ความคิดเห็นและแนวทางการพัฒนาทุนชุมชนต่อการเตรียมความพร้อม เข้าสู่ชุมชนปัจฉิมวัยนานาชาติจังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • จามรี พระสุนิล e mail

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, ทุนชุมชน, ชุมชนปัจฉิมวัยนานาชาติ, ชุมชนเข้มแข็ง

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง ความคิดเห็นและแนวทางการพัฒนาทุนชุมชนต่อการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ชุมชนปัจฉิมวัยนานาชาติจังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นต่อการเตรียมความพร้อมสู่ชุมชนสูงวัย 2) ศึกษาทุนชุมชนในพื้นที่ และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาทุนชุมชนสู่การเตรียมความพร้อมชุมชนปัจฉิมวัยนานาชาติจังหวัดเชียงราย ศึกษาด้วยกระบวนการวิจัยแบบผสานวิธี ในกลุ่มตัวอย่าง 400 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่กลุ่มผู้นำในพื้นที่อำเภอแม่สาย อำเภอแม่จัน อำเภอเชียงแสน และอำเภอเชียงของ ผลการวิจัย พบว่า

ความคิดเห็นของประชาชนต่อความพร้อมเข้าสู่ชุมชนปัจฉิมวัยนานาชาติจังหวัดเชียงรายในภาพรวม พบว่าอยู่ในระดับ 4.84 คะแนน (SD 0.70) ผลการศึกษาทุนชุมชน พบว่า ส่วนใหญ่แสดงความคิดเห็นต่อทุนชุมชนด้านกายภาพ โดยพบว่า ในพื้นที่มีสิ่งแวดล้อมที่อำนวยความสะดวกต่อการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ และเหมาะสมในการเป็นชุมชนปัจฉิมวัยนานาชาติ รวมถึงแสดงความเห็นต่อทุนชุมชนในด้านสังคมวัฒนธรรม พบว่าทั้ง 4 พื้นที่
มีความหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรม ตลอดจนสภาพแวดล้อมของพื้นที่อำนวยความสะดวกต่อการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ สำหรับแนวทางการพัฒนาทุนชุมชนในการเข้าสู่ชุมชนปัจฉิมวัยนานาชาติจังหวัดเชียงรายสามารถปรับใช้แนวทางการใช้ทุนชุมชนเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนก่อนเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับคนทุกช่วงวัยร่วมสร้าง “ชุมชนเข้มแข็ง” ให้เป็นชุมชนที่น่าอยู่สำหรับผู้สูงอายุ

 

References

เกศสุดา โภคานิตย์ กีฬา หนูยศ ณัฐปราย์ ชัยสินคุณานนต์ และคัทลียา นาวิเศษ. (2563). การบริหารทุนชุมชนแบบบูรณาการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนบ้านขาม ตำบลบ้านขาม อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 11(1), 41-51.
คู่มือการขอรับการส่งเสริมการลงทุน. (2561). สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) : Borad of Investment (BOI). (มปท.)
บุษบา ทองอุปการ สันติ ศรีสวนแตง และวีรฉัตร์ สุปัญโญ. (2560). แนวทางเสริมสร้างความเข้มแข็งทุนชุมชนบ้านตลิ่งแดง จังหวัดกาญจนบุรี. Kasetsart Journal of Social Sciences (KJSS) 38, 600–610.
บุษบา ทองอุปการ. (2559). แนวทางการใช้ทุนชุมชนเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในจังหวัดกาญจนบุรี. สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน. คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พริ้งขจร ธระเสนา. (2559). ทุนชุมชนที่สนับสนุนการจัดกองทุนสวัสดิการชุมชน: กรณีศึกษากองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง. วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ภุชพงค์ โนดไธสง. (2561). การทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย. (10 มิถุนายน 2564) สืบค้นจาก http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/News/2562/N25-02-62-1.aspx
รายงานจังหวัดเชียงรายกับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (2561) (10 มิถุนายน 2564) สืบค้นจาก https://www.dft.go.th/Portals
สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2561). หอสมุดรัฐสภา. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักวิชาการ. (9 กรกฎาคม 2564) สืบค้นจาก https://library.parliament.go.th/th/taxonomy/term/101
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน. (2559). คู่มือการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ. (12 กันยายน 2563) สืบค้นจาก http://planning.pn.psu.ac.th/plan_doc/procedure/docs _procedure/200_1498815745.pdf
สำนักส่งเสริมสุขภาพอนามัย กรมอนามัย. (2546). ทฤษฎีเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงผู้สูงอายุ. (1 กันยายน 2563) สืบค้นจาก http://www.skho.moph.go.th/research/files-download/document/somrat/lesson-2.docx.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-05