การประเมินผลหลักสูตรและคุณภาพมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาท้องถิ่นแบบบูรณาการ สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน
คำสำคัญ:
การประเมินหลักสูตรร, คุณภาพบัณฑิต, หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อประเมินคุณภาพหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาท้องถิ่นแบบบูรณาการตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552
2) เพื่อประเมินคุณภาพบัณฑิตที่มีต่อหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต และ 3) เพื่อประเมินและศึกษาแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาท้องถิ่นแบบบูรณาการ โดยผู้วิจัยใช้รูปแบบเป็นการวิจัยเชิงประเมิน (Evaluation research) รูปแบบซิปในการประเมิน CIPP MODEL การประเมินหลักสูตรมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย กลุ่มนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในปัจจุบันตั้งแต่ปี 2555 - 2560 จำนวน 86 ราย มหาบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา ในช่วงปี พ.ศ. 2557 - 2559 จำนวน 36 ราย และกลุ่มผู้ใช้มหาบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาไปจำนวน 31 ราย รวมจำนวนทั้งสิ้น 153 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และประเด็นการสนทนากลุ่มโดยใช้แนวจาก CIPP MODEL ผลการวิจัยพบว่า
1) นักศึกษา มหาบัณฑิต ผู้ใช้บัณฑิต และผู้ที่เกี่ยวข้อง เห็นว่าหลักสูตรมีความเหมาะสม ไม่ว่าจะรายวิชา หน่วยกิต อาจารย์ผู้สอน การประเมินผล
2) นักศึกษามีความพึงพอใจมากในหลักสูตร ด้านกระบวนการเกี่ยวกับการวัดและประเมินผล มีความพึงพอใจมากที่สุด ด้านปัจจัยนำเข้า เกี่ยวกับอาจารย์ผู้สอน สื่อและสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ และด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ตลอดหลักสูตร มีความพึงพอใจมาก โดยรวมนักศึกษามีระดับความพึงพอใจที่สูง
3) เป็นหลักสูตรที่ดีที่สามารถให้ความรู้ ประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษา เมื่อจบการศึกษาออกไปบัณฑิตได้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในทางที่ดี การทำงานในองค์กรที่สังกัดมีประสิทธิภาพมากขึ้น ก็เป็นเป้าหมายที่ได้บรรลุตามความต้องการนั้น เพราะนักศึกษาที่ยังไม่สำเร็จการศึกษาและบัณฑิต มีความพึงพอใจในหลักสูตรระดับมาก
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อประเมินคุณภาพหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาท้องถิ่นแบบบูรณาการตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552
2) เพื่อประเมินคุณภาพบัณฑิตที่มีต่อหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต และ 3) เพื่อประเมินและศึกษาแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาท้องถิ่นแบบบูรณาการ โดยผู้วิจัยใช้รูปแบบเป็นการวิจัยเชิงประเมิน (Evaluation research) รูปแบบซิปในการประเมิน CIPP MODEL การประเมินหลักสูตรมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย กลุ่มนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในปัจจุบันตั้งแต่ปี 2555 - 2560 จำนวน 86 ราย มหาบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา ในช่วงปี พ.ศ. 2557 - 2559 จำนวน 36 ราย และกลุ่มผู้ใช้มหาบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาไปจำนวน 31 ราย รวมจำนวนทั้งสิ้น 153 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และประเด็นการสนทนากลุ่มโดยใช้แนวจาก CIPP MODEL ผลการวิจัยพบว่า
1) นักศึกษา มหาบัณฑิต ผู้ใช้บัณฑิต และผู้ที่เกี่ยวข้อง เห็นว่าหลักสูตรมีความเหมาะสม ไม่ว่าจะรายวิชา หน่วยกิต อาจารย์ผู้สอน การประเมินผล
2) นักศึกษามีความพึงพอใจมากในหลักสูตร ด้านกระบวนการเกี่ยวกับการวัดและประเมินผล มีความพึงพอใจมากที่สุด ด้านปัจจัยนำเข้า เกี่ยวกับอาจารย์ผู้สอน สื่อและสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ และด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ตลอดหลักสูตร มีความพึงพอใจมาก โดยรวมนักศึกษามีระดับความพึงพอใจที่สูง
3) เป็นหลักสูตรที่ดีที่สามารถให้ความรู้ ประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษา เมื่อจบการศึกษาออกไปบัณฑิตได้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในทางที่ดี การทำงานในองค์กรที่สังกัดมีประสิทธิภาพมากขึ้น ก็เป็นเป้าหมายที่ได้บรรลุตามความต้องการนั้น เพราะนักศึกษาที่ยังไม่สำเร็จการศึกษาและบัณฑิต มีความพึงพอใจในหลักสูตรระดับมาก
References
นวลฉวี ประเสริฐสุข และคณะ. (2551). รายงานการวิจัย. ประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นิตยา สุขเสรีทรัพย์. (2547). การประเมินและติดตามผลหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกภาษาอังกฤษ. วารสารมนุษยศาสตร์ปริทรรศน์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 26 (2).
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2560). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๘. สำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
สุทธิลักษณ์ คณานันท์. (2548). การประเมินหลักสูตรศึกษาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
John W. Best. (1981). Research in Education. 4 th ed. New Jersey: Prentice – Hall Inc.