การรับรู้และทัศนคติของชาวกูยต่อคำว่า กูย กวย หรือส่วย : กรณีศึกษา ชาวกูย ในจังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • ธนพล วิยาสิงห์

คำสำคัญ:

การรับรู้, ทัศนคติ, ชาวกูย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ของชาวกูยกับคำที่กลุ่มชาติพันธุ์อื่นเรียกว่ากูย กวย หรือส่วย 2) เพื่อศึกษาทัศนคติของชาวกูยกับการนิยามตนเองของกลุ่มชาติพันธุ์กูย กวย หรือส่วย และ3) เพื่อหาข้อสรุปในการเรียกตนเองของกลุ่มชาติพันธุ์กูย กวย หรือส่วย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method) ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม(Questionnaire) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ที่สร้างขึ้นจากแนวคิดทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาใช้เป็นแนวทางในการตั้งคำถาม และได้ทดสอบค่าความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม และนำข้อมูล มาวิเคราะห์ด้วยค่าสถิติเชิงพรรณนา การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า

  1. ระดับการรับรู้ของชาวกูยกับคำที่กลุ่มชาติพันธุ์อื่นเรียกว่ากูย กวย หรือส่วย พบว่า ประชาชนบ้านกู่มีระดับการรับรู้เกี่ยวกับคำที่กลุ่มชาติพันธุ์อื่นเรียกว่ากูย กวย หรือส่วยในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
    (  = 4.20, S.D. = .594)
  2. ทัศนคติของชาวกูยกับการนิยามตนเองของกลุ่มชาติพันธุ์กูย กวย หรือส่วย พบว่า ชวกูยมีทัศนคติที่ดีต่อการนิยามตนเองของกลุ่มชาติพันธุ์กูย กวย หรือส่วยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.97, S.D. = .812)
  3. ข้อสรุปในการเรียกตนเองของกลุ่มชาติพันธุ์กูย กวย หรือส่วย แบ่งออกเป็น 2 ข้อสรุป คือ 1) สามารถเรียก กูย กวย โกย หรือส่วยได้ เพราะเข้าใจว่ามีความหมายเดียวกัน 2) ไม่ต้องการให้เรียกส่วย แต่สามารถเรียก กูย กวย หรือ โกย ได้เพราะมีความหมายถึงกลุ่มคน มนุษย์และประการสำคัญคือ ความมีวัฒนธรรม จารีต ประเพณี เป็นเครื่องหมายที่บ่งบอกถึงรากเหง้าบรรพบุรุษของชาวกูย โดยคำว่าส่วยเป็นคำที่มีความหมายไม่ดีเป็นการเรียกเชิงดูแคลนต่อความรู้สึก จึงต้องการให้เรียกกูย กวย หรือโกย มากกว่าคำว่าส่วย

References

กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2558). แผนแม่บทการพัฒนากลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย (พ.ศ.2558-2560). (ออนไลน์). เข้าถึงข้อมูลจาก www.chatipan.dsdw.go.th/pdf

/F001.pdf สืบค้น 10 กรกฎาคม 2560.

เจริญ ไวรวัจนกุล และคณะ. (2533). วัฒนธรรมลุ่มน้ำมูล : กรณี เขมร ลาว ส่วย จังหวัดสุรินทร์. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก cmr.crru.ac.th/วารสารลุ่มน้ำโขง/2.%20ภาษาและวัฒนธรรม.pdf สืบค้น 12 ธันวาคม 2559.

ประเสริฐ ศรีวิเศษ. (2521). โครงการวิจัยภาษาไทยและภาษาพื้นเมืองถิ่นต่าง ๆ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ มีกุศล. (2547). “กวย : ชาติพันธุ์,” ใน สารานุกรมไทย ภาคอีสาน. เล่ม 1 . กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพานิช.

วิลาศ โพธิสาร. (2546). การปรับตัวของชาวกูยในบริบทพหุวัฒนธรรมในเขตอีสานใต้. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.sac.or.th สืบค้น 12 ธันวาคม 2559

สุทราภรณ์ ตาลกุล และคณะ. (2559). การสื่อสารเพื่อสืบทอดภาษาถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดสกลนคร. (ออนไลน์). เข้าถึงข้อมูลได้จาก https://www.tci-thaijo.org สืบค้น 12 ธันวาคม 2559

อภิศักดิ์ โสมอินทร์. (2526). โลกทัศน์อีสาน. ม.ป.ท.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-21