ความคิดเห็นของบุคลากรสายวิชาการที่มีต่อมาตรฐานภาระงานทางวิชาการของผู้ดำรงตำแหน่งวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ผู้แต่ง

  • ณัฐภาส ถาวรวงษ์ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ความคิดเห็น, มาตรฐานภาระงาน, ภาระงานทางวิชาการ, ตำแหน่งทางวิชาการ

บทคัดย่อ

            การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรสายวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่มีต่อมาตรฐานภาระงานทางวิชาการของผู้ดำรงตำแหน่งวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นบุคลากรสายวิชาการ สังกัดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 537 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นโดยรวมและทุกด้านมีความเหมาะสมในระดับมาก และการเปรียบเทียบความคิดเห็นโดยรวมและในแต่ละด้านพบว่า 1) เพศชายและเพศหญิงมีความคิดเห็นโดยรวมแตกต่างกัน (P<.05) และรายด้านแตกต่างกันทุกด้าน (P<.05) ยกเว้นด้านที่ 5 2) ข้าราชการและพนักงานมหาวิทยาลัยมีความคิดเห็นโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3) ผู้ที่มีตำแหน่งทางวิชาการต่างกันมีความคิดเห็นโดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่ 6 ตำแหน่งอาจารย์มีความคิดเห็นแตกต่างกับตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ (P<.05) 4) ผู้ที่มีประสบการณ์ในการสอนน้อยกว่า 5 ปี มีความคิดเห็นโดยรวมแตกต่างจากผู้ที่มีประสบการณ์ในการสอน 5 ปีขึ้นไป เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่ 1 และด้านที่ 5 มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 5) ผู้ที่มีคณะวิชาจำแนกตามกลุ่มสาขาวิชาต่างกันมีความคิดเห็นโดยรวมแตกต่างกัน (P<.05) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่ 1 กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพมีความคิดเห็นแตกต่างกับกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ (P<.05) ด้านที่ 3 กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพมีความคิดเห็นแตกต่างกับกลุ่มสาขาวิชาศึกษาศาสตร์/สังคมศาสตร์/มนุษยศาสตร์/อื่นๆ (P<.05) ด้านที่ 6 กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มีความคิดเห็นแตกต่างกับกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ (P<.05) 6) ผู้ที่มีคณะวิชาจำแนกตามพันธกิจและเป้าหมายของหน่วยงานต่างกันมีความคิดเห็นโดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่ 5 กลุ่มที่ 1 มีความคิดเห็นแตกต่างกับกลุ่มที่ 2 (P<.05) 7) ผู้ที่เคยใช้และไม่เคยใช้มาตรฐานภาระงานทางวิชาการมีความคิดเห็นโดยรวมแตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่ 1 ด้านที่ 4 และด้านที่ 5 มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน

References

กัญจนา ลินทรัตน์ศิริกุล. (2550). การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ One – way Analysis of Variance and Multiple Regression Analysis. วารสารการวัดผลการศึกษา. 29 (85). 5-12.

ณัทฐา กรีหิรัญ. (2550). การศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการอุดมศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธีรภัทร สุดโต และอภันตรี นาคอำพัน. (2560). การวัดเจตคติ. วารสารการวัดผลการศึกษา. 34 (96). 1-14.

นิศา เขียวพุ่มพวง. (2555). การศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่อการปฏิบัติงานหลังออกนอกระบบราชการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

พิมพ์พรรณ เทพสุเมธานนท์. (2527). การศึกษาเปรียบเทียบปริมาณงานของอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุรีย์ เข็มทอง และกิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย. (2554). การประเมินความพึงพอใจการปฏิบัติงานของบุคลากรสายวิชาการในสาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วารสารการจัดการสมัยใหม่. 9 (2). 41-53.

อรุณี ม่วงน้อยเจริญ, อรสา ภาววิมล และลักษมณ สมานสินธุ์. (2543). รายงานผลการศึกษาโครงการศึกษามาตรฐานภาระงานขั้นต่ำของผู้สอนระดับอุดมศึกษา : ศึกษาเฉพาะกรณีการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและการพัฒนาองค์ความรู้. กรุงเทพฯ: ทบวงมหาวิทยาลัย.

อาทิตติยา ดวงสุวรรณ. (2551). การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการกับพนักงานมหาวิทยาลัย กรณีศึกษา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. วารสารวิทยบริการ. 19(2). 12-15.

Crespo, M., & Bertrand, D. (2013). Faculty Workload in a Research Intensive University: A Case Study. Centre Interuniversitaire de Recherché en Analyse des Organisations. 1-27.

Houston, Don; Meyer, Luanna H.; Paewai, Shelley. (2006). Academic Staff Workloads and Job Satisfaction: Expectations and Values in Academe. Journal of Higher Education Policy & Management. 28(1). 17-30.

Kordzadze, M. (2013). Solving Problems of Inequity in Academic Staff Workload Distribution. Education Science and Psychology. 2(24). 39-48.

Polonsky ,M., Juric, B., & Mankelow, G. (2003). Attitudes about Work Practices, Time Allocation and Publication Output: Profiles of U.S. Marketing Academics. Journal of Marketing Education. 25(3) 218-230.

Stringer, M., MacGregor, C., & Watson, R. (2009). Department head leadership and the use of faculty credit hours as a measure of faculty workload. New Horizons in Education. 57(2). 44-58.

Surratt, C.K., Kamal, K.M., & Wildfong, P.L.D. (2011). Research Funding Expectations as a Function of Faculty Teaching/Administrative Workload. Research in Social and Administrative Pharmacy. 7. 192-201.

Wilborn,T., Timpe, E.M., Wu-Pong, S., Manolakis, M.L., Karboski, J.A., Clark, D.R., & Altiere, R. J. (2013). Factors influencing faculty perceptions of teaching workload. Currents in Pharmacy Teaching and Learning. 5. 9-13.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-12