นวัตกรรมการศึกษาเชิงพุทธ
คำสำคัญ:
นวัตกรรม, การศึกษา, เชิงพุทธ.บทคัดย่อ
นวัตกรรมการศึกษาเชิงพุทธ มีความสำคัญย่างยิ่งสำหรับระบบการศึกษาไทย ซึ่งการนำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้ในการศึกษาเพื่อให้เกิดผลดีต่อผู้เรียน เช่น การนำหลักพุทธธรรม คือ หลักไตรสิกขา 3 ประการ คือ 1. อธิศีลสิกขา 2. อธิจิตสิกขา 3. อธิปัญญาสิกขา โดยนำพัฒนาผู้เรียนด้วย การพัฒนาด้านศีล การพัฒนาด้านพฤติกรรม หรือศีล จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตทั้งของคนหมู่มากในสังคมจะได้เกื้อกูลกัน การพัฒนาด้านจิตใจ การมีจิตที่สมบูรณ์ด้วยคุณธรรม ความดีงามสมบูรณ์ด้วยสมรรถภาพ มีความเข้มแข็งมั่นคง และสมบูรณ์ด้วยสุขภาพ มีความเบิกบานผ่องใส สงบสุข และการพัฒนาด้านปัญญา การพัฒนาตนให้มีความฉลาด มีสติปัญญา ในเบื้องต้นจะต้องรู้จักหาผู้แนะนำสั่งสอน ที่ปรึกษา เพื่อน หนังสือ ตลอดจนสิ่งแวดล้อมทางสังคมโดยทั่วไปที่ดีที่เกื้อกูล ซึ่งการที่จะมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพนั้น ต้องอาศัยระบบการศึกษาเป็นพื้นฐาน เนื่องด้วยการศึกษานั้นเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับมนุษยชาติ และมวลมนุษย์ก็อาศัยการศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาความรู้ความสามารถและทักษะควบคู่ไปกับคุณธรรมจริยธรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพของตนให้สามารถดำรงชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข
References
ธนภัทร จันทร์เจริญ, การจัดการเรียนรู้สู่การศึกษาไทย 4.0 LEARNING MANAGEMENT FOR THAI EDUCATIONS 4.0, วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปีที่ 13 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2562 : 217.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), พุทธธรรม(ฉบับเดิม), พิมพ์ครั้งที่ 11 , (กรุงเทพมหานคร: ดวงแก้ว, 2544), หน้า 371.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต), ธรรมนูญชีวิตพุทธจริยธรรมเพื่อชีวิตที่ดีงาม, พิมพ์ครั้งที่ 3, (กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2547), หน้า 55.
พระธรรมปิฏก (ป.อ. ปยุตโต), ความสําคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะศาสนาประจําชาติ, พิมพ์ครั้งที่ 9,(กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม, 2540), หน้า 80.
พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ. ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์, พิมพ์ครั้งที่ 17, (กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2554), หน้า 172.
วราพร ดำจับ, สื่อสังคมออนไลน์กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 Social Media for Teaching and Learning in the 21st Century, วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจำเดือน กรกฎาคม-ธันวาคม 2562 : 143.
วิลาสินี วัฒนมงคล, วิกฤตการศึกษาไทยในยุค 4.0, วารสาร “ศึกษาศาสตร์ มมร” คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2561 : 429.
Niratchaphorn Duangmoon, เจาะลึก “การศึกษาของประเทศสิงคโปร์” อะไรทำให้ที่นี่มีระบบการศึกษาดีอันดับต้นๆ ของโลก, [ออนไลน์], แหล่งที่มา : https://www.scholarship.in.th/singapore-education/, สืบค้นเมื่อ 6/1/2563.
P' แพว AdmissionPremium, ข้อดีที่คุณต้องอยากรู้ เมื่อจะไปเรียนต่อที่อเมริกา, [ออนไลน์], แหล่งที่มา : https://www.admissionpremium.com/studyabroad/news/2866 ,สืบค้นเมื่อ 7/1/2563.
Praornpit Katchwattana, ทำไม การศึกษาฟินแลนด์ ทำน้อยแต่ได้มาก ? คำตอบพร้อมใช้ ปฏิรูปการศึกษาไทยให้เดินถูกทาง, [ออนไลน์], แหล่งที่มา : https://www.salika.co/2018/10/03
/finland-education-model-adapt-thai/, สืบค้นเมื่อ 5/1/2563.
Wealth Me Up, “อังกฤษ” ต้นแบบการศึกษาโลก, [ออนไลน์], แหล่งที่มา : https://wealthmeup.com
/20-06-05-england/, สืบค้นเมื่อ 7/1/2563.
yuwadee, 10 เหตุผลที่ทำให้ระบบการศึกษาญี่ปุ่น ถูกยกย่องมากที่สุดในเอเชีย, [ออนไลน์], แหล่งที่มา : https://teen.mthai.com/education/115771.html, สืบค้นเมื่อ 7/1/2563.