รูปแบบการสร้างความมั่นคงชีวิตหลังการเลิกจ้างงานของแรงงานในภาค อุตสาหกรรมยานยนต์
คำสำคัญ:
การสร้างความมั่นคง, ความมั่นคงชีวิต, ภาคอุตสาหกรรมยานยนต์บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการสร้างความมั่นคงของชีวิตหลังการเลิกจ้างของแรงงานในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เหมาะสมกับสภาพสังคมไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) การรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพภาคสนามโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ปลายเปิด และแบบสนทนากลุ่ม การรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพภาคสนามโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการคัดเลือกแบบเจาะจงจาก 3 กลุ่มประชากร คือ บุคลากรภาครัฐที่เกี่ยวข้อง, นักวิชาการเอกชน และกลุ่มผู้เกษียณอายุ รวมทั้งสิ้น 25 ตัวอย่างจาก 18 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า
รูปแบบที่เหมาะสมกับสภาพสังคมไทยในปัจจุบัน มี 4 รูปแบบ ได้แก่ 1) รูปแบบหลักประกันทางด้านการเงินโดยกระบวนการออมในภาคอุตสาหกรรม เช่น กองทุนเงินสะสม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ส่งเสริมให้มีการออม และเพิ่มวงเงินสนับสนุนการออมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 2) รูปแบบรัฐสวัสดิการ โดยเน้นเป้าหมายที่ผู้สูงอายุ 3) รูปแบบการปรับพฤติกรรมของตนเองของแรงงานเกี่ยวกับการวางแผนด้านการเงิน รายรับรายจ่ายและเงินออมเพื่ออนาคต ตั้งเป้าหมายในชีวิต สร้างความสมดุลกับครอบครัว ร่วมกิจกรรมทางสังคมตามความเหมาะสม พัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน การประกอบอาชีพ การจัดหางาน การจ้างงานผู้สูงอายุ และการต่ออายุเกษียณ และ 4) รูปแบบหลักประกันในหน้าที่การงานอาชีพ เช่น การพัฒนาทักษะของตนเองมาใช้ประโยชน์ด้านคุณค่าและสร้างงานที่เหมาะสม
References
ภัทราพร ตาราไต. (2554). คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาลรัฐ: กรณีศึกษาโรงพยาบาลมหาสารคาม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี.
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์. (2550). แผนแม่บทด้านแรงงาน พ.ศ. 2550-2554. กรุงเทพมหานคร: สำนักปลัดกระทรวง กระทรวงแรงงาน.
อภิญญา เวชยชัย. (2554). การศึกษาโครงการกองทุนส่งเสริมสวัสดิการผู้สูงอายุและครอบครัวในชุมชนโครงการเบี้ยยังชีพ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข.