การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดชลบุรีตามแนวพระพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • เขมจิรา พิทักราษฎร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, คุณภาพชีวิต, ไตรสิกขา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดชลบุรี 2) พัฒนารูปแบบกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดชลบุรีตามแนวพระพุทธศาสนา 3) เพื่อศึกษาผลการพัฒนารูปแบบกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดชลบุรีตามแนวพระพุทธศาสนา การวิจัยครั้งนี้ได้ทำการวิเคราะห์กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 30 คน ซึ่งได้จากการคัดเลือกแบบเจาะจง ใช้ระยะเวลาในการทดลองกิจกรรม 12 สัปดาห์ โดยใช้เครื่องมือในการวิจัยโดยใช้แบบวัดระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย (WHOQOL-BREF-THAI) และใช้การสัมภาษณ์เพื่อติดตามผลทั้งก่อนและหลังการทำกิจกรรมส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดชลบุรีตามแนวพระพุทธศาสนา ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ จะเป็นปัญหาทางกายและทางจิต ส่วนคุณภาพชีวิตก่อนและหลังการใช้กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตโดยใช้หลักไตรสิกขาแตกต่างกัน โดยหลังใช้กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตตามแนวพระพุทธศาสนา โดยใช้หลักไตรสิกขาที่พัฒนาขึ้นมีระดับคุณภาพชีวิตสูงกว่าก่อนใช้กิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ระดับคุณภาพชีวิตทั้งด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพ และด้านสิ่งแวดล้อม ก่อนใช้และหลังใช้กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตตามแนวพระพุทธศาสนา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กาญจนา ตั้งชลทิพย์ และคณะ. (2553). “คุณค่าผู้สูงอายุ: ภาพสะท้อนมุมมองจากคนสองวัย,” อ้างถึงใน สุชาดา ทวีสิทธิ์ และสวรัย บุณยมานนท์. ประชากรและสังคม คุณค่าผู้สูงอายุในสายตาสังคมไทย. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม.
บรรลุ ศิริพานิช และคณะ. (2539). ชมรมผู้สูงอายุ: การศึกษารูปแบบและการดำเนินงานที่เหมาะสม. กรุงเทพมหานคร: วิญญาณ.
พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ). คู่มือมนุษย์ (ฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา. (2530).
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2549). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.
รศรินทร์ เกรย์ และคณะ. (2556). มโนทัศน์ใหม่ของนิยามผู้สูงอายุ: มุมมองเชิงจิตวิทยาสังคมและสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-31