ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมจิตอาสาภายหลังการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบโครงการ
คำสำคัญ:
ความรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรม, จิตอาสา, การเรียนรู้แบบโครงการเป็นฐานบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมจิตอาสาหลังการเรียนรู้แบบโครงการในรายวิชาบูรณาการวิชาการศึกษาทั่วไปของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต 2) เพื่อถอดบทเรียนการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบโครงการในรายวิชาบูรณาการวิชาการศึกษาทั่วไปของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต โดยมีระเบียบวิธีการวิจัยคือเป็นวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ขั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2561 จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบสอบถามความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมจิตอาสา มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .90 2) แบบสะท้อนคิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
- ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมจิตอาสาของนักศึกษาพยาบาล ภายหลังการเรียนรู้แบบใช้โครงการเป็นฐาน จัดอยู่ในระดับมาก
- ผลการถอดบทเรียนพบว่านักศึกษามีความเต็มใจและเต็มที่กับการทำกิจกรรมจิตอาสา เมื่อเห็นผลงานของตนจึงเกิดความปลื้มปิติภายในจิตใจ มีความสุข ถึงแม้จะเหนื่อยและต้องทำงานกับขยะสิ่งสกปรก สะท้อนจากคำพูดนักศึกษาว่า “การทำจิตอาสาครั้งทำให้ได้เรียนรู้จักตนเองและคนอื่นมากขึ้น ได้เรียนรู้ว่าการช่วยเหลือซึ่งกันและกันสิ่งสุดท้ายคือความสุขในใจ”
References
กัญซิตา ประพฤติธรรม. (2555). คู่มือจิตอาสา สำหรับผู้ไม่พิการในความดี. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ.
ธรรณปพร หงษ์ทอง. (2561). รายงานวิจัย. แรงจูงใจของจิตอาสาเฉพาะกิจในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9.
บุบผา เรืองรอง. (2555). การให้การศึกษาและการให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมของเด็กปฐมวัย. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
ปั้นหยา จิตต์นุกุลศิริ. (2557). กระบวนการสื่อสารเรื่อง “จิตอาสา” ของมูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวัน ในทัศนะของผู้นำทางสังคมไทย. วิทยานิพจน์ปริญญามหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย: กรุงเทพมหานคร.
พระพรหมบัณฑิต. (2561). จิตอาสากับการพัฒนาที่ยั่งยืน. พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ยุพา ศิริลักษณ์ และบัณฑิตา อินสมบัติ. (2559). ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการที่มีต่อความสามารถด้านการสังเกต ด้านการจำแนกและการเปรียบเทียบของเด็กปฐมวัย. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. 6 (10). 151 - 164.
รุจน์ หาเรือนทรง. (15 เม.ย. 2564). การเปลี่ยนแปลงทางสังคม. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: https://www.slideshare.net/ssuserc553d7/pisa-37573155. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2564.
วิชัย โชควิวัฒน์, และสันติสุข โสภณสิริ. (2561). หมอไทยดีเด่นแห่งชาติ พ.ศ. 2561 พ่อหมอขาว เฉียบแหลม หมอจิตอาสาแห่งดงเค็ง. นนทบุรี: พี เอ็น เอส ครีเอชั่น.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). การพัฒนาหลักสูตรอุดมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2 . กรุงเทพมหานคร: อาร์ แอนด์ ปริ๊น.
ศักดิ์มงคล เชื้อทอง, จีราภรณ์ ชื่นฉ่ำ, นัยนา ภูลม และพัชนียา เชียงตา. (2555). ผลของโปรแกรมการพัฒนาจิตสาธารณะต่อความมีจิตสาธารณะและความสุขของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 5 (2), 30 - 36.
ศักดิ์มงคล เชื้อทอง, ประกริต รัชวัตร์, จีราภรณ์ ชื่นฉ่ำ และนัยนา ภูลม. (2550). รายงานวิจัย.
การประเมินผลโครงการ “เยาวชนสระบุรี รวมพลังจิตอาสาเพื่อสังคม”.
สุดาภรณ์ วิชิตชัยสาคร. (2551). ผลการจัดประสบการณ์แบบโครงการที่มีต่อพัฒนาการของพฤติกรรมดานสังคม ของเด็กปฐมวัยและเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษในห้องเรียนร่วม. วิทยานิพจน์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรต.
สุรชัย พุฒิกรุรางกูล. (10 มี.ค. 2564). “ภาพนิ่งไม่มีวันตาย” จุดเด่นที่แตกต่างของ ILLUSION. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: https://www.marketingoops.com/exclusive. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2564.
S.Jacues, S.Bissey and A.Martin. (2016). Multidisciplinary Project Based Learning Within a Collaborative Framework. Journal of iJet. 11 (12), 36 – 44.
Siti Rabah Hamzah, Turiman Suandi, Khairunisa Mohd Daud, Mohammad RezalHamzah, Azizan Bahari, Wan Mahrom Ahmad Shah, Ahmad, Ismail Ali. (2007). Knowledge Attitude and spirit of Volunteerism among students in public institution of Higher learning.