การอนุรักษ์ป่าต้นน้ำคลองคะยางโดยชุมชนบ้านหนองกองเหนือ ตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
คำสำคัญ:
การอนุรักษ์ป่าต้นน้ำคลองคะยาง, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสนามเพรียงบทคัดย่อ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “การอนุรักษ์ป่าต้นน้ำคลองคะยางโดยชุมชนบ้านหนองกองเหนือ ตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร มีวัตถุประสงค์คือ 1) ศึกษาวิธีการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำคลองคะยาง 2) เพื่อศึกษาผลของการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำคลองคะยาง ประชากรกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,933 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 39 คน ประกอบด้วยผู้บริหาร สมาชิกสภาท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ชุดรักษาความสงบเรียบร้อยหมู่บ้าน ผู้ประกอบพิธีกรรมทางความเชื่อของชุมชน และเกษตรกรบ้านหนองกองเหนือ ซึ่งเป็นรูปแบบการวิจัยเชิงปฎิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) ผลการวิจัยพบว่า
1) ชาวบ้านในชุมชนบ้านหนองกองเหนือมีวิถีชีวิตผูกพันกับธรรมชาติแบบพึ่งพาอาศัยกันทั้งด้านการประกอบอาชีพและความเป็นอยู่ โดยชาวบ้านในชุมชนมีความเข้าใจในการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำคลองคะยาง ประชาชนให้ความสนใจและตระหนักเห็นถึงความสำคัญของป่าต้นน้ำเป็นอย่างยิ่ง
2) การสร้างฝายชะลอน้ำที่มีความจำเป็นและเหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของชาวบ้านในชุมชน มีการทำประชาพิจัย ได้ประชามติ จากการเห็นความสำคัญ เชิญผู้รู้ ผู้ชำนาญร่วมวางแผนดำเนินงานที่เหมาะสม มีวัสดุ มีงบประมาณที่เพียงพอที่เกิดขึ้นได้จากการบริจาค และมีความพร้อมในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่เอื้อต่อการปฏิบัติงาน และได้เรียนรู้ร่วมกันและเริ่มปรับตัวเพื่อความเหมาะสม
3) ชาวบ้านตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ จนเกิดจิตสำนึกในการหวงแหนรักษาทรัพยากรในชุมชน มีความรู้สึกภาคภูมิใจเกิดความรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งและเป็นเจ้าของร่วมกัน และเกิดความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันขึ้นในชุมชน
References
เพชรอำไพ มงคลจิรเดช และคณะ. (2557). กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน ในแผนฟื้นฟูอนุรักษ์ป่าต้นน้ำลำธารและป่าชุมชนเขื่อนศรีนครินทร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, Veridian E-Journal,Silpakorn University ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-เมษายน 2557.