กลยุทธ์การจัดการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำและความยากจน

ผู้แต่ง

  • สามารถ จันทร์สูรย์
  • ศุภกร คุรุการเกษตร
  • อภิชาติ มหาราชเสนา

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การจัดการศึกษา, ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา, ความยากจน, การศึกษาย้อนหลัง

บทคัดย่อ

การศึกษา เรื่อง กลยุทธ์การจัดการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาความ เหลื่อมล้ำและความยากจนในครั้งนี้
มีวัตถุประสงค์ดังนี้คือ 1) เพื่อศึกษาปัญหาความเหลื่อมล้ำและความยากจนในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและความยากจน และผลกระทบอันเนื่องมาจากความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและความยากจนในประเทศไทย 3) เพื่อศึกษาวิธีการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และความยากจนของประเทศไทยในอดีต และ 4) เพื่อเสนอกลยุทธ์แนวทางเลือกในการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและความยากจนในประเทศไทย โดยใช้รูปแบบการศึกษาย้อนหลัง (retrospective study) แนวทางการแก้ปัญหาในอดีต วิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นจากการแก้ปัญหา และสังเคราะห์ทางเลือกการจัดการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมและความยากจนในอนาคต การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงเอกสาร (documentary research) ด้วยกระบวนการศึกษา ทบทวนแนวความคิด ทฤษฎี และวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องจากเอกสาร หนังสือ ผลงานวิจัย ตลอดจนนโยบายของรัฐบาล โดยการวิเคราะห์เชิงบริบท และสรุปผลเชิงพรรณนา

ผลการศึกษาพบว่า 1) การจัดการศึกษายังคงเน้นเนื้อหาจากหลักสูตร วิชาและบทบาทการสอนของครู/อาจารย์เป็นศูนย์กลางสำคัญ ไม่ได้เน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง 2) รูปแบบของการจัดการศึกษาไม่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของท้องถิ่นและอาชีพของคนส่วนใหญ่ในประเทศ 3) จังหวัดที่มีความยากจนที่สุด 10 จังหวัด ถูกละเลยขาดความเอาใจใส่จากภาครัฐในการพัฒนาอย่างจริงจัง 4) ประเทศไทยมีตัวเลขความเหลื่อมล้ำสูงเป็นอันดับ 3 ของโลก 5) ไม่พบแนวทางว่าประเทศจะสามารถก้าวผ่านความยากจนไปได้อย่างไร 6) ความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาสร้างความเสียหายแก่ระบบเศรษฐกิจไทยอย่างมาก 7) รัฐบาลหลายชุดได้พยายามแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาแต่ยังไม่ประสบความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมแต่อย่างใด

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2553). เครื่องมือ. ค้นหาแบบมีเงื่อนไข. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2553
ภาวรรณ ธนาเลิศสมบูรณ์. (2563). ไขรหัสความเหลื่อมล้ำการศึกษาไทยเหตุใดความช่วยเหลือไปไม่ถึงเด็กยากจน. สืบค้น 15 กุมภาพันธ์ 2563,จาก http://www.the 101.world/thai-report- education/
ชัยยุทธ ปัญญสวัสดิ์สุทธิ์ และคณะ.(2559). โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อหลักประกันโอกาสทางการเรียนรู้, ศูนย์บริการวิชาการเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปัทมา อมรสิริสมบูรณ์ และอุมาภรณ์ ภัทรวาณิชย. (2550). ความไม่เท่าเทียมด้านการศึกษา : เมือง และชนบท. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. (2554). รายงานศูนย์พักพิงผู้ประสบภัยน้ำท่วม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
วิทยากร เชียงกูล.(2552). รายงานสภาวะการศึกษาไทยปี 51 / 52 ปัญหาความเสมอภาคและคุณภาพของการศึกษาไทย. วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). รายงานเฉพาะเรื่องที่ 2 ความไม่เสมอภาคทางการศึกษา, สืบค้น 15 กุมภาพันธ์ 2563,จาก http://www.thaiedreform.org/wp-content/uploads/2020/01/CommissionReport04.pdf
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2562). คำแถลงนโยบายของ คณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงต่อรัฐสภา วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม 2562. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-15