อิทธิพลของสื่อที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง ของประชาชนในเทศบาลตำบลกุดจิก อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
อิทธิพลของสื่อ, การมีส่วนร่วมทางการเมืองบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาความคิดเห็น เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นและเพื่อศึกษาปัญหา ข้อเสนอแนะของประชาชนต่ออิทธิพลของสื่อที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเทศบาลตำบลกุดจิก อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 338 คน เก็บข้อมูลโดยการแจกแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
- ระดับอิทธิพลของสื่อที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเทศบาลตำบลกุดจิก อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ด้านการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง และด้านการร่วมชุมนุมทางการเมืองอยู่ในระดับปานกลาง
- ผลการเปรียบเทียบพบว่า ประชาชนที่มีระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้มีความคิดเห็นโดยรวมแตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนประชาชนที่มีเพศ และอายุต่างกัน มีความคิดเห็นต่ออิทธิพลของสื่อที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย
- ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ พบว่า รัฐควรมีการจัดเวทีปราศรัยให้ผู้ลงสมัครได้แสดงวิสัยทัศน์และนโยบาย มีจุดบริการสำหรับการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับวิธีการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง และให้เยาวชนได้มีโอกาสในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอย่างมีสิทธิและเสรีภาพ
References
สำนักงานเทศบาลตำบลกุดจิก. (2562). งานทะเบียนราษฎร์. เดือนกันยายน พ.ศ. 2562.
คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2554). สถิติเบื้องต้นและการวิจัย: Basic Statistics and Research. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุจิตรา บุณยรัตพันธุ์. (2546). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับประศาสนศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์เสมาธรรม.
วรพงษ์ อารีเอื้อ (2550). การมีส่วนร่วมของประชาคมในการจัดทำแผนพัฒนา องค์การบริหารส่วนตำบล: ศึกษาเฉพาะกรณีองค์การบริหารส่วนตำบลบึงนคร อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด (สารนิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
บุศรา โพธิสุข (2559). การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชน: ศึกษาเฉพาะกรณีตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. พิฆเนศวร์สาร. 12(1): 91-92
วัฒนา นนทชิต (2559). การสื่อสารทางการเมืองกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองท้องถิ่น: ศึกษาเฉพาะกรณีเทศบาลเมืองท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. 6(3): 163
ชไมพร เหล่าพงศ์เจริญ (2551). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของข้าราชการครู: ศึกษากรณีโรงเรียน กันทรลักษณ์วิทยา จังหวัดศรีสะเกษ. (ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.