ระบบสาธารณสุขไทย : ความท้าทายในสถานการณ์วิกฤติ
คำสำคัญ:
ระบบสาธารณสุขไทย, ความท้าทาย, สถานการณ์วิกฤติ โควิท-19บทคัดย่อ
การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา COVID-19 ได้สร้างความเสียหายให้แก่นานาประเทศทั่วโลกอย่างมหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อชีวิตของประชาชนที่ต้องเจ็บป่วยและเสียชีวิตเป็นจำนวนมากและเช่นเดียวกับประเทศไทยนับวันสถานการณ์ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น ระบบสาธารณสุขไทยกำลังอยู่ในขั้นวิกฤติ ผู้ป่วยจำนวนมากไม่สามารถเข้าถึงการรักษาได้ เวชภัณฑ์การรักษาเริ่มหายาก วัคซีนที่มีไม่เพียงพอต่อประชาชน สถานการณ์ดังกล่าวจำเป็นต้องรีบแก้ไขอย่างเร่งด่วน แม้ว่ารัฐบาลจะมีมาตรการต่างๆ ออกมาบังคับใช้เพื่อยับยั้งการระบาดไม่ให้รุนแรง แต่มาตรการดังกล่าวยังไม่เพียงพอที่จะหยุดจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นได้ สิ่งที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรรีบทำอย่างยิ่งในตอนนี้ คือ การเร่งหาวัคซีนมาฉีดให้แก่ประชาชนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้เกิดขึ้น การจัดหาเวชภัณฑ์ ยารักษาโรคให้เพียงพอ และที่สำคัญที่สุด คือ ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหา ซึ่งการจัดการและการแก้ปัญหาในสถานการณ์วิกฤติจะต้องทำอย่างรอบคอบและรวดเร็ว การแก้ปัญหาได้เร็วจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนและนานาประเทศ ซึ่งนับเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างยิ่งของระบบสาธารณสุขของประเทศไทยที่จะนำบทเรียนของการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา COVID-19 ในครั้งนี้ไปปรับปรุง พัฒนา ให้ระบบสาธารณสุขของไทยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
References
กรมควบคุมโรค.(2564). แนวทางปฏิบัติเพื่อการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง.แหล่งที่มา https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia /file/int_protection/int_protection_030164.pdf สืบค้นเมื่อ 16 ก.ค. 2564.
กรมควบคุมโรค.(2564). สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศ. กรมควบคุมโรค.แหล่งที่มา https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2564
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ .(2563). คู่มือมาตรฐานระบบบริการสุขภาพ ปี 2563 (ฉบับส่งเสริมและพัฒนาสถานพยาบาล).กระทรวงสาธารณสุข.
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม.(2552).เพื่อสุขภาพของมวลมนุษย์หยุดความรุนแรง.กรุงเทพมหานคร : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง จำกัด (มหาชน) .
จงกลณี ตุ้ยเจริญและคณะ.(2563). การรับมือกับไวรัสโคโรนา COVID-19 ในงานสาธารณสุขมูลฐาน.วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 (กันยายน - ธันวาคม 2563) .
ไทยรัฐออนไลน์.(8 มิ.ย.2563). ระบบสุขภาพไทยที่ 1 ในเอเชีย อันดับ 6 โลก ยกย่องพร้อมรับมือโรคระบาด.ไทยรัฐ.แหล่งที่มา: https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/ 1863363สืบค้นเมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2564 .
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 ,ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 134 ตอนที่ 40 ก หน้า 12 . (6 เม.ย. 2560).
โรงพยาบาลรามาธิบดี.(2564). ประกาศโรงพยาบาลรามาธิบดี.แหล่งที่มา https://www.rama.mahidol.ac.th/rama_hospital/th/services/news/announcement/07162021-2303-th.สืบค้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2564.
เดลินิวส์.(12 ก.ค.2564). หวั่นคลัสเตอร์ใหม่ เปิดภาพทะลักคนรอฉีดวัคซีน.เดลินิวส์.แหล่งที่มา https://www.dailynews.co.th/news/45812/ สืบค้นเมื่อวันที่ 13 ก.ค 2564 .
ดวงพร เพชรคง . (2557). พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพ พ.ศ.2545 สิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. แหล่งที่มา https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/download/article/article_20181012152816.pdf. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2564.
พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพ พ.ศ.2545 ,ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 119 ตอนที่ 116 ก หน้า 1 . (18 พ.ย. 2564).
พลเดช ปิ่นประทีป .(ม.ป.ป.).ความเหลื่อมล้ำด้านสาธารณสุข,ศูนย์ข้อมูลข่าวสารสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ.แหล่งที่มา https://infocenter.nationalhealth.or.th/node/27630 สืบค้นเมื่อวันที่ 11 ก.ค 2564
Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ .(14 ต.ค.2564). WHO ชมไทยรับมือโควิด. Hfocus. แหล่งที่มา :https://www.hfocus.org/content/2020/10/20305?fbclid=IwAR0yGYaTKloNjuLfT0TCqzanS90UAyNnrb_afYvtuz1M_qthR7O209tHIt8 สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ก.ค. 2564.
Mango Zero Team. (12 มี.ค.2561). 4 เหตุผลที่ไทยขึ้นอันดับ 1 ประเทศที่มีนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์มากที่สุดในเอเชียตอนนี้. Mango Zero Team แหล่งที่มา https://www.mangozero.com/4-reason-thai-top-medical-hub-eec/. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 ก.ค. 2564.