การศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก

ผู้แต่ง

  • จารุณี จันทร์เปล่ง
  • สุรภา เดียขุนทด

คำสำคัญ:

ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม, การป้องกันควบคุมโรคโควิด 19, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก 2.เพื่อเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา อาชีพหลัก สถานภาพครอบครัว ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 3.เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมในการป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 กับอายุประสบการณ์การเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน  รายได้ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย ประชากรในการศึกษา คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก จำนวน 1,116 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 290 วิธีการสุ่มแบบ Accidental sampling เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ผลการวิจัย พบว่า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีความรู้ในการป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 อยู่ในระดับดี มีทัศนคติในการป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 โดยรวมอยู่ในระดับมาก และพฤติกรรมในการป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 โดยรวมอยู่ใน ระดับมากที่สุด ผลการวิเคราะห์การเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 รายด้านและโดยรวม พบว่า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ที่มีเพศต่างกัน มี ทัศนคติต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนระดับการศึกษาที่ต่างกัน มีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันควบคุมโรคโควิด19 โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความรู้และด้านทัศนคติ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ในด้านสถานภาพต่างกัน มีการป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 ด้านทัศนคติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ในส่วนด้านอาชีพที่ต่างกัน มีความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรม รายด้านและโดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรม ในการป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 กับอายุ ประสบการณ์การเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รายได้ พบว่าอายุมีความสัมพันธ์แบบผกผันกับรายได้ และด้านความรู้ มีความสัมพันธ์กับประสบการณ์การเป็นอสม. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 รายได้มีความสัมพันธ์กับด้านทัศนคติ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.05 ประสบการณ์การเป็นอสม.มีความสัมพันธ์แบบผกผันกับด้านความรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กรมควบคุมโรค.(2564). แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19. แหล่งที่มา: https://ddc.moph.go.th/

uploads/files/1729520210301021023.pdf สืบค้นเมื่อ 1 พ.ย.2564.

กรมควบคุมโรค. ( 3 มกราคม2564). แนวทางปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือโควิด19สำหรับประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง. แหล่งที่มา: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/int_protection/int_protection_030164.pdf สืบค้นเมื่อ 1 พ.ย.2564.

จุฑาวรรณ ใจแสน. (2559). พฤติกรรมการป้องกันโรค COVID-19 ของพนักงานสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ณัฎฐวรรณ คำแสน. (2564). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. 21(4), 43-45.

ธวัชชัย ยืนยาวและเพ็ญนภา บุญเสริม. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

(อสม.) หญิงในจังหวัดสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 35(3). 555-564

ศุภัคชญา ภวังค์คะรัต.(2563). การศึกษาความสามารถของผู้นำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.

พ.ศ. 2562. วารสารวิชาการสังคมมนุษย์. 10(2). 1-19

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครนายก. (2564). “ข่าวประชาสัมพันธ์ จังหวัดนครนายก” แหล่งที่มา: http://nayok.moph.go.th/web/ สืนค้นเมื่อ 9 กันยายน พ.ศ. 2564.

Huang, Y., & Zhao, N. (2020). Generalized anxiety disorder, depressive symptoms and sleep

quality during COVID-19 outbreak in China: A web-based cross-sectional survey.

Psychiatry Research, 288, 112954. doi: 10.1016/j.psychres.2020.112954.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-29