การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันทักษะการพูดเพื่อการสื่อสารภาษาไทยของนักศึกษาวิชาชีพครู

ผู้แต่ง

  • พรรณิการ์ สมัคร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • สุวรรณา จุ้ยทอง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • กันต์ฤทัย คลังพหล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • พิทักษ์ นิลนพคุณ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

องค์ประกอบเชิงยืนยัน, ทักษะการพูดเพื่อการสื่อสารภาษาไทย, นักศึกษาวิชาชีพครู

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของทักษะการพูดเพื่อการสื่อสารภาษาไทยของนักศึกษาวิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ โดยผู้วิจัยใช้เกณฑ์การกำหนดกลุ่มตัวอย่าง คือ ขนาดกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 20 เท่า ต่อตัวแปรที่สังเกตได้ 1 ตัวแปร โดยในงานวิจัยมีตัวแปรที่ศึกษาทั้งหมด 24 ตัวแปรสังเกตได้ ดังนั้น จึงกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจริง จำนวน 480 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม โดยมีค่าอานาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.61 – 0.89 และค่าความเชื่อมั่นโดยรวมเท่ากับ 0.97 ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของทักษะการพูดเพื่อการสื่อสารภาษาไทยของนักศึกษาวิชาชีพครู ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ทักษะด้านกฎเกณฑ์การใช้ภาษามีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.50 องค์ประกอบที่ 2 ทักษะด้านการวิเคราะห์การสื่อสาร มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.39 องค์ประกอบที่ 3 ทักษะด้านการใช้ภาษาเพื่อสื่อสารในการจัดการเรียนรู้มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.94 องค์ประกอบที่ 4 ทักษะด้านการใช้กลวิธีสื่อสารในการจัดการเรียนรู้ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.90 และองค์ประกอบที่ 5 ทักษะด้านการปฏิสัมพันธ์ทางวาจา มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.74 ทุกองค์ประกอบมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เชิงพหุยกกำลังสอง (R2) มีค่าระหว่าง 0.39 – 0.94 ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลทักษะการพูดเพื่อการสื่อสารภาษาไทยของนักศึกษาวิชาชีพครู ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของโมเดลทักษะการพูดเพื่อการสื่อสารภาษาไทยของนักศึกษาวิชาชีพครู มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ค่าสถิติไค-สแคว์ (Chi-Square) (gif.latex?\chi&space;^{2} ) = 186.45,df = 158, p = 0.061, CFI = 1.00, AGFI = 0.97, RMSEA = 0.019แสดงว่าโมเดลที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสม และสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์สามารถนำมาอธิบายทักษะการพูดเพื่อการสื่อสารภาษาไทยของนักศึกษาวิชาชีพครูได้

References

กิตติชัยพินโน และคณะ. (2554).ภาษากับการสื่อสาร (ฉบับปรับปรุง). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:เชน ปริ้นติ้ง.

กิตติชัย สุธาสิโนบล และอาทิตย์ โพธิ์ศรีทอง. (2560).การศึกษากระบวนการผลิตและพัฒนานิสิตฝึกหัดครูสู่ครูมืออาชีพ โอกาสและความหวังในอนาคตของการผลิตครูในประเทศไทยกรณีศึกษา : นิสิตฝึกหัดครูโครงการเพชรในตม. วารสารวัดผลการศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 12 (1). 29-45.

กรณ์พงศ์ พัฒนปกรณ์พงษ์. (2560).แนวทางการประเมินผลการเรียนรู้วิชาภาษาไทย : การประเมินตามสภาพจริง. วารสารวัดผลการศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 34 (95). 29-38.

กอบกาญจน์ วงศ์วิสิทธิ์. (2551).ทักษะภาษาเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ขัณธ์ชัยอธิเกียรติ. (2559).เอกสารประกอบการสอน CTH 2101 (TL 213) วาทการสำหรับครู.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

คำหมาน คนไค. (2543).ทางก้าวหน้าของครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

จุฑา บุรีภักดี. (2535). มนุษยสัมพันธ์สำหรับครูรหัส 2122506. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยครูสวนสุนันทา.

ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2541).ครูกับอนาคตของชาติ ปาฐกถาพิเศษงานประกาศเกียรติคุณครูแห่งชาติประจำปี 2541. จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ วันอังคารที่15 ธันวาคม 2541 ณ หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย. (อัดสำเนา): 5-8.

ไชยวัฒน์ อารีโรจน์. (2557). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการพูดรายงานการศึกษาค้นคว้าสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2560).การเรียนรู้ในยุคสมัยหน้า : ตอนรูปแบบและทฤษฎี การเรียนรู้อนาคต. วันที่ค้นข้อมูล 3 พฤศจิกายน 2564, เข้าถึงได้จากhttp://thanompo.edu.cmu.ac.th.

ธีรภัทร คำทิ้ง, ธัญญา สังขพันธานนท์ และณรงค์กรรณ รอดทรัพย์. (2563). สถานภาพการวิจัยเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการใช้ภาษาไทย. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.16 (1). 71-97.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560).การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุญช่วย ภักดี. (2551).การวิเคราะห์เปรียบเทียบคุณภาพการสอนของครูสังกัดสำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานก่อนและหลักการเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการตามการรับรู้ของผู้เกี่ยวข้อง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เบญจวรรณ ศริกุล. (2561). การเสริมสร้างทักษะภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษากลุ่มภาคใต้ตอนบน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและการจัดการการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ภัทราพร เกษสังข์ และแพรวนภา เรียงริลา .(2564). การประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพครูในศตวรรษที่ 21 ของครูคณิตศาสตร์จังหวัดเลย. วารสารวัดผลการศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 38 (104). 25-37.

ยนต์ ชุ่มจิต. (2533).ความเป็นครู. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ยุดา รักไทย และปานจิตต์ โกญจนาวรรณ. (2553).พูดอย่างฉลาด. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ:ธรรกมลการพิมพ์.

ราชกิจจานุเบกษา. (2563). ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง รายละเอียดของมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครูตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ พ.ศ.2562). 7 พฤษภาคม 2563. เล่ม 137 ตอนพิเศษ 109 ง. หน้า 12.

วัฒนะ บุญจับ. (2541).ศาสตร์แห่งการใช้ภาษา. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556).ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุมน อมรวิวัฒน์. (2536).กรณีศึกษาเพื่อการเรียนการสอนส่งเสริมคุณธรรม จรรยาแห่งวิชาชีพครู. กรุงเทพฯ: โครงการส่งเสริมคุณธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุจิตตรา แก้วตะรัตน์. (2548).ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพในการสื่อสารของครูกับพฤติกรรมความมีระเบียบวินัยในห้องเรียนของนักเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561).รายงานการศึกษาไทย พ.ศ. 2561 (Education in Thailand 2018). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2540). การคิดและการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิด : ต้นแบบการเรียนรู้ทางด้านหลักทฤษฎีและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : โครงการพัฒนาการเรียนการสอน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

อำไพ สุจริตกุล. (2533).คุณธรรมครูไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Canale, M., & Swain, M. (1980). Theoretical bases of communicative approaches tosecond language teaching and learning. New York: Applied linguistics.

Goh,C. C. M. (2007). Teaching Speaking in the Language Classroom . Singapore: SEAMEO Regional Language Centre.

Hair, J. F. Jr. Black, W. C., Babin, B. J. Anderson, R. E. and Tatham, R. L. (2006). Multivariate data analysis. (6th ed). New Jersey: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-12