เครือข่าย : พลังแห่งมวลมนุษยชาติ

ผู้แต่ง

  • ทวิช บุญธิรัศมี
  • อัญมณี ชูมณี
  • อภิชาติ มหาราชเสนา

คำสำคัญ:

เครือข่าย, พลังมวลมนุษยชาติ

บทคัดย่อ

การเกิดกลุ่มหรือองค์กรใด ๆ ขึ้นมา โดยการติดต่อเกี่ยวข้องกัน กระทำการอ

การเกิดกลุ่มหรือองค์กรใด ๆ ขึ้นมา โดยการติดต่อเกี่ยวข้องกัน กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง และมีจุดมุ่งหมายอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน เป็นจุดเริ่มต้นของการก่อเกิดเครือข่าย เป็นการจัดระบบให้สมาชิกสามารถดำเนินกิจกรรมร่วมกันโดยใช้การทำงานกลุ่มที่อยู่บนพื้นฐานของความไว้วางใจ ความเข้าใจ การสนับสนุนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เป็นการนำพลังหรือศักยภาพของสมาชิกมาแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ทักษะ ความรู้ ประสบการณ์ ด้วยความสมัครใจในการจัดทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายและวิธีการทำงานร่วมกันให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการทำงานร่วมกัน

          การพัฒนาเครือข่าย ต้องอาศัยการติดต่อสื่อสารเป็นเครื่องมือสำคัญของการสร้างเครือข่าย เป็นการทำให้เกิดความเข้าใจและแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้ ตลอดจนความต้องการของสมาชิก ในปัจจุบันมีการติดต่อได้สะดวก รวดเร็วมากยิ่งขึ้นโดยอาศัยเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร เข้ามาช่วยในการพัฒนาทางด้านสังคม กลายเป็นสังคมเครือข่ายที่เชื่อมโยงข้อมูลเข้าด้วยกัน ทำให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ช่วยเหลือพึ่งพา พึ่งพิงอิงกัน สร้างความสัมพันธ์ สร้างพลังและอำนาจต่อรองเครือข่าย ซึ่งการเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มและองค์กรเครือข่ายมีความจำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมให้มีความเข้มแข็งอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มและเครือข่ายมีความเป็นพลวัต ไม่หยุดนิ่ง ดังนั้นกลุ่มและองค์กรเครือข่ายจึงต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมในด้านต่าง ๆอยู่เสมอ

ย่างใดอย่างหนึ่ง และมีจุดมุ่งหมายอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน เป็นจุดเริ่มต้นของการก่อเกิดเครือข่าย เป็นการจัดระบบให้สมาชิกสามารถดำเนินกิจกรรมร่วมกันโดยใช้การทำงานกลุ่มที่อยู่บนพื้นฐานของความไว้วางใจ ความเข้าใจ การสนับสนุนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เป็นการนำพลังหรือศักยภาพของสมาชิกมาแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ทักษะ ความรู้ ประสบการณ์ ด้วยความสมัครใจในการจัดทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายและวิธีการทำงานร่วมกันให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการทำงานร่วมกัน

          การพัฒนาเครือข่าย ต้องอาศัยการติดต่อสื่อสารเป็นเครื่องมือสำคัญของการสร้างเครือข่าย เป็นการทำให้เกิดความเข้าใจและแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้ ตลอดจนความต้องการของสมาชิก ในปัจจุบันมีการติดต่อได้สะดวก รวดเร็วมากยิ่งขึ้นโดยอาศัยเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร เข้ามาช่วยในการพัฒนาทางด้านสังคม กลายเป็นสังคมเครือข่ายที่เชื่อมโยงข้อมูลเข้าด้วยกัน ทำให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ช่วยเหลือพึ่งพา พึ่งพิงอิงกัน สร้างความสัมพันธ์ สร้างพลังและอำนาจต่อรองเครือข่าย ซึ่งการเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มและองค์กรเครือข่ายมีความจำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมให้มีความเข้มแข็งอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มและเครือข่ายมีความเป็นพลวัต ไม่หยุดนิ่ง ดังนั้นกลุ่มและองค์กรเครือข่ายจึงต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมในด้านต่าง ๆอยู่เสมอ

References

กิตติ สมศิริวงศ์. (2532). กลุ่มและการทำงานกลุ่ม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2543). การจัดการเครือข่าย: กลยุทธ์สำคัญสู่ความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ซัคเซสมีเดีย.
พจนานุกรมสังคมวิทยาฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2535). กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์.
พระดาวเหนือ บุตรสีทา. (2557). การสร้างเครือข่ายและการจัดการเครือข่ายในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
วิศิษฐ์ศักดิ์ ไทยทอง. (2528). ผู้นำและสภาวะการเป็นผู้นำใน จิตวิทยาสังคมร่วมสมัย. พิสมัย.
พิบูลย์ สวัสดิ์. (บรรณาธิการ). โครงการตำรามนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : เชียงใหม่.
สรัญญา จุฑานิล. (2556). การบริหารเครือข่ายของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสน
ศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
เสรี พงศ์พิศ. (2548). เครือข่าย: ยุทธวิธีเพื่อประชาคมเข้มข้น ชุมชนเข้มแข็ง. กรุงเทพมหานคร:
เจริญวิทย์การพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-22