การศึกษาความคิดเห็นของครูที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาในยุคไทยแลนด์ 4.0 โรงเรียนวิถีพุทธสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พระมหาศุชัยกรณ์ สิทฺธิเมธี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ความคิดเห็นของครู, การเรียนการสอน, วิชาพระพุทธศาสนา, ยุคไทยแลนด์ 4.0

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเสนอแนะการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาในยุคไทยแลนด์ 4.0 โรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร โดยใช้การวิจัยแบบผสม (Mixed Research) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามโดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นครูโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 250 คน และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 รูป/คน วิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานวิธีการทดสอบค่าเอฟ (F-test) และมีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 

1) ด้านกระบวนการเรียนรู้ ส่งเสริมกระบวนการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียน ถ่ายทอดประสบการณ์การเรียนรู้ ส่งเสริมการปฏิบัติตามศีล 5 การมีวินัยในตัวนักเรียน ใช้หลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา อย่างบูรณาการ ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านการพัฒนา “การกิน อยู่ ดู ฟัง เป็น” สร้างความศรัทธาเลื่อมใสและมีความเข้าใจในพระรัตนตรัย ในกฎแห่งกรรม และในหลักบาปบุญคุณโทษ 2) ด้านสื่อการเรียนรู้ ใช้สื่อภาพนิ่งช่วยสอนทำให้เกิดความเข้าใจในบทเรียนมากขึ้น มีเนื้อหาง่ายต่อการทำความเข้าใจ ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัยกระตุ้นให้นักเรียนมีทักษะ นิมนต์พระสงฆ์หรือเชิญวิทยากรสอนนักเรียนสม่ำเสมอ จัดเป็นกิจกรรมสวดมนต์ ฟังเทศน์ ทำความสะอาดวัด ส่งเสริมอบรมผู้สอนเพื่อให้เกิดความชำนาญในการใช้สื่อการเรียนรู้ 3) ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ ส่งเสริมและจัดกิจกรรมฝึกจิตภาวนาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ประกวดมรรยาทชาวพุทธเข้าค่ายพุทธบุตรประจำทุกปี จัดกิจกรรมหลักและกิจกรรมทางพุทธศาสนา พัฒนากระบวนการกิน อยู่ ดู ฟังเป็นในชีวิตประจำวัน ส่งเสริมนักเรียนให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมสำคัญทางพุทธศาสนาในวันสำคัญ วันมาฆบูชา วิสาขบูชา อาสาฬหบูชา เป็นต้น 4) ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ส่งเสริม กระตุ้นให้นักเรียนนำผลการประเมินมาปรับปรุงการเรียนการสอนและความประพฤติ ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ กระตุ้นให้ผู้สอนวัดและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง นำหลักภาวนา 4 มาบูรณาการเป็นขั้นตอนการวัดและประเมินผล มีการประเมินผลกิริยามารยาท กิน อยู่ ดู ฟัง เป็น ประเมินผลร่วมกับผู้ปกครองนักเรียนเพื่อติดตามการเรียนรู้และพฤติกรรมของนักเรียนและนำมาส่งเสริม แก้ไขปรับปรุง

References

ครูโรงเรียนประถมศึกษา. (16 ต.ค. 2562). สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร. แหล่งที่มา: http://www.bangkok.go.th/. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2562.
ฉวีวรรณ ยะสุรินทร์. (2540). “การพัฒนาหน่วยการเรียนการสอนเรื่อง พระพุทธศาสนาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ฉวีวรรณ ยะสุรินทร์. (2540). “การพัฒนาหน่วยการเรียนการสอนเรื่อง พระพุทธศาสนาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4”. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2559). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 7. (นนทบุรี: พี บาลานซ์ดีไซด์แอนปริ๊นติ้ง.
ณัฐกิตติ์ ศรีสันต์. (2548). “ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธในภาคตะวันออก”. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สุวีริยาสาส์น.
พระกันตพัฒน์ สุภทฺโท (เจริญจรัสวาศน์). (2560). “การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา เขตคลองเตย สังกัดกรุงเทพมหานคร”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ราตรี รัตนโสภา. (2560). “การศึกษาการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำราญ รัตนทิพยาภรณ์. (2537). “ความคิดเห็นและความคิดรวบยอดและเจตคติต่อพระพุทธศาสนา ของครูในชนประถมศึกษาปีที่ 1-2 สังกัดสำนักงานประถมศึกษาอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.
สุพรรณี มีภูเวียง. (2550). “การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปประกอบ STAD กลุ่มสาระสังคม ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาชั้นประถมศึกษาปีที่ 3”. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-30