การเสริมสร้างความสุขอย่างยั่งยืนตามหลักโภคอาทิยธรรมของครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาจังหวัดยโสธร
คำสำคัญ:
การเสริมสร้าง, ความสุข, หลักโภคอาทิยธรรม, บุคลากรทางการศึกษา, สวัสดิการบทคัดย่อ
บทความวิจัย มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการเสริมสร้างความสุขอย่างยั่งยืนตามหลักโภคอาทิยธรรมของครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาจังหวัดยโสธร เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยมีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิชัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูและบุคลากรทางศึกษา สำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาจังหวัดยโสธร จำนวน 1,994 คน มีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 321 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสอบถาม และการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เจาะลึก ทั้งแบบมีโครงสร้าง และไม่มีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาเฉลี่ย () และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์และสังเคราะห์รายประเด็น ผลการวิจัยพบว่า
การเสริมสร้างความสุขอย่างยั่งยืนตามหลักโภคอาทิยธรรม ประกอบด้วย ด้านการใช้จ่ายทรัพย์เพื่อเลี้ยงดูตนเอง บิดามารดา และครอบครัว ด้านการใช้จ่ายทรัพย์เพื่อบำรุงมิตรสหายและผู้ร่วมงาน ด้านการใช้จ่ายทรัพย์เพื่อป้องกันภัยอันตรายหรือเก็บออมไว้ยามเจ็บไข้ได้ป่วย ด้านการใช้จ่ายทรัพย์เพื่อทำพลี 5 อย่าง และด้านการใช้จ่ายเพื่ออุปถัมภ์บำรุงนักบวช พระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงศีลและกิจการพระศาสนาส่วน ส่วนการสัมภาษณ์เชิงลึก ประกอบด้วย ด้านการใช้จ่ายทรัพย์เพื่อเลี้ยงดูตนเอง บิดามารดา และครอบครัว ด้านการใช้จ่ายทรัพย์เพื่อบำรุงมิตรสหายและผู้ร่วมงาน ด้านการใช้จ่ายทรัพย์เพื่อป้องกันภัยอันตรายหรือเก็บออมไว้ยามเจ็บไข้ได้ป่วย ด้านการใช้จ่ายทรัพย์เพื่อทำพลี 5 อย่าง และด้านการใช้จ่ายเพื่ออุปถัมภ์บำรุงนักบวช
References
เจษณี สุขจิรัตติกาล. (2547). ความสุขมวลรวมประชาชาติ : มุ่งสู่กระบวนทัศน์ใหม่ในการพัฒนา. กรุงเทพฯ : สวนเงินมีมา.
ปังปอนด์ รักอำนวยกิจ และพิริยะ ผลพิรุฬห์.(2550). "ความสุขกายสบายใจของคนเมือง".ในประชากรและสังคม. นครปฐม : สำนักนักพิมพ์ประชากรและสังคม.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. กรุงเทพมหานคร. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2540). ทฤษฎีและกลยุทธ์การพัฒนาสังคม. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งมหาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุเชาวน์ พลอยชุม,รองศาสตราจารย์. (2552). พุทธปรัญาในสุตตันตปิฎก. บางกอกบล๊อก.
พระครูอาทรกิจจาภิรักษ์, (ฉัตรชมภู). (2557). การศึกษาวิเคราะห์โภควิภาค ๔ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา. ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิไลลักษณ์ ลังกา. (2560).วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ : ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2559 – มกราคม 2560.
กระทรวงศึกษาธิการ. (10 ก.พ 2561). ข้อมูลทั่วไป. [ออนไลน์]. แหล่งสืบค้น www.moe.go.th, สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์, 2561.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (15 ต.ค 2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559). [ออนไลน์]. แหล่งสืบค้นhttps://th.wikisource.org/wiki. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม, 2560.