การปรับตัวของธุรกิจร้านค้าปลีกเพื่อการพัฒนาชุมชน ตำบลทุ่งหลวง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
ธุรกิจค้าปลีก, การปรับตัวของร้านค้า, การพัฒนาชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาบริบทชุมชนและลักษณะการดำเนินการของร้านค้าปลีก ในชุมชนตำบลทุ่งหลวง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาวิธีการการปรับตัวของร้านค้าปลีกเพื่อพัฒนาชุมชนชุมชน ตำบลทุ่งหลวง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ซึ่งรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการเป็นวิธีการแสวงหาความรู้ ประชากร กลุ่มตัวอย่างและผู้วิจัยร่วม ที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้ใช้บริการและซื้อสินค้า จำนวน 100 ราย ร้านค้าปลีกดั้งเดิมในตำบลทุ่งหลวง จำนวน 8 ร้านค้าและร้านค้าที่สมัครใจเป็นผู้วิจัยร่วมจำนวน 4 ร้านค้า เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่มและแบบประเมินผลความพึงพอใจ ผลการวิจัยพบว่า
- ด้านบริบทชุมชนตำบลทุ่งหลวง พบว่าประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร และมีชาวบ้านส่วนหนึ่งสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนเป็นรายได้เสริม ความเป็นอยู่ของชาวบ้านส่วนใหญ่อยู่ในลักษณะเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน เป็นไปตามลักษณะชุมชนดั้งเดิม
- ด้านการปรับตัวของร้านค้าปลีกเพื่อพัฒนาชุมชน พบว่าหากร้านค้าปลีกในชุมชนตำบลทุ่งหลวง ยังใช้วิธีการในการค้าขายแบบดั้งเดิมอยู่ ก็จะไม่สามารถทำให้ร้านค้าปลีกอยู่รอดได้ ดังนั้นร้านค้าปลีกทุกร้านต้องได้รับการปรับปรุงธุรกิจค้าปลีก ตามองค์ประกอบที่มีทั้งหมด 6 ด้านได้แก่ 1) ด้านการปรับปรุงร้าน
2) ด้านการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาปรับใช้ในการบริหาร 3) ด้านการสร้างเครือข่ายสมาชิก 4) ด้านการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน 5) ด้านการสร้างเครือข่ายร้านค้าปลีกและ 6) ด้านบริการส่งสินค้า - ด้านความพึงพอใจในการปรับตัวของร้านค้าปลีกดั้งเดิมในตำบลทุ่งหลวง จากลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการและซื้อสินค้า พบว่าภาพรวมความพึงพอใจในการปรับตัวของร้านค้าปลีก มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 77.10 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์พึงพอใจมาก
References
กฤษณ์ ทัพจุฬา. (2558). ความสำเร็จของธุรกิจร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ, 3(2), 108.
โกวิทย์ กุลวิเศษ. (2558). บทบาทร้านค้าชุมชน: กรณีศึกษา ตำบลหินตั้ง อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น, วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
จิดาภา ชนาธินาถ. (2548). พฤติกรรมการบริโภคของลูกค้าร้านค้าปลีกประเภทโชห่วย ในเขตอำเภอ
เมือง จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ชมณัฐ แสงจันทรา. (2554). การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมภายหลังได้รับผลกระทบจากการขยายตัวของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประกอบการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธนาภรณ์ แสวงทอง และคณะ. (2555). ผลกระทบจากการขยายตัวของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ต่อร้านค้าปลีกดั้งเดิมในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล.วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสตร์ดุษฏีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปภัมภ์.
ภัทรภร พลพนาธรรม. (2549). การบริหารค้าปลีกและค้าส่ง. กรุงเทพมหานคร: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.
ลำพูน ป้องขัน. (2546). การปรับตัวของร้านค้าปลีกขนาดเล็ก ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิรัช สงวนวงศ์วาน. (2547). การจัดการและพฤติกรรมองค์กร. กรุงเทพมหานคร: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น
อินโดไซน่า.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสาร.
_______. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: พัฒนาศึกษา.
เสรี พงศ์พิศ. (2547). ร้อยคำที่ควรรู้. กรุงเทพมหานคร: เจริญวิทย์การพิมพ์.
สุจินดา เจียมศรีพงษ์ และคณะ. (2554). ธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิม(ร้านโชห่วย)ปัญหาและทางแก้ไข. คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุปัญญา ไชยชาญ. (2551). การบริหารการตลาด. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: พี.เอ.ลีฟวิ่ง.