เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
  • The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, or RTF document file format.
  • Where available, URLs for the references have been provided.
  • The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
  • The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines.

หลักเกณฑ์และคำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์

ขอบเขตการรับตีพิมพ์บทความ

วารสารครุทรรศน์  เป็นวารสารสาขาสังคมศาสตร์

วาระการตีพิมพ์ มีวาระการตีพิมพ์เผยแพร่ ปีละ 3 ฉบับ ได้แก่

ฉบับที่ 1 (เดือนมกราคม - เมษายน)
ฉบับที่ 2 (เดือนมิถุนายน-กันยายน)
ฉบับที่ 3 (เดือนตุลาคม-ธันวาคม)

การเตรียมต้นฉบับ
1.ภาษา  เขียนบทความเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ แต่ละเรื่องจะต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  การใช้ภาษาไทยให้ยึดหลักการใช้คำศัพท์และการเขียนทับศัพท์ภาษาอังกฤษตามหลักของราชบัณฑิตยสถาน อย่างไรก็ตาม ให้หลีกเลี่ยงการเขียนภาษาอังกฤษปนภาษาไทยในข้อความ ยกเว้นกรณีจำเป็น เช่น ศัพท์ทางวิชาการที่ไม่มีคำแปล หรือคำที่ใช้แล้วทำให้เข้าใจง่ายขึ้น คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เขียนปนภาษาไทยให้ใช้ตัวเล็กทั้งหมด ยกเว้นชื่อเฉพาะ  สำหรับต้นฉบับภาษาอังกฤษ ควรได้รับการตรวจสอบความถูกต้องด้านการใช้ภาษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษก่อน
2.ขนาดของต้นฉบับ  ใช้กระดาษขนาด A4 (8.5 x 11 นิ้ว) และพิมพ์โดยเว้นระยะห่างจากขอบกระดาษด้านละ 1 นิ้ว จัดเป็นหนึ่งคอลัมน์ ระยะห่างระหว่างบรรทัดใช้ single space
3.ชนิดและขนาดตัวอักษร  ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK ดังรายละเอียด
3.1 ชื่อเรื่อง ใช้ฟอนท์  TH SarabunPSK ขนาด 16 pt. ตัวหนา
3.2 ชื่อ-นามสกุลผู้นิพนธ์ ใช้ฟอนท์  TH SarabunPSK ขนาด 14 pt. ตัวปกติ 
3.3 ต้นสังกัดหรือที่อยู่ของผู้นิพนธ์ ใช้ฟอนท์  TH SarabunPSK ขนาด 12 pt. ตัวปกติ
3.4 บทคัดย่อ/Abstract ใช้ฟอนท์   TH SarabunPSK ขนาด 16 pt.  ตัวหนา
3.5 เนื้อหาบทคัดย่อ (ไทย/English) ใช้ฟอนท์  TH SarabunPSK ขนาด 15 pt. ตัวปกติ (300 คำ)
3.6 คำสำคัญ/Keywords (5 คำ) ใช้ฟอนท์  TH SarabunPSK ขนาด 15 pt. ตัวหนา/ปกติ
3.7 หัวข้อหลัก ใช้ฟอนท์  TH SarabunPSK ขนาด 16 pt.  ตัวหนา
3.8 เนื้อหา ใช้ฟอนท์  TH SarabunPSK ขนาด 15 pt.  ตัวปกติ
4.การพิมพ์ต้นฉบับ ผู้เสนอผลงานจะต้องพิมพ์และส่งต้นฉบับในรูปแบบของแฟ้มข้อมูลเป็น “.doc” หรือ “.docx” (MS Word) เท่านั้น
5.จำนวนหน้า  ความยาวของบทความไม่เกิน 15 หน้า รวมตาราง รูปภาพ และเอกสารอ้างอิง
6.รูปภาพ ในกรณีที่ผู้เขียนบทความ มีภาพประกอบบทความ ควรบันทึกไฟล์รูปภาพ เป็นนามสกุล “.jps” หรือ “.jpeg” โดยเขียนบรรยายใต้ภาพ ตัวอักษรขนาด 15 pt

รูปแบบการเขียนต้นฉบับ
บทความวิจัย
1.ชื่อเรื่อง (Title) ควรสั้น กะทัดรัด และสื่อเป้าหมายหลักของงานวิจัย ไม่ใช้คำย่อ ความยาวไม่ควรเกิน 100 ตัวอักษร ชื่อเรื่องให้มีทั้งภาษาไทย และอังกฤษ โดยให้นำชื่อเรื่องภาษาไทยขึ้นก่อน
2.ชื่อผู้นิพนธ์ Author(s) และที่อยู่ ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และระบุตำแหน่งทางวิชาการ หน่วยงานหรือสถาบัน ที่อยู่ และ E-mail address ของผู้นิพนธ์ เพื่อกองบรรณาธิการใช้ติดต่อเกี่ยวกับต้นฉบับและบทความที่ตีพิมพ์แล้ว
3.บทคัดย่อ (Abstract) เป็นการย่อเนื้อความงานวิจัยทั้งเรื่องให้สั้น และมีเนื้อหาครบถ้วนตามเรื่องเต็ม ความยาวไม่เกิน 300 คำ หรือ 15 บรรทัด ไม่ควรใช้คำย่อที่ไม่เป็นสากล และให้บทคัดย่อภาษาไทยขึ้นก่อนภาษาอังกฤษ
4.คำสำคัญ (Keywords) ให้ระบุไว้ท้ายบทคัดย่อของแต่ละภาษา ไม่เกิน 5 คำ
5.บทนำ (Introduction) เป็นส่วนเริ่มต้นของเนื้อหา ที่บอกความเป็นมา เหตุผล และวัตถุประสงค์ ที่นำไปสู่การทำงานวิจัยนี้ รวมถึงทฤษฎี วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในครั้งนี้พอสังเขป
6.วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methodology) ให้ระบุรายละเอียดวิธีการศึกษาวิจัย ประกอบด้วยขอบเขต  ประชากร กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือ วิธีการเก็บข้อมูล และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลตามลักษณะที่เหมาะสมของงานวิจัย 
7.ผลการวิจัย (Results) รายงานผลการศึกษาที่ค้นพบ ตามลำดับหัวข้อของการศึกษาวิจัย อย่างชัดเจนได้ใจความ ถ้าผลไม่ซับซ้อน ไม่มีตัวเลขมาก ควรใช้คำบรรยาย แต่ถ้ามีตัวเลข หรือตัวแปรมาก ควรใช้ตาราง กราฟ หรือแผนภูมิแทน ในบทความไม่ควรมีเกิน 5 ตาราง หรือแผนภูมิ
8.การอภิปรายและสรุปผล (Discussion and Conclusion) แสดงให้เห็นว่าผลการศึกษาตรงกับวัตถุประสงค์ของงานวิจัย หรือแตกต่างไปจากผลงานที่มีผู้รายงานไว้ก่อนหรือไม่ อย่างไร เหตุผลใดจึงเป็นเช่นนั้น และมีพื้นฐานอ้างอิงที่เชื่อถือได้ และให้จบด้วยข้อเสนอแนะที่จะนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ ควรมีประเด็นคำถามการวิจัย ซึ่งเป็นแนวทางสำหรับการวิจัยต่อไป
9.ตาราง รูปภาพ แผนภูมิ (Table, figure, and diagram) ควรคัดเลือกเฉพาะที่จำเป็น แยกออกจากเนื้อเรื่อง โดยเรียงลำดับให้สอดคล้องกับคำอธิบายในเนื้อเรื่อง และต้องมีคำอธิบายสั้น ๆ แต่สื่อความหมายได้สาระครบถ้วน กรณีที่เป็นตาราง คำอธิบายอยู่ด้านบน ส่วนรูปภาพ แผนภูมิ คำอธิบายอยู่ด้านล่าง
10.กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement) ระบุสั้น ๆ ว่างานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุน และความช่วยเหลือจากองค์กรใด หรือบุคคลใดบ้าง
11.เอกสารอ้างอิง ระบุรายการเอกสารอ้างอิงให้ครบถ้วนที่ท้ายเรื่อง โดยใช้ระบบการอ้างอิงแบบ APA (6th Edition)  

 

บทความวิชาการ
ต้องมีส่วนประกอบหลัก ได้แก่ ชื่อเรื่อง ชื่อผู้นิพนธ์ บทคัดย่อ คำสำคัญ บทนำ เนื้อหา บทสรุป และเอกสารอ้างอิง
บทวิจารณ์หนังสือ
ต้องมีส่วนประกอบหลัก ได้แก่ ข้อมูลทางบรรณานุกรม ชื่อผู้วิจารณ์ บทวิจารณ์

 

การส่งต้นฉบับและการพิจารณา
ผู้นิพนธ์บทความสามารถศึกษาวิธีการจัดทำต้นฉบับได้จากเว็บไซต์วารสารออนไลน์ (https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JER/about/submissions) และจัดทำต้นฉบับบทความดำเนินการส่งบทความในระบบวารสารออนไลน์ พร้อมส่งหลักฐานหลักฐานและแบบฟอร์มยืนยันการไม่ตีพิมพ์ซ้ำซ้อนในทาง กระทู้คำถามในระบบ ThaiJo
ดาวน์โหลดแบบฟอร์มและ Template บทความ
ในกรณีผู้เขียนยังไม่ส่งเอกสารหลักฐานและแบบฟอร์มยืนยันการไม่ตีพิมพ์ซ้ำซ้อนภายใน 4 สัปดาห์ นับจากวันส่งบทความเข้าระบบ ทางวารสารจะไม่ดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับบทความนั้น ๆ ขอปฏิเสธและนำบทความนั้นออกจากระบบโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ จากนั้นกองบรรณาธิการจะดำเนินการต่อดังต่อไปนี้ 
1.ตรวจสอบรูปแบบบทความของท่าน/ในกรณีที่รูปแบบถูกต้องจะส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่านตรวจผ่านระบบออนไลน์โดยวิธีปกปิดข้อมูลของทั้งสองฝ่าย (Double-Blinded) โดยอาจจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ -1 เดือน ตามแต่ผู้ทรงคุณวุฒิ
2.กรณีที่ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจบทความให้ผ่าน กองบรรณาธิการจะส่งผลการตรวจให้ผู้นิพนธ์บทความแก้ไข โดยอาจใช้เวลา 1-2 สัปดาห์ ในกรณีที่ผู้ทรงคุณวุฒิไม่ให้ผ่านทั้ง 3 ท่าน กองบรรณาธิการขอปฏิเสธการตีพิมพ์บทความของท่าน ยกเว้นกรณีที่ผ่าน 2 ใน 3 ทั้งนี้ขอให้ผู้นิพนธ์บทความส่งบทความฉบับแก้ไขคือในรายการ submission เดิมในเมนู revisions โดยไม่ต้องส่งบทความใหม่  
3.ในกรณีที่ผู้เขียนไม่ยอมแก้ไขบทความคืนกองบรรณาธิการภายใน 4 สัปดาห์หลังจากได้รับการแจ้งเตือนจากระบบวารสารออนไลน์ กองบรรณาธิการขอปฏิเสธการตีพิมพ์อย่างไม่มีเงื่อนไข 
4.เมื่อผู้เขียนแก้ไขบทความส่งคืนในระบบแล้ว กองบรรณาธิการจึงจะรอจนกว่าผลการตรวจสอบโดย CopyCatch อีกครั้ง ถ้าบทความฉบับแก้ไขถูกตรวจสอบพบความซ้ำซ้อนของเนื้อหาเกิน 20% จะแจ้งให้ผู้เขียนแก้ไขใหม่ จนกว่าความวับซ้อนจะต่ำว่า 20% จึงจะยอมรับ และออกแบบตอบรับการตีพิมพ์ให้

การอ้างอิงเอกสาร
การอ้างอิงในเนื้อหา ใช้รูปแบบ APA 6th Edition คือ ระบุเพียงนามผู้เขียน และปีที่พิมพ์ ดังนี้

1.การอ้างอิงหน้าข้อความ  ชื่อผู้แต่ง/(ปีพิมพ์).....................

ตัวอย่าง 

ประเวศ วะสี (2554) ได้เน้นความสำคัญของสารสนเทศในสังคมยุคโลกาภิวัตน์เทียบเท่ากับอำนาจ ใครมีสารสนเทศมากกว่าย่อมมีอำนาจมากกว่าผู้อื่น….

2.การอ้างอิงหลังข้อความ ...................(ชื่อผู้แต่ง,/ปีที่พิมพ์)

ตัวอย่าง 

นักวิจัยต้องมีความซื่อสัตย์ทุกขั้นตอนของกระบวนการวิจัย ตั้งแต่การเลือกเรื่องที่จะทำวิจัย การเลือกผู้เข้าร่วมวิจัย การดำเนินการวิจัย ตลอดจนนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ (นงนุช ธานี, 2552)

 

การเขียนอ้างอิงเอกสารส่วนท้ายเรื่อง

          ใช้รูปแบบการอ้างอิงตามรูปแบบ APA 6th Edition  การเขียนเอกสารอ้างอิง

หนังสือ

              ชื่อผู้เขียน./(ปีที่พิมพ์)/.ชื่อหนังสือ.//ครั้งที่พิมพ์.//เมืองที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.

ตัวอย่าง

อภิชัย พันธเสน. (2544). พุทธเศรษฐศาสตร์ : วิวัฒนาการ ทฤษฎีและการประยุกต์กับเศรษฐศาสตร์สาขาต่าง ๆ. พิมพ์
////////ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

Collins, Randall. (1974). Conflict Sociology. 7thed.  New York: Academic Press.

 

บทความจากวารสาร

ผู้เขียน./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ.//ชื่อวารสาร,//ปีที่(ฉบับที่),/เลขหน้า.

ตัวอย่าง

วรวัฒน์ พิพัฒน์ผล. (2551). การจัดการความรู้เรื่องการประกันคุรภาพ. วารสารมนุษยศาสตร์ศึกษา, 4(1), 1-13.

Gatten, Jeffrey N. (2004). Measuring Consortium Impact on User Perception: OhioLINK and
////////LibQUAL. The Journal of Academic Librarianship, 30(3), 115-135.

 

รายงานการวิจัย

ชื่อผู้เขียน./(ปีที่พิมพ์)./ชื่องานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์.//วิทยานิพนธ์....(ระบุระดับปริญญา) มหาวิทยาลัย.....(ระบุมหาวิทยาลัย).....

ตัวอย่าง

พิฆาต  เพชรอินทร์. (2544). การศึกษาเปรียบเทียบทัศนะเรื่องความตายในหลักคำสอนของพุทธศาสนาและคริสต์
////////ศาสนา ที่มีผลต่อพฤติกรรมของพุทธศาสนิกชนทั้งสองในจังหวัดนครนายก. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหา
////////บัณฑิต สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ, มหาวิทยาลัยมหิดล.

Buppha Devahuti. (1975). Use of Computer in Series Control in Thai Libraries. Master of Art’s Thesis, Chulalongkorn University.

 

เว็บไซต์

ผู้แต่ง./(2541)./ชื่อเรื่อง./(ออนไลน์)/(อ้างเมื่อ/วันที่/เดือน/ปี).//จาก:/URL

ตัวอย่าง

เครือข่ายกาญจนาภิเษก. (2541). โครงการพัฒนาการเกษตรแบบผสมผสานในพื้นที่ยุทธศาสตร์ชายแดนจังหวัด
////////บุรีรัมย์. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 18 สิงหาคม 2542).  จาก http://www.rdpb.go.th/king/king
////////_news16.html

 

การสัมภาษณ์

ผู้ให้สัมภาษณ์./(2541)./หัวข้อที่สัมภาษณ์/(สัมภาษณ์).//ตำแหน่ง/หน่วยงานที่สังกัด

////////หรือที่อยู่./วันที่/เดือน/ปีที่สัมภาษณ์.

ตัวอย่าง

ขนิษฐา ลาพรมมา. (2551). ลายหมี่และลายผ้าไหมกาบบัว (สัมภาษณ์). ช่างทอผ้า ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรบ้าน
////////บอน บ้านเลขที่ 88 หมู่ 2 บ้านบอน ตำบลบอน อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี.  25 พฤษภาคม 2551.

Korn Tapparangsi. (1999). AIDS Situation in Thailand (Interview). The Minister, Ministry of Public
////////Health, 17 July 1999.

 

รายงานการประชุมและสัมมนาทางวิชาการ

ชื่อบรรณาธิการ,/บรรณาธิการ./(ปีพิมพ์)./ชื่อเรื่อง.//ชื่อการประชุม;/วันที่/เดือน/ปีที่จัดประชุม; สถานที่ประชุม./
////////สถานที่พิมพ์:/ผู้จัดพิมพ์.

ตัวอย่าง

บุญส่ง พัจนสุนทร, บรรณาธิการ. (2544). ภาวะช็อก : การวินิจฉัยและการวินิจฉัยแยกโรค. ใน Medicine in the
////////Evidence-based Era การประชุมวิชาการ ประจำปี 2544 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ครั้งที่
////////17; 16-19 ตุลาคม 2544; ขอนแก่น.ขอนแก่น: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

K.C. Lun, P. Degoulet and T.E. Piemme, editors. (1992). Enforcement of Data Protection, Privacy and
////////Security in Medical Informatics. In MEDINFO 92, Proceedings of the 7th World Congress on
////////Medical Informatics; 6-10 September 1992; Geneva, Switzerland. Amsterdam: North-
////////Holland.