (พิมพ์ครั้งที่ 7 (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม)). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2541). จิตวิทยาการศึกษา. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุมาพร ตรังคสมบัติ. (2560). ช่วยลูกสร้างตัวตนที่มั่นคง. https://youtu.be/-2Zvxj2MiLg

Cunha, F., & Heckman, J. J. (2009). The economics and psychology of inequality andhuman development. Journal of the European Economic Association, 7(2-3),320-364.

Dane Bertram. (2006). Likert Scales. http://poincare.matf.bg.ac.rs/~kristina/topic-dane- likert.pdf

Datu, J. A. D., Yuen, M., & Chen, G. (2017). Development and validation of theTriarchicModel of Grit Scale (TMGS): Evidence from Filipino undergraduate students. Personality and Individual Differences, 114, 198-205.

Duckworth, A. L. (2019). Grit: สิ่งที่ต้องมี เมื่อคุณไม่มีแต้มต่อในชีวิต (จารุจรรย์ คงมีสุข, Trans.). WELEARN.

Duckworth, A. L., Peterson, C., Matthews, M. D., & Kelly, D. R. (2007). Grit:perseverance and passion for long-term goals. Journal of personality and social psychology, 92(6), 1087.

Sturman, E. D., Zappala-Piemme, K. (2017). Development of the grit scale for children and adults and its relation to student efficacy, test anxiety, and academic performance. Learning and Individual Differences, 59, 1-10.

Thaler, L. K., & Koval, R. (2015). Grit to great: How perseverance, passion, and plucktake you from ordinary to extraordinary. Currency

Wernimont, P. F., & Campbell, J. P. (1968). Signs, samples, and criteria. Journal of Applied Psychology, 52(5), 372.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-12