วัฒนธรรมทางการเมืองไทยกับหลักการเสียงข้างมาก

ผู้แต่ง

  • โอฬาร ถิ่นบางเตียว คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ประชาธิปไตย, วัฒนธรรมทางการเมือง, หลักเสียงข้างมาก, ภาคตะวันออก

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของประชาชนในภาคตะวันออก มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับทัศนคติที่มีต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในประเด็นด้านหลักเสียงข้างมาก และ 2) ศึกษาทัศนคติต่อหลักการเสียงข้างมากในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในภาคตะวันออก ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน คือการวิจัยเชิงสำรวจและการวิจัยเชิงคุณภาพ ในส่วนของของการวิจัยเชิงสำรวจ ได้ทำการเก็บข้อมูลจากประชากรกลุ่มตัวอย่างจากจังหวัดชลบุรี ระยอง และสระแก้ว จำนวน 400 คน และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพได้ทำการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์ประชากรกลุ่มตัวอย่างไปพร้อมกับเก็บข้อมูลในเชิงปริมาณ โดยอาศัยประเด็นคำถามในแบบสอบถามเป็นแนวในการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชากรกลุ่มตัวอย่างมีระดับทัศนคติที่มีต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในหลักการเสียงข้างมากในระดับมาก อันสะท้อนถึงความสอดคล้องกันของวัฒนธรรมทางการเมืองกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย และ2) ประชากรกลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจในความสำคัญของหลักการเสียงข้างมากและสิทธิของเสียงข้องน้อยเป็นอย่างดี เพราะผลประโยชน์ของประชาชนคือสิ่งสำคัญที่สุด

References

จักรกริช สังขมณี. (2555). รายงานวิจัย. ชุมชนแห่งนั้นชื่อปรารถนา: วัฒนธรรมการเมืองในชีวิตประจำวันกับเครือข่ายความสัมพันธ์ในการพัฒนาท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: แผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี (นสธ.). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).
ทินพันธุ์ นาคะตะ. (2543). รัฐศาสตร์ : ทฤษฎี แนวความคิด ปัญหาสำคัญและแนวทางศึกษาวิเคราะห์การเมือง. กรุงเทพมหานคร: โครงการเอกสารและตำรา สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์ นิด้า.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (26 ธ.ค.63). ชาวบ้าน 3 จังหวัดยกขบวนเคลื่อนไหว “หยุดผังเมืองEEC”. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. แหล่งที่มา: https://www.prachachat.net/economy/news-353011. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2563.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (26 ธ.ค.63). จันทบุรีล่าชื่อค้านเหมืองทอง สวนปาล์มจี้รัฐโรงสกัดรับซื้อไม่เป็นธรรม. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. แหล่งที่มา: https://www.prachachat.net/local-economy/news-518638. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2563.
ประชาไท. (26 ธ.ค.63). ฝ่ายค้านยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ 6 รัฐมนตรี. ประชาไท. แหล่งที่มา: https://prachatai.com/journal/2020/01/86158. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2563.
ผู้จัดการออนไลน์. (26 ธ.ค.63). ชาวบ้านจันทบุรี 500 คนบุก ก.อุตฯ ไม่เอาเหมืองทองคำ ขีดเส้น 31 ต.ค. ไม่ยุติสำรวจบุกทำเนียบฯ. ผู้จัดการออนไลน์. แหล่งที่มา: https://mgronline.com/business/detail/9630000102932. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2563.
อภิชาต สถิตนิรามัย, นิติ ภวัครพันธุ์, และยุกติ มุกดาวิจิตร. (2555). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัย ทบทวนภูมิทัศน์การเมืองไทย. กรุงเทพมหานคร: แผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี (นสธ.), สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).
อมร รักษาสัตย์. (2543). ประชาธิปไตย : อุดมการณ์ หลักการ และแบบอย่างการปกครองหลายประเทศ.กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เอนก เหล่าธรรมทัศน์. (2556). สองนคราประชาธิปไตย: แนวทางปฏิรูป การเมือง เศรษฐกิจ เพื่อประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
โอฬาร ถิ่นบางเตียว. (2546). การเมืองท้องถิ่นกับการนำรูปแบบการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีโดยตรงมาใช้ในการปกครองท้องถิ่นของเทศบาล: กรณีศึกษาเทศบาลเมืองมาบตาพุด จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
โอฬาร ถิ่นบางเตียว. (2559). “จากความอยุติธรรมในการพัฒนาฯ ถึงการลุกขึ้นสู้ของคนภาคประชาชนในภาค ตะวันออกกับยุทธศาสตร์ 3-4-5”, วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา, 4 (1).
Almond, Gabriel and Verba, Sidney. (1963). The Civic Culture: Political Attitudes and Democracy in Five Nations. New York: Princeton University Press.
Heywood, Andrew. (2013). Politics. Basingstoke: Palgrave Macmillan.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-31