การพัฒนาองค์กรสร้างสุขให้มีประสิทธิภาพ

ผู้แต่ง

  • สุทธิรัตน์ ชูเลิศ

คำสำคัญ:

การพัฒนา, องค์กรสร้างสุข, ประสิทธิภาพ

บทคัดย่อ

การสร้างองค์กรที่มีประสิทธิภาพและมีความสุข ส่วนสำคัญ คือ คน เมื่อคนมีความสุขรักงานที่ตนเองทำ ย่อมก่อให้เกิดความสุขแก่องค์กร บุคคลรอบข้าง ซึ่งการจะสร้างองค์กรในรูปแบบดังกล่าวขึ้นมาได้นั้นต้องอาศัยปัจจัยและองค์ประกอบหลายประการเข้าด้วยกัน คือ มีน้ำใจ ใฝ่หาความรู้ สุขภาพดี จิตใจสงบ สิ่งแวดล้อม สังคมดี การมีครอบครัวที่ดีและอบอุ่น  ผ่อนคลายดีและ วัสดุอุปกรณ์ดี ซึ่งจะต้องอาศัยส่วนสำคัญอีกประการต้องอาศัยปัจจัยที่ทำให้องค์กรมีความเข้มแข็งขึ้นมา ซึ่งประกอบด้วยปัจจัย การรับรู้ที่รวดเร็ว มีความคล่องตัว สามารถปรับตัวได้เร็ว กระบวนการทำงานที่ชัดเจน ต้องการปรับปรุงและการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์การ และนำไปสู่ปัจจัยการพัฒนาองค์กรสร้างสุขให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งสามรถแบ่งเป็นสองระดับที่มีความเกื้อหนุนกัน คือ การพัฒนาระดับบุคคลและองค์กร พร้อมทั้งต้องมีองค์ประกอบที่สมบูรณ์ ในส่วนสำคัญที่สุด คือ ต้อง เป็นการพัฒนาที่ร่วมสมัย โดยมีแนวทาง การยอมรับข้อตกลง การมีส่วนร่วมทุกระดับ ความสัมพันธ์ทางบวกและบรรยากาศในการทำงาน ความประทับใจในคุณค่าของงานที่ทำ ลักษณะของการสื่อสาร และมีกลยุทธ์ที่ดีในการนำรูปแบบนี้ไปใช้ คือ การพัฒนาองค์กรในรูปแบบ Matrix Organization เพื่อสร้างการทำงานเป็นทีม ประยุกต์แนวคิดความสุข 9 ประการ สร้างวัฒนธรรมองค์กรใหม่ ด้วยการยกย่องคนดี ส่งเสริมคนเก่ง กระบวนการทั้งหมดที่กล่าวมา ล้วนเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญในการพัฒนาองค์กรสร้างสุขให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งหากต้องการปรับปรุงองค์กรให้มีรูปแบบที่มีความสุขและประมีประสิทธิภาพต้องนำทุกส่วนเข้าไปใช้ในองค์กรเท่านั้น

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, สรุปผลการประชุมเชิงปฏิบัติการแนวทางการเสริมสร้างองค์กรแห่งความสุข : ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตข้าราชการ, [ออนไลน์], แหล่งที่มา https://www.m-society.go.th/ewt_news.php?nid=2588, [17/12/2563]

การพัฒนาองค์กร (Organization Development : OD) ให้ก้าวสู่ความสำเร็จ, [ออนไลน์], แหล่งที่มา https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/190610-organization-development-od/ [17/12/2563]

จิรัชยา ตุงเครือคำ, สื่อสารอย่างไร ?? : ให้เกิดความเข้าใจในองค์กร, [ออนไลน์], แหล่งที่มา https://erp.mju.ac.th/openFile.aspx?id=MTExMTU2, [17/12/2563]

ดร.ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. วิถีแห่งการสร้างสุข: ปัจจัยพัฒนาองค์กรสร้างสุข. วารสารสุขศึกษา, ฉบับที่ 37 ปีที่ 127 พฤษภาคม-สิงหาคม 2557.

ธัมมัฏฐิตตา อยู่เจริญและเจษฎา อังกาบสี. การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจขององค์กรแห่งความสุข : กรณีศึกษา บุคลากรมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ, ปีที่ 10 ฉบับที่ 1/2561 : 52.

นางขวัญเมือง บวรอัศวกุล อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวง พม. , การเสริมสร้างคุณภาพชีวิตกับการทำงานอย่างมีความสุข (Happy Workplace), [ออนไลน์], แหล่งที่มา http://tpso4.m-society.go.th/index.php/th/tpso-news/2017-05-16-15-16-27/43-happy-workplace-8, [18/12/2563]

เนตร์พัณณา ยาวิราช. การจัดการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาองค์การ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ ทริปเพิ้ลกรุ๊ป, 2556.

พิรจักษณ์ ฉันทวิริยสกุล, พุทธบูรณาการพัฒนาทุนมนุษย์ในองค์กร. Buddhist integration on development of Human Capital in Organizations. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 [กันยายน - ธันวาคม 2560]

องค์กรแห่งความสุข ด้วยความสุข 8 ประการ, [ออนไลน์], แหล่งที่มาhttps://www.doctor.or.th/article/detail/5572, [18/12/2563]

Biggio G. and Cortese CG. Well-being in the workplace through intervention between individual characteristics and organizational context. Int J Qualitative Stud Health Well-being 2013; 8: 6-9.

Griffin, R.W. Management. (Boston, MA: Houghton Mifflin Company. 1999), P,75-76.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-21