พระสงฆ์กับการเมืองไทยในบริบทสังคมปัจจุบัน

ผู้แต่ง

  • พระอธิการภูมิสิษฐ์ ปิยสีโล วิทยาลัยสงฆ์อุทัยธานี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • นัชพล คงพันธ์ วิทยาลัยสงฆ์อุทัยธานี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พระพุทธศาสนากับการเมือง, พระสงฆ์, การเมือง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการแสดงออกทางการเมืองของพระสงฆ์ไทย โดยใช้การศึกษาจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องถึงหลักปฏิบัติตนของพระสงฆ์ที่อยู่ในพระพุทธศาสนา และเหตุการเมืองปัจจุบันในการแสดงออกทางความคิดเห็นทางการเมืองของพระสงฆ์ไทยที่เกี่ยวกับการห้ามพระสงฆ์ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง รวมถึงการมีเสรีภาพในการเลือกวิถีชีวิตของตนเองทางการเมือง คณะกรรมการมหาเถรสมาคมได้ออกระเบียบห้ามไว้อย่างชัดเจนว่า ไม่ให้ภิกษุสามเณรในคณะสงฆ์ไทยออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องทางการเมือง แต่ในทางปฏิบัติแล้วก็ปรากฏว่าเมื่อเกิดความขัดแย้งทางการเมืองขึ้นก็มักจะมีการนำเอาคณะสงฆ์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ ดังนั้นการห้ามการแสดงออกจึงเป็นการย้อนแย้งกับหลักการและข้อเท็จจริงในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทางการเมืองในอดีต การเคลื่อนไหวทางการเมืองของพระสงฆ์เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสมและบทบาทของพระสงฆ์ว่าควรจะเป็นอย่างไร เรื่องการเมืองเป็นกิจของสงฆ์หรือไม่ ยังไม่มีคำตอบที่ยุติ เพราะต่างฝ่ายต่างก็มีเหตุผลสนับสนุนและฟังดูมีเหตุมีผลทั้งสองฝ่าย และเพื่อให้สังคมส่วนรวมมีความเป็นปกติสุข ไม่มีการแบ่งพรรคแบ่งพวก หรือชนชั้น วรรณะ ชาติ ศาสนา และคุ้มครองสิทธิของบุคคลทั่วไปให้ได้รับความเป็นธรรม

References

นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์. (2561). การเมืองไทยสมัยพระนารายณ์. กรุงเทพมหานคร : มติชน.
ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2550). สัมมนาทางวิชาการเรื่อง “พระสงฆ์กับการเมือง”. โดยศูนย์พุทธศาสน์ศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 25 มิ.ย.2550.
พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ. (2563). “ปมการแสดงออกทางการเมืองของพระสงฆ์”. ไทยรัฐออนไลน์. https://www.thairath.co.th/news/politic/1975548. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2563.
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส. (2562). “แนวโน้มบทบาทพระสงฆ์กับการเมืองไทยในสองทศวรรษหน้า” ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
ไพโรจน์ อยู่มณเฑียร. (2536) ร้อยคมวาทะพระพะยอม: ร้อยลำนำจากคมปัญญาของพระพยอม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ข้างฟ่าง.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมภาร พรมทาม. (2552). พระสงฆ์กับการเมือง. วารสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปีที่ 16 (3).
Insidewatthai. (2020). ที่มา “พระพุทธศาสนา” ในประเทศไทย. แหล่งที่มา: https://insidewatthai.com. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2563.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-31