โครงสร้างของการวิจัยแบบเครือข่ายของครู: การวิเคราะห์บทบาทผู้เกี่ยวข้องในการออกแบบร่วม เพื่อสำรวจปัญหาวิจัยโดยใช้การวิเคราะห์เครือข่ายสังคม
คำสำคัญ:
การออกแบบร่วม, การวิจัยแบบเครือข่าย, การวิจัยของครู, การวิเคราะห์เครือข่ายสังคมบทคัดย่อ
จากสภาพในอดีตจนถึงปัจจุบันชี้ให้เห็นว่าการวิจัยของครูในประเทศไทยยังคงมีข้อจำกัด อย่างไรก็ตาม ถ้ามีการส่งเสริมการทำวิจัยแบบเครือข่ายน่าจะช่วยให้ครูกำหนดปัญหาวิจัยได้อย่างมีประสิทธิผลเพิ่มขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้วการศึกษาเกี่ยวกับการทำวิจัยแบบเครือข่ายระหว่างบุคลากรทางการศึกษาในปัจจุบันยังพบได้น้อย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจโครงสร้างของการทำวิจัยแบบเครือข่ายในขั้นตอนของการสำรวจปัญหาวิจัยระหว่างครูและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในเชิงปฏิบัติมากขึ้น การวิจัยครั้งนี้ประยุกต์ใช้แนวคิดการออกแบบร่วมเป็นกรอบในการศึกษาการทำวิจัยแบบเครือข่ายของครู เพราะการออกแบบร่วมจะช่วยให้ได้สารสนเทศเกี่ยวกับจุดที่ควรพัฒนาในกระบวนการทำงานระหว่างผู้เกี่ยวข้องในเครือข่าย ข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้น่าจะช่วยให้ได้วิธีการในการส่งเสริมที่มีประสิทธิผลสำหรับครูและนักการศึกษาในการสำรวจปัญหาวิจัยในกระบวนการวิจัยแบบเครือข่าย การวิจัยครั้งนี้เก็บข้อมูลจากครูจำนวน 288 คน ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 62 คน ศึกษานิเทศก์เขตพื้นที่การศึกษาจำนวน 63 คน และอาจารย์มหาวิทยาลัยหรือนักวิจัย จำนวน 61 คนโดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบสโนวบอล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสำรวจด้วยแบบสอบถามออนไลน์ Qualtrics และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เครือข่ายสังคม และการนำเสนอทัศนภาพข้อมูล ผลการวิจัยพบว่าสามารถจำแนกโครงสร้างการทำวิจัยแบบเครือข่ายในการกำหนดปัญหาวิจัยระหว่างบุคลากรทางการศึกษาได้ 7 รูปแบบ โดยรูปแบบเครือข่ายแบบโซ่เป็นรูปแบบที่พบมากที่สุด รองลงมาคือเครือข่ายแบบเชื่อมจุดต่อจุด ข้อมูลจากการวิจัยนี้น่าจะช่วยเป็นสารสนเทศหนึ่งในการปรับปรุงกระบวนการวิจัยของครูและผู้เกี่ยวข้อง
References
คเชนทร์ กองพิลา. (2564). การพัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน.1(1).22-37.
ธนาภา งิ้วทอง และสุวิมล ว่องวาณิช. (2561). การพัฒนาแบบวัดแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการวิจัยแบบร่วมมือของครู โดยใช้ผลจากการวิจัยประสบการณ์ผู้ใช้. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา.13(2). 252-263.
บุญรัตน์ แผลงศร. (2565). เครื่องมือการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แบบสอบถามออนไลน์. วารสารการวัดผลการศึกษา.39(105). 28-38.
พัชราภรณ์ สุนทรวิบูลย์. (2561). แนวคิดการสร้างแบบวัดด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล. วารสารการวัดผลการศึกษา.35(97). 10-21.
วิภาวี ศิริลักษณ์. (2562). การวิจัยการออกแบบและการศึกษาประสบการณ์ผู้ใช้เพื่อพัฒนาหลักการออกแบบและต้นแบบการส่งเสริมกรอบคิดทางบวกด้านการวิจัยของครู. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรศักดิ์ เก้าเอี้ยน. (2558). การวิเคราะห์เงื่อนไขที่เหมาะสมและแนวทางเพื่อส่งเสริมความยึดมั่นผูกพันกับการวิจัยของครูด้วยโมเดลพื้นผิวการตอบสนอง และการวิเคราะห์คอนจอยท์. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2559). วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา: จุดประกายความคิดใหม่. ไอคอนพริ้นติ้ง.
อนุชา กอนพ่วง. (2562). การวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบ STEM Education. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.).24(1). 26-40.
อัจศรา ประเสริฐสิน. (2555). การวิจัยและพัฒนาความยึดมั่นผูกพันกับการวิจัยของครูโดยใช้เทคนิคการเสริมพลัง. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bavelas, A. (1950). Communication patterns in task-oriented groups. The Journal of the Acoustical Society of America.22(6). 725-730.
Burkett, I. (2019). An introduction to co-design. Retrieved October 25, 2019 from https://www.yacwa.org.au/wp-content/uploads/2016/09/An-Introduction-to-Co-Design-by-Ingrid-Burkett.pdf
Czuczman, K. (2006). A guide to conducting researchin a network setting: A networked research approach. Practical Action: UK.
Dimitrova, D., & Wellman, B. (2015). Networked work and network research: New forms of teamwork in the triple revolution. American Behavioral Scientist.59(4). 443-456.
Donato, H. C., Farina, M. C., Donaire, D., & Santos, I. C. D. (2017). Value co-creation and social network analysis on a network engagement platform. RAM. Revista de Administração Mackenzie.18(5). 63-91.
Gladden, M. (2017). From virtual teams to hive minds: Developing effective network topologies for neuroprosthetically augmented organizations, Neuroprosthetic Supersystems Architecture (pp.253-301). Synthypnion Academic.
IDEO. (2012). Design thinking for educators. Retrieved October 25, 2019 from https://www.ideo.com/post/design-thinking-for-educators
Li, Y., & Krasny, M. E. (2020). Development of professional networks among environmental educators. Professional Development in Education.46(2). 337-353.
Molnar, A. (2019). SMARTRIQS: A simple method allowing real-time respondent interaction in Qualtrics surveys. Journal of Behavioral and Experimental Finance. 22. 161-169.
Oliveira, M., & Gama, J. (2012). An overview of social network analysis. Wiley Interdisciplinary Reviews:Data Mining and Knowledge Discovery.2(2). 99-115.
Penuel, W. R., Roschelle, J., & Shechtman, N. (2007). Designing formative assessment software with teachers: An analysis of the co-design process. Research and Practice in Technology Enhanced Learning.2(01). 51-74.
Penuel, W. R., Sun, M., Frank, K. A., & Gallagher, H. A. (2012). Using social network analysis to study how collegial interactions can augment teacher learning from external professional development. American Journal of Education.119(1). 103-136.
Roschelle, J., & Penuel, W. R. (2006, June). Co-design of innovations with teachers: Definition and dynamics. Proceedings of the 7th international conference on Learning sciences, 606-612.
Sanders, E. B. N., & Stappers, P. J. (2008). Co-creation and the new landscapes of design. Co-design.4(1). 5-18.
Sneeuw, A., Retegi, A., Predan, B., Spisakova, B., Thomas, E., Tremetzberger, G., Schosswohl, G., Knudsen, J., Kaltenbrunner, M., & Busturia, N. (2019). Co-design: Best practice report. Retrieved October 25, 2019 from http://www.cocreate.training/wp-content/uploads/2019/06/co.design best_practice_report.pdf
Sprain, L., Endres, D., & Rai Petersen, T. (2010). Research as a transdisciplinary networked process: A metaphor for difference-making research. Communication Monographs.77(4). 441-444.
Sriklaub, K., & Ruengtrakul, A. (2022). Teachers’ experiences in a professional learning community: Insights on policy delivery and characteristics of the PLC in schools. Kasetsart Journal of Social Sciences. 43(2). 303-310.
Veremyev, A., Prokopyev, O. A., & Pasiliao, E. L. (2017). Finding groups with maximum betweenness centrality. Optimization Methods and Software. 32(2). 369-399.
Wongwanich, S., Sakolrak, S., & Piromsombat, C. (2014). Needs for Thai teachers to become a reflective teacher: Mixed methods needs assessment research. Procedia-Social and Behavioral Sciences.116. 1645-1650.
Zamenopoulos, T., & Alexiou, K. (2018). Co-design as collaborative research. Retrieved October 16, 2019, from http://oro.open.ac.uk/58301/