การศึกษาองค์ประกอบผู้นำด้านศิลปวัฒนธรรมสำหรับนักศึกษาครู

ผู้แต่ง

  • ธิติ ญานปรีชาเศรษฐ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ยุวรี ญานปรีชาเศรษฐ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การศึกษาองค์ประกอบ, ผู้นำด้านศิลปวัฒนธรรม, นักศึกษาครู

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบผู้นำด้านศิลปวัฒนธรรมสำหรับนักศึกษาครู โดยเป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) ตัวอย่างการวิจัย คือ นักศึกษาคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ระดับปริญญาตรี
ในภูมิภาคตะวันตก จำนวน 535 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) จำแนกเป็นตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อมูลองค์ประกอบเชิงสำรวจ จำนวน 350 คน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน จำนวน 185 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามองค์ประกอบผู้นำด้านศิลปวัฒนธรรมสำหรับนักศึกษาครู การวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การวิเคราะห์สถิติบรรยาย (Descriptive Statistic) ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง เพื่อบรรยายคุณลักษณะตัวแปรพื้นฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน โดยใช้โปรแกรมลิสเรล (LISREL)ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจผู้นำด้านศิลปวัฒนธรรมสำหรับนักศึกษาครูมีจำนวนองค์ประกอบที่ชัดเจนจำนวน 4 องค์ประกอบ 47 ตัวแปรประกอบด้วย องค์ประกอบที่ 1 “อุดมการณ์และการพัฒนาศิลปวัฒนธรรม” มีจำนวน 19 ตัวแปร มีน้ำหนักองค์ประกอบระหว่าง .54 ถึง .80 และมีค่าไอเกนเท่ากับ 25.83 องค์ประกอบที่ 2 “ความคิดสร้างสรรค์” มีจำนวน 10 ตัวแปร มีน้ำหนักองค์ประกอบระหว่าง .50 ถึง .69 และมีค่าไอเกนเท่ากับ 3.11 องค์ประกอบที่ 3 “การเป็นแบบอย่างที่ดี” มีจำนวน 8 ตัวแปร มีน้ำหนักองค์ประกอบระหว่าง .51 ถึง .79 และมีค่าไอเกนเท่ากับ 1.87 และ องค์ประกอบที่ 4 “ทัศนคติ ความรู้ ความเข้าใจ” มีจำนวน 10 ตัวแปร มีน้ำหนักองค์ประกอบระหว่าง .50 ถึง .70 และมีค่าไอเกนเท่ากับ 1.53
  2. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันผู้นำด้านศิลปวัฒนธรรมสำหรับนักศึกษาครู พบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์พิจารณาได้จากค่าไค-สแควร์ ( gif.latex?\chi&space;^{2}=.04, df=1, p=0.835) ซึ่งแตกต่างจากศูนย์อย่างไม่มีนัยสำคัญ ค่าดัชนีวัดความกลมกลืน (GFI) มีค่าเท่ากับ 1.000 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI)
    มีค่าเท่ากับ.999 และค่าดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของส่วนเหลือ (RMR) มีเท่ากับ .000 แสดงว่าโมเดลสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์

References

กฤษณา วงษาสันต์. (2542). วิถีไทย. กรุงเทพฯ: เธิร์ดเวฟเอดดูเคชัน

ณิชาภัทร จาวิสูตร. (2557). “การสำรวจความต้องการจำเป็นเพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำด้านศิลปวัฒนธรรม สำหรับนิสิตสโมสรนิสิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ”. สถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ธัญวิทย์ ศรีจันทร์, สิริฉันท์ สถิรกุล เตชพาหพงษ์, และปทีป เมธาคุณวุฒิ. (2559). การวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของกรรมการองค์กรนิสิตนักศึกษา.วารสารวิธีวิทยาการวิจัย. ปีที่ 29 ฉบับที่ 2. (พฤษภาคม-สิงหาคม 2559).

บุญรัตน์ แผลงศร. (2565). เครื่องมือการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แบบสอบถามออนไลน์. วารสารการวัดผลการศึกษา.ปีที่ 39 ฉบับที่ 105. มกราคม-มิถุนายน 2565: 28-38.

พัชรภรณ์ สุนทรวิบูลย์. (2561). แนวคิดการสร้างแบบวัดด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล. วารสารการวัดผลการศึกษา. ปีที่ 35 ฉบับที่ 97. มกราคม-มิถุนายน 2561: 10-21.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2530). การอุดมศึกษากับสังคมไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฤทธิณัณฑ์ เชื้อทอง และ รุจิระ โรจนประภายนต. (2560). ค่านิยม อุดมการณ์ และรูปแบบการสื่อสารที่แสดงถึงลักษณะทางวัฒนธรรมของคนไทย. บทความวิชาการ. วารสารนิด้าภาษาและการสื่อสาร. Vol. 21 No. 29

วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา. (2534, มีนาคม-เมษายน). “มหาวิทยาลัยกับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม”, สารพัฒนาคณาจารย์. 4(2): 10.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2548). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ. (2547). “การพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำของคณบดี”. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุพัตรา สุภาพ. (2540). สังคมวิทยา.กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall

Timm and Peterson. (2000). People at Work: Human Behavior in Organizations. South-

Torrance, E. P. (1962). Guiding Creative Talent. Englewood Cliffs, N.J.: Prentice-Hall. Western College Pub.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-12