การศึกษาปัจจัยด้านแรงจูงใจที่มีผลต่อความพร้อมในการผลิตผลงานทางวิชาการของบุคลากรสายปฏิบัติการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ผู้แต่ง

  • วณิชยา มีชัย สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ลินดา พรมลักษณ์ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, ความพร้อมในการผลิตผลงานทางวิชาการ, บุคลากรสายปฏิบัติการ

บทคัดย่อ

            บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “แรงจูงใจและความพร้อมในการผลิตผลงานทางวิชาการของบุคลากรสายปฏิบัติการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อความพร้อมในการผลิตผลงานทางวิชาการของบุคลากรสายปฏิบัติการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประเภทของบุคลากร ส่วนงานที่สังกัด ประสบการณ์การทำงาน การดำรงตำแหน่งและแรงจูงใจ งานวิจัยเป็นเชิงสำรวจโดยการใช้แบบสอบถามมาตราส่วน 3 ระดับ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรสายปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2565 จำนวน 349 คน โดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน ได้จำแนกตัวแปรออกเป็น 2 ด้าน คือ ข้อมูลส่วนบุคคลและแรงจูงใจของบุคลากรสายปฏิบัติการ ผลการศึกษาพบว่า1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31-40 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี มีสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย สังกัดส่วนงานที่มีการเรียนการสอน มีประสบการณ์ 6-10 ปี และดำรงตำแหน่งในระดับปฏิบัติการ/ปฏิบัติงาน2) แรงจูงใจ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 2.91 และพบว่ามีความรับผิดชอบมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 2.94 รองลงมาคือความสำเร็จในการทำงาน ความสัมพันธ์ในส่วนงาน และสภาวะการทำงาน ค่าเฉลี่ย 2.92 ตามลำดับ ส่วนความพร้อมในการผลิตผลงานทางวิชาการโดยรวมอยู่ในระดับน้อย ค่าเฉลี่ย 1.43 คือความพร้อมด้านนโยบาย ค่าเฉลี่ย 2.09 3) ประสบการณ์การทำงานและแรงจูงใจมีความสัมพันธ์กับความพร้อมในการผลิตผลงานทางวิชาการในเชิงบวก

References

กรรณิการณ์ เดชประเสริฐ และคณะ. (2558). ศึกษาการพัฒนาสมรรถนะที่เหมาะสมในการพัฒนาบุคลากรสายปฏิบัติการมหาวิทยาลัยราชภัฎกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎกาฬสินธุ์. 2(1) มกราคม-เมษายน 2558.

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2562). ประกาศมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเลื่อนระดับตำแหน่งสูงขึ้นของพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการ ประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ และประเภททั่วไป. ส่วนทรัพยากรบุคคล สำนักงานอธิการบดี.

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2563). ประกาศคณะกรรมการพิจารณาการเลื่อนระดับตำแหน่งสูงขึ้นของพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เรื่อง การประเมินเพื่อเลื่อนระดับตำแหน่งสูงขึ้นของพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการ กลุ่มประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ ระดับชำนาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ ระดับเชี่ยวชาญพิเศษ และกลุ่มประเภททั่วไป ระดับชำนาญงานพิเศษ. ส่วนทรัพยากรบุคคล สำนักงานอธิการบดี.

สุกัญญา พวงกันยา. (2552). สภาพความพรอมขององคกรและความตองการในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามโครงการเปลี่ยนระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐดวยระบบอิเล็กทรอนิกส (GFMIS). วิทยานิพนธ์ค.ม. (การบริหารการศึกษา). เลย : บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

Downing J.and D Thackrey. (1971). Reading Readiness. New York : London, University of London. Press.

Herzberg, F. and others. (1959). The Motivation to Work, New York : John Wiley and Sons.

Krejcie, Robert V.and Daryle W, Morgan. (1970, January).“Determining Sample Size for Research Activities.” Educational and Psychological Measurement. (30)5: 607-609.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-12