การเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กรณีศึกษา บ้านนาปรัง ตำบลคลองกวาง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
การเสริมสร้างความเข้มแข็งบทคัดย่อ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “การเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กรณีศึกษาบ้านนาปรัง ตำบลคลองกวาง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทชุมชนบ้านนาปรัง 2) เพื่อศึกษาการก่อเกิดกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนา 3) เพื่อศึกษาปัจจัยพื้นฐาน การบริหารจัดการของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาปรัง 4) เพื่อศึกษากระบวนการจัดการของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาปรัง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ประชากรเป้าหมายผู้ให้ข้อมูลหลัก ที่เกี่ยวกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ผู้วิจัยได้เลือกกลุ่มตัวอย่าง รวมทั้งสิ้น 30 คน แบบเฉพาะเจาะจง โดยเลือกผู้ที่สามารถให้ข้อมูลที่เป็นจริงและครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า
1) ด้านสังคมและวิถีชีวิต ชุมชนบ้านนาปรัง เดิมเป็นชุมชนเกษตรกรรม ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันหันมาประกอบอาชีพทำสวนยางพารามากขึ้น สภาพความเป็นอยู่ของคนได้เปลี่ยนไป แต่ก็ยังคงมีวิถีชีวิตดั้งเดิมแบบสังคมชนบท ด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรม พบว่า ประชากรส่วนใหญ่มีรายได้จากสวนยางพารา และมีผลไม้ตามฤดูกาลบ้าง
2) การก่อเกิดกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาปรัง พบว่ากลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาปรัง มีการริเริ่มดำเนินการจัดตั้งกลุ่มเพื่อออมเงินในชุมชน โดยการผลักดันของกรมการพัฒนาชุมชนในปี พ.ศ.2533
3) ปัจจัยพื้นฐานการบริหารจัดการของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาปรัง พบว่า ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเข้มแข็งของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต เนื่องจากคณะกรรมการและสมาชิกให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ ระบบการดำเนินการมีหลักฐานชัดเจน ตรวจสอบได้
4) กระบวนการจัดการและการทำงานให้ประสบผลสำเร็จเกิดความเข้มแข็งของกลุ่มด้วยการสร้างกระบวนการเรียนรู้และสร้างจิตสำนึกให้แก่สมาชิก ด้วยการประชุมอย่างสม่ำเสมอ
References
โกวิทย์ พวงงาม. (2545). การพัฒนาองค์กรภาคประชาชน.วารสารพัฒนาชุมชน 5 (พฤษภาคม) : 12.
สุนัชชนันท์ วิรัชย์ธนโชติ. (2558). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของกองทุนหมู่บ้านหนองยาง ต.หนองบอนแดง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, กลุ่มวิชาการบริหารทั่วไป วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.