บทบาทของผู้นำชุมชนกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชนสุขฤดี แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พระสมชาย จนฺทสาโร สาขาวิชาการพัฒนาสังคม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

บทบาท, ผู้นำชุมชน, การพัฒนาคุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนสุขฤดี 2) เพื่อศึกษาบทบาทของผู้นำชุมชนเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนในชุมชนสุขฤดี 3) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนสุขฤดี แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods) โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ประชากรกลุ่มตัวอย่างวิจัย จำนวน 150 คน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) โดยมีโครงสร้างในการสัมภาษณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) กรรมการในชุมชนสุขฤดี จำนวน 7 ท่าน วิเคราะห์โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท (Content Analysis Technique) ผลการวิจัยพบว่า

  1. ระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนสุขฤดีแขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนรายข้อ ด้านร่างกาย ข้อว่ามีการส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนรับประทานอาหารที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย อยู่ในระดับมากที่สุด
  2. บทบาทของผู้นำชุมชนเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชนสุขฤดี เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร พบว่า ผู้นำชุมชนชุมชนสุขฤดี ได้มีบทบาทในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ในด้านต่างๆ คือ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม
  3. ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนสุขฤดี กรุงเทพมหานคร พบว่า ด้านร่างกาย ประชาชนในชุมชนไม่ค่อยสนใจในการออกกำลังกาย เพราะมุ่งแต่ประกอบสัมมาอาชีพเป็นส่วนใหญ่ ผู้นำส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนออกกำลังกายให้มากขึ้นกว่าเดิม เพื่อให้สมบูรณ์แข็งแรง

References

จิรานุช วงศ์อุทัย. (2542). “บทบาทพระสงฆ์ในการสงเคราะห์ชุมชนปัญหาโรคเอดส์ กรณีศึกษา พระครูโสภณปริยัติสุธี วัดดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่.” วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ดุษฎี อายูวัฒน์. (2552). “มาตรวัดคุณภาพชีวิต: กรณีศึกษาประชากรในชุมชน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ โอเดียนสโตร์.
พนิษฐา พานิชาชีวะกุล. (2558). การพัฒนาเครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตในชุมชน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์โอเดียนสโตร์.
พระมหาสมควร ธมฺมธีโร. (2543). “บทบาทผู้ปกครองในการอบรมศีลธรรมและจริยธรรมแก่เด็กเล็กก่อนเกณฑ์ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเกณฑ์ วัดพรหมสุวรรณสามัคคี เขตบางแค กรุงเทพมหานคร.” วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มนสิกุล โอวาทเภสัชช์. (2559). “คุณภาพชีวิตที่ดี.” คมชัดลึก. 8 : 24 สิงหาคม.
อาภาวดี พรหมจอม. (2547) “บทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลกับงานส่งเสริมคุณภาพชีวิตเด็ก สตรีคนชราและผู้ด้อยโอกาส ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอเมืองนครพนม.” วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-30