ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งทั่วไป ในอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร
คำสำคัญ:
ปัจจัย, การตัดสินใจ, การเลือกตั้งทั่วไปบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความคิดเห็นต่อปัจจัย 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจ และ 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งทั่วไปในอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร ใช้วิธีการดำเนินการการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร จำนวน 399 คน เก็บข้อมูลด้วยการแจกแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 11 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา พบว่า
- ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งทั่วไปในอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงรายด้านดังนี้ ด้านการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ด้านการเป็นสมาชิกกลุ่ม/สมาคม องค์กรทางการเมือง อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการวิพากษ์วิจารณ์ต่อการดำเนินการของพรรคการเมือง อยู่ในระดับปานกลาง และ ด้านการสนับสนุนพรรคการเมืองอยู่ในระดับน้อย ตามลำดับ
- ประชาชนที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งทั่วไปในอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนประชาชนที่มี อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ และสถานภาพต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน
- ประชาชนเข้าใจถึงสิทธิหน้าที่ในการเลือกตั้ง มีการติดตามข่าวสารทางการเมือง แต่การให้ข่าวต่างๆ และข่าวการเมืองก่อให้เกิดความเครียด ประชาชนโดยทั่วไปจะไม่ค่อยทราบเงื่อนไขการเข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรคการเมือง แต่มีการวิพากษ์วิจารณ์การเมือง โดยหน่วยงานรัฐควรจัดเวทีสาธารณะให้ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งได้แสดงภูมิรู้และความสามารถ ให้ประชาชนพิจารณา และประชาสัมพันธ์ให้ติดตามผลการทำงานหลังการเลือกตั้ง
References
ข้อมูลผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง 2562. (15 เม.ย. 63). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.ect.go.th/ chumphon/main.php?filename=index. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2563.
จิรพันธุ์ วิสูตรศักดิ์. (2547). การดำเนินงานตามบทบาทขององค์การบริการส่วนตำบลหนองสาหร่าย อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมาในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ณัฐกาญจน์ เข็มนาค. (2563). พฤติกรรมทางการเมืองในการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งทั่วไป ปี พ.ศ. 2562 ในตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระจักรพงษ์ อนุตฺตโร (วงษ์โพธิ์). (2563). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อจริยธรรมของผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสร้อยทอง ปญฺญาวุโธ (ประทุมทอง). (2563). การพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตตำบลเมืองเตา อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิจิตร เกิดน้อย. (2563). “พฤติกรรมทางการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไปของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในตำบลไทยาวาส อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม”. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
องอาจ จัตุกูล. (2552). “การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลหนองแวง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์”. ภาคนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
อัญชุลี วงษ์บุญงาม และดารณี ธัญญสิริ. (2555). “การมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล”. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร, 6 (2) : 99 - 112.
เอมวดี กาฬภักดี. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกตั้งนายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลหนองกระทุ่ม อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี: ศึกษาเฉพาะกรณีการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2557. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 4 (1) : 117 - 122.