แนวทางในการเสริมสร้างการทำงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตรที่มีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ:
กระบวนการทำงาน, การประกันคุณภาพการศึกษา, พนักงานสายสนับสนุนบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง แนวทางในการเสริมสร้างการทำงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรที่มีประสิทธิภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหากระบวนการทำงานของงานประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรที่มีประสิทธิภาพ และเพื่อเสนอแนวทางในการทำงานร่วมกันด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของพนักงานสายสนับสนุนและสายวิชาการ โดยมีระเบียบวิธีการวิจัยคือ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม จากกลุ่มประชากรทั้งหมด 9 หลักสูตรของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการจัดกลุ่มข้อมูลและการตีความเชิงเหตุและผล ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจากกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร พบว่าแต่ละหลักสูตรมีปัญหาในการจัดเก็บข้อมูลเอกสารหลักฐานในการเขียนรายงานผลการดำเนินงาน เนื่องจากไม่มีบุคลากรสายสนับสนุนมารับผิดชอบงานประกันของหลักสูตรโดยตรง ขาดระบบการสืบค้นเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการเขียนรายงานในแต่ละตัวบ่งชี้ และวิธีการเขียนรายผลการดำเนินงานโดยแยกกันเขียนแต่ละองค์ประกอบทำให้การรายงานผลการดำเนินงานขาดความต่อเนื่องในกระบวนการการทำงาน แนวทางในการเสริมกระบวนการทำงานประกันคุณภาพการศึกษา คือ การจัดให้มีปฏิทินกิจกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร การสร้างรูปแบบการเขียนรายงานผลการดำเนินงานระดับหลักสูตร และการสร้างระบบ Cross Check จากผู้เชี่ยวชาญงานประกันคุณภาพการศึกษา
References
คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต. (2559). หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. เข้าถึงได้จาก http://www2.rbru.ac.th/news/attach/2020-04-15-17898.pdf
คณะกรรมการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต. (2559). หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. เข้าถึงได้จาก http://www2.rbru.ac.th/
news/attach/2020-04-15-25059.pdf
คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร. (2559). หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
เข้าถึงได้จาก http://www2.rbru.ac.th/news/attach/2020-04-15-24696.pdf
คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร. (2559). หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
เข้าถึงได้จาก http://www2.rbru.ac.th/news/attach/2020-04-15-96668.pdf
คณะกรรมการบริหารหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน. (2559). หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. เข้าถึงได้จาก http://www2.rbru.ac.th/news/attach/2020-04-15-82974.pdf
คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร. (2559). หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. เข้าถึงได้จาก http://www2.rbru.ac.th/news/attach/2020-04-15-76590.pdf
คณะกรรมการบริหารหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ. (2559). หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. เข้าถึงได้จาก http://www2.rbru.ac.th/
news/attach/2020-04-15-55953.pdf
คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร. (2559). หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. เข้าถึงได้จาก http://www2.rbru.ac.th/news/attach/2020-04-17-41400.pdf
คณะกรรมการประจำหลักสูตร. (2559). หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2559. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. เข้าถึงได้จาก http://www2.rbru.ac.th/news/attach/2020-08-05-45910.pdf
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ. (2558). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557.พิมพ์ครั้งที่ 1. ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์: นนทบุรี.