การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการพื้นที่มรดกโลกอุทยานประวัติศาสตร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วมของชุมชน, การจัดการพื้นที่มรดกโลก, อุทยานประวัติศาสตร์บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการพื้นที่มรดกโลกอุทยานประวัติศาสตร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการพื้นที่มรดกโลกอุทยานประวัติศาสตร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการพื้นที่มรดกโลกอุทยานประวัติศาสตร์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods) ทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จากการ และเชิงปริมาณ (Qualitative Research) โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 368 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียวและเปรียบเทียบ ผลการวิจัยพบว่า
- โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.54 เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อว่า ท่านได้มีส่วนร่วมปฏิบัติในการบูรณปฏิสังขรณ์/ดูแลรักษาความสะอาด/การกำจัดวัชพืช/สิ่งกีดขวาง/และความปลอดภัย ในอุทยานประวัติศาสตร์ อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อว่าท่านมีส่วนร่วมในการเป็นคณะกรรมการในเผยแพร่และจัดงานในกิจกรรมต่างๆ ด้านการจัดการทรัพยากร โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อว่า ท่านได้ร่วมวางแผนในการแก้ปัญหาอันเกิดจากภัยต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอุทยานประวัติศาสตร์ อยู่ในระดับมากที่สุด
- ผลจากระดับความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการพื้นที่มรดกโลกอุทยานประวัติศาสตร์จังหวัดพระนครศรีอยุธยาพบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.52 ด้านการได้รับประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 3.65
- ด้านการจัดการพื้นที่ ชุมชนไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ชุมชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมจัดการด้านพื้นที่อย่างเต็มที่ ด้านการปกป้อง ชุมชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมจัดการด้านการปกป้องพื้นที่ ควรจัดให้มีการพบปะกันระหว่างชุมชนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อทำความเข้าใจด้านนี้อย่างชัดเจน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ชุมชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมจัดการด้านนี้อย่างเต็มที่
References
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
เบ็ญจา อ่อนท้วม. (2531). กลวิธีในการทำงานเป็นกลุ่ม. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยพายัพ.
ยุพาพร รูปงาม. (2545). “การมีส่วนร่วมของข้าราชการสำนักงบประมาณในการปฏิรูประบบราชการ”. ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. คณะสังคมศาสตร์: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. (2534). ปรัชญาการพัฒนาชุมชน. วารสารพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์บางกอกบล็อก.
วิวัฒนชัย บุญญานุพงศ์. (2544). “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์วัฒนธรรมชุมชน: ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชนมอญบ้านปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สนธยา พลศรี. (2550). เครือข่ายการเรียนรู้ในงานพัฒนาชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
สุภาภรณ์ อุ่นเมตราจิต. (2526). การพัฒนาชุมชนโดยวิธีการศึกษานอกโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อาภรณ์พันธ์ จันทร์สว่าง.(2525). การพัฒนาบุคคล กลุ่มและชุมชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.