ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ของผู้ประกอบการรายย่อยในจังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • ศุภสิริ สร้อยทองพงศ์ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยพิษณุโลก

คำสำคัญ:

ผู้ประกอบการ, การตัดสินใจซื้อ, ธุรกิจแฟรนไชส์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ของผู้ประกอบการในจังหวัดพิษณุโลก 2) ศึกษาระดับการตัดสินใจซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ของผู้ประกอบการในจังหวัดพิษณุโลก และ 3) ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยที่มีต่อการตัดสินใจซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ของผู้ประกอบการในจังหวัดพิษณุโลก โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก จำนวน 280 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ความถี่และร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า

ทุกด้านของปัจจัยมีผลต่อการตัดสินใจซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านตราสินค้า ด้านความน่าเชื่อถือ ด้านความไว้วางใจ ด้านความผูกพันต่อตราสินค้า ด้านการสนับสนุนแฟรนไชส์ และด้านประสบการณ์แฟรนไชส์ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า การตัดสินใจซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ของผู้ประกอบการในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก ได้รับอิทธิพลเชิงบวกจากปัจจัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเรียงลำดับค่าสัมประสิทธิการพยากรณ์จากมากไปน้อย ได้แก่ ปัจจัยตราสินค้า ปัจจัยผลิตภัณฑ์ ปัจจัยการสนับสนุนแฟรนไชส์ และปัจจัยความผูกพันต่อตราสินค้า ส่วนปัจจัยความไว้วางใจ ปัจจัยความน่าเชื่อถือ และปัจจัยประสบการณ์แฟรนไชส์ ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อธุรกิจแฟรนไชส์

References

ณัฐ อมรภิญโญ. (2551). รูปแบบการประสบความสำเร็จที่ยั่งยืนของผู้ประกอบการรายย่อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประเทศไทย. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 7 (2), 57-66.
ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์. (2562). จำนวนธุรกิจแฟรนไชส์ในไทย ปี 2562. [ออนไลน์]. แหล่งสืบค้น http://www.thaifranchisecenter.com/stats/franchise_stats.php?year=2019. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2563.
รัตนา สิทธิอ่วม, วิชญานัน รัตนวิบูลย์สม, วราวุธ ฤกษ์วรารักษ์ และอนุชา กอนพ่วง. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย: การศึกษารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ. วารสารการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 7 (2), 146-159.
เลิศชัย สุธรรมานนท์ และกีรติกร บุญส่ง. (2557). ตัวแบบสมรรถนะแฟรนไชส์ซี กรณีศึกษาแฟรนไชส์ซีร้านค้าปลีก บริษัท XYZ จำกัด. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 7 (2), 121-134.
วิเลิศ ภูริวัชร. (2555). การสร้างความผูกพันกับลูกค้า Customer Engagement. แหล่งสืบค้น http://www.spahakuhodo.com/index.php/portal/knowledge/8/111. สืบค้นเมื่อ
18 มิถุนายน 2563.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2561). แฟรนไชส์ยังโตโอกาสทองนักลงทุน. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด.
สรอรรถ ปานอุดมลักษณ์. (2557). ความพึงพอใจต่อคุณภาพการบริการระหว่างร้านอาหารแฟรนไชส์ต่างประเทศกับร้านอาหารแฟรนไชส์ประเทศไทยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบอกต่อและการกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สุนันทา ไชยสระแก้ว. (2553). ความสำคัญของการสนับสนุนแฟรนไชส์ซอร์กับวัฒนธรรมองค์กรที่มีผลต่อคุณภาพความสัมพันธ์แฟรนไชส์ซอร์-แฟรนไชส์ซี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
เสาวลักษณ์ ชำนาญนาค. (2555). ปัจจัยในการตัดสินใจซื้อสิทธิ์แฟรนไชส์ ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ขององค์กรที่มีอิทธิพลต่อส่วนประสมทางการตลาดในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
อัจฉรา ขุมทิพย์. (2551). การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนธุรกิจร้านจำหน่ายกล้องดิจิตอลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30 (3): 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-30