การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเบี่ยงเบนของเยาวชนในสถานฝึกอบรมตามกระบวนการเรียนรู้ แนวพุทธ

ผู้แต่ง

  • พระมหาทองสุข วิสุทฺธสีโล คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, พฤติกรรมเบี่ยงเบน, เยาวชน, กระบวนการเรียนรู้แนวพุทธ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมเบี่ยงเบนของเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายบ้านกรุณา 2) เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเบี่ยงเบนของเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายบ้านกรุณา ตามแนวพุทธ 3) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเบี่ยงเบนของเยาวชนศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายบ้านกรุณา จังหวัดสมุทรปราการ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ซึ่งเป็นวิธีวิจัยที่บูรณาการการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กับการวิจัยเชิงคุณภาพเข้าด้วยกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นเยาวชนช่วงอายุ 17-24 ปี จากศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายบ้านกรุณา จังหวัดสมุทรปราการ ได้มาโดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 122 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม โปรแกรมฝึกอบรม และแบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพื้นฐาน สถิติอ้างอิง การวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท ผลการวิจัยพบว่า

  1. ส่วนใหญ่ได้กระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ รองจากนั้น จึงเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท และอื่น ๆ โดยมีเหตุแห่งปัจจัยด้านครอบครัว ด้านสิ่งแวดล้อม ชุมชน ที่อยู่อาศัย ด้านการคบเพื่อน ด้านเศรษฐกิจ ด้านส่วนบุคคล และด้านการศึกษา ที่มีผลต่อพฤติกรรมเบี่ยงเบนของเยาวชน โดยมีลักษณะพฤติกรรมเบี่ยงเบนที่กระทำความผิดเกี่ยวกับความรุนแรง อารมณ์ก้าวร้าว รุนแรง คิดว่าตนเองเป็นฮีโร่ ต่อต้านสังคม สุขที่ได้แกล้งเพื่อน เคารพความคิดเห็นของเพื่อน ขาดสติ พลั้งเผลอ เก็บกด พูดน้อย มีสมาธิสั้น
  2. คะแนนเฉลี่ยในระยะหลังทดลอง สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับคะแนนเฉลี่ยในระยะก่อนทดลอง ทั้งในส่วนของค่าเฉลี่ยพฤติกรรมโดยรวม ในส่วนของมิติภาวนา 4 ด้านพฤติกรรมทางกายภาพ พฤติกรรมทางศีล พฤติกรรมทางจิตใจ และพฤติกรรมทางปัญญา และในส่วนของมิติไตรสิกขา ด้านตระหนักรู้ ด้านทัศนคติ และด้านทักษะ และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เสนอแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเบี่ยงเบนของเยาวชนไว้อีก 5 ด้าน คือ ด้านเนื้อหา ด้านการฝึกฝนทักษะ ด้านกิจกรรม ด้านผู้ปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับเยาวชน และด้านครอบครัว
  3. สรุปแนวทางได้ 4 ระดับ คือ ระดับบุคคล โดยมีการจัดการเรียนรู้ มีการฝึกฝนทักษะ และการเปลี่ยนทัศนคติ ระดับศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน โดยมีการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานระหว่างทางโลกและทางธรรม มีการดูแลคุ้มครองและการสร้างกติการ่วม ระดับครอบครัว โดยมีการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน การเป็นแบบอย่างที่ดี การให้ความรู้แก่เยาวชน และการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัว ระดับชุมชนและสังคม โดยควรเปิดโอกาสให้เยาวชนได้แก้ไขปรับปรุงตนเอง และดึงเยาวชนให้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในกิจกรรมของชุมชน

References

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2563). รายงาน. รายงานจำนวนเด็กและเยาวชนเทียบกับประชากรทั่วประเทศ ณ 31 ธันวาคม 2562.
กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม. (9 พ.ค. 2563) สถิติคดีย้อนหลังระหว่างปี พ.ศ. 2553 - 2558. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.djop.go.th/stat/statbetween2008-2011. (9 พฤษภาคม 2563).
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน. (2 มิ.ย. 2563) หน้าที่ของรัฐที่มีต่อประชาชน. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.satit.up.ac.th/BBC07/AroundTheWorld/pol/91.htm. (2 มิถุนายน 2563).
จารุณี แซ่ตั้ง. (2561). สถิติประจำปี 2561 ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายบ้านกรุณา. รายงาน.
จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ และคณะ. (2548). การขัดเกลาทางสังคม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2556). ทฤษฎีและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เอส.พริ้นติ้ง ไทย แฟคตอรี่.
ปราณี เมืองน้อย. (2560). เดินตามคำสอนพ่อ “4 พระราชดำรัส” เลี้ยงลูกให้ดีงาม. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง.
พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น) และคณะ. (2558). รายงานการวิจัย. การเสริมสร้างสุขภาวะและการเรียนรู้ของสังคมตามแนวพระพุทธศาสนา. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Bruce L. Berg. Howard Lune. (2014). Qualitative Research Methods for the Social Sciences. Boston: Allyn and Bacon. 8th ed. 2014.
Carl Ransom. Rogers. (1950). A way of being. New York: Houghton Mifflin Harcourt Publishing Company.
Morris Zeditch. Jr. Family. (1964). Marriage & Kinship. Robert E.L. Farris. ed. Mcnally.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-31