ประชารัฐ : กลไกการเสริมสร้างความมั่นคงด้านสวัสดิการสังคมแก่ผู้สูงอายุใน ประเทศไทย - ญี่ปุ่น

ผู้แต่ง

  • ชัญญากานต์ คุ้มดี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ประชารัฐ, สวัสดิการสังคม, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเสนอแนวทางการเสริมสร้างความมั่นคงด้านสวัสดิการสังคมแก่ผู้สูงอายุในประเทศไทยด้วยกลไกประชารัฐ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้รูปแบบการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) และการวิจัยภาคสนาม (Field Research) การเก็บข้อมูลภาคสนามโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interviews) และการสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) รวมจำนวน 37 ท่าน และวิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 

นโยบายประชารัฐให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุมากขึ้นดังเห็นได้จากโครงการที่ส่งลงมาสู่ภาคปฏิบัติเป็นรูปธรรมมากขึ้น ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นและสิ่งที่ได้เพิ่มขึ้น คือ สร้างเสริมการอยู่ร่วมสังคมด้วยความรักความสามัคคีในชุมชน ผลต่อด้านร่างกาย ด้านสาธารณสุข นโยบายประชารัฐสามารถตอบสนองความต้องการทางด้านร่างกายของผู้สูงอายุโดยการปรับสภาพแวดล้อม ห้องสุขาให้ถูกสุขอนามัยและเหมาะสมกับทางกายภาพของผู้สูงอายุ ประเด็นด้านเศรษฐกิจ ซึ่งฝ่ายบริหารใช้ประเด็นเงินงบประมาณสามารถทำให้เกิดการหมุนเวียนในท้องถิ่น โดยมีมุมมองต่อนโยบายประชารัฐที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลเพื่อนำมาสู่ภาคปฏิบัติ สำหรับแนวทางการเสริมสร้างมั่นคงในการทำงานด้านสวัสดิการสังคมแก่ผู้สูงอายุด้วยกลไกประชารัฐนั้นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งคือการทำงานร่วมกันแบบบูรณาการภาคีเครือข่าย อันได้แก่ เครือข่ายองค์กรภาครัฐ ซึ่งทำหน้าที่กำกับงานในระดับนโยบาย เครือข่ายองค์กรภาคเอกชน ซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่จัดการคุณภาพบริการให้เหมาะสม เช่น ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ บ้านพัก และเครือข่ายภาคสังคม เช่น กลุ่มองค์กรชุมชน วัด เครือญาติ เพื่อนบ้าน ที่นับว่าใกล้ชิดกับผู้สูงอายุมากที่สุด ที่อาจเป็นกลุ่มแรกที่ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้สูงอายุหรือผู้เดือดร้อนได้มีประสิทธิภาพ

References

ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐและคณะ. (2546). บทสังเคราะห์ภาพรวมการพัฒนาระบบสวัสดิการสำหรับคนจนและคนด้อยโอกาสในสังคมไทย. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปณิธี บราวน์. (2557). “พฤฒพลัง: บทบาทของกลุ่มผู้สูงอายุและทุนที่ใช้ในการขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุ”. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์. 31(3).
ศศิพัฒน์ ยอดเพชร แลคณะ. (2544). “การเกื้อหนุนทางสังคมแก่ผู้สูงอายุ (พื้นที่ศึกษาภาคใต้)”. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมสาสตร์.
ศุภกิจ วงศ์วิวัฒนนุกิจ. 2555. พจนานุกรมศัพท์การวิจัยและสถิติ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2558). “แนวทางการส่งเสริมหุ้นส่วนทางสังคมในการจัดสวัสดิการสังคมเพื่อนำไปสู่สังคมสวัสดิการ”. สำนักมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์: กรุงเทพมหานคร.
สินชัย ชี้เจริญ. (2553). “การพัฒนาระบบสวัสดิการสังคมไทย”. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-31