วิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคใต้กับสวัสดิการของรัฐด้านความมั่นคงของมนุษย์

ผู้แต่ง

  • วิสุทธิณี ธานีรัตน์

คำสำคัญ:

วิถีชีวิต, กลุ่มชาติพันธุ์, สวัสดิการของรัฐ, ความมั่นคงของมนุษย์

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้กลุ่มชาติพันธุ์เป็นกลุ่มบุคคลที่ถือได้ว่ามีเอกลักษณ์ และความโดดเด่นเฉพาะกลุ่ม ทั้งในด้านของความคิด ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ ตลอดจนรูปแบบของพฤติกรรม ในกรณีของประเทศไทยถือได้ว่าเป็นดินแดนที่มีกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลายได้มารวมตัวกัน และสร้างอารยธรรมบนผืนแผ่นดินนี้มาอย่างยาวนาน ในส่วนของภาคใต้เองก็เช่นเดียวกัน เนื่องด้วยลักษณะทางด้านภูมิศาสตร์เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีเทือกเขา และยังมีพื้นที่ที่ติดกับทะเลทั้งฝั่งอันดามัน และฝั่งอ่าวไทย จึงมีกลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่มต่างอพยพเข้ามาตั้งรกราก และตั้งถิ่นฐานอาศัยกันมาหลายชั่วอายุคน ดังนั้นการได้รับสวัสดิการของรัฐโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับด้านความมั่นคงของมนุษย์ จึงถือเป็นสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้ควรได้รับ สวัสดิการของรัฐด้านความมั่นคงของมนุษย์เกี่ยวกับสิทธิขั้นพื้นฐานที่กลุ่มชาติพันธุ์ดังนี้

1) กลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในภาคใต้ทั้ง 3 กลุ่มนั้นมีวิถีการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ในปัจจุบันชาวอูรักลาโว้ยและชาวมอแกนมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทั้งด้านการบริโภค ด้านการแต่งกาย ด้านการใช้ภาษาในการสื่อสาร และด้านการดำเนินชีวิต แต่ชาวมันนิ (ซาไก) ยังคงมีวิถีการดำเนินชีวิตรูปแบบเดิม รวมทั้งด้านการใช้ภาษาในการสื่อสาร มีเพียงด้านการบริโภค และด้านการแต่งกายที่มีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบัน

2) ส่วนสวัสดิการของรัฐด้านความมั่นคงของมนุษย์ทั้งในด้านสาธารณสุข ด้านสวัสดิการของรัฐอื่นๆ ที่กลุ่มชาติพันธุ์ได้รับ พบว่า กลุ่มชาติพันธุ์ต่างได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานที่เท่าเทียมกับคนไทยทุกคน มีเพียงด้านการศึกษาเท่านั้นที่ชาวมันนิ (ซาไก) ยังไม่ได้รับการสนับสนุนทางการศึกษาเท่าที่ควรและยังขาดโอกาสทางการศึกษา ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ได้รับการสนับสนุนทางการศึกษามากขึ้น มีการก่อตั้งโรงเรียนในเขตชุมชนเพื่อเป็นโรงเรียนให้แก่เด็กและเยาวชนของกลุ่มชาติพันธุ์ขึ้นโดยเฉพาะ

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2563). กรอบแนวคิดความมั่นคงของมนุษย์. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2563, จาก https://www.m-society.go.th.
กิติพัฒน์ นนทปัทมะดุลย์. (2544). นโยบายสังคมและสวัสดิการสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ. (2561). ความมั่นคงของมนุษย์. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2563, จาก http://www.mfa.go.th/thai_inter_org/th.
________. (2563). ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2563, จาก http://humanrights.mfa.go.th/upload/pdf/udhr-th-en.pdf
กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2560). Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2563. จาก https://www.nstda.or.th.
โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (2562). สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2563. จาก http://saranukromthai.or.th.
ชุลีพร ขุนเศษฐ์, ธนภรณ์ ถิระผะลิกะ, พิมพ์วิไล เดชอรัญ, เพลินจิตร มณีรัตน์, ภัทรนันท์ ปิ่นสุวรรณ, และวิสุทธิณี ธานีรัตน์. (2563). วิถีชีวิตและการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชาวมอแกน เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา (รายงานการวิจัย). ตรัง : คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง.
ชนม์ณภัทร เพชรรังษี, นุศรา เพ็งบุญ, วศินต์ แก้วธวัชวิเศษ, สลิลา แก้วบุตร, สิริภรณ์ ฉายห้อง, สศิยา นกเกตุ, และวิสุทธิณี ธานีรัตน์. (2562). มันนิ(ซาไก) ชุมชนคนผืนป่าแห่งเทือกเขาบรรทัด (รายงานการวิจัย). ตรัง : คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง.
ฐิตารีย์ บุญเรือง, ฐิรัญญา คงนอก, กรวรรณ หนูประสิทธิ์, เสาวณีย์ ชัยสุวรรณ์, คาอูลิน ชัยสงคราม, และวิสุทธิณี ธานีรัตน์. (2563). วิถีเผ่าชนคนทะเล อูรักลาโว้ย (รายงานการวิจัย). ตรัง : คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง.
นงค์ลักษณ์ เหล่าวอ บัทเลอร์. (2561). อูรักลาโว้ยจากผู้บุกเบิกกลับกลายเป็นอื่น, RUSAMILAE JOURNAL, 39(1), 13-18.
บรรเจิด สิงคะเนติ. (2562). หลักพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามรัฐธรรมนูญ พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
ปัญญาอันดามัน. (2560). ชุมชนโต๊ะบาหลิว, สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2563, จาก http://panyaandaman.com/index/dataknowledge?id=292
ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580). (2563). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 135 ตอนที่ 82ก, ลงวันที่ 13 ตุลาคม 2561, น.1-71.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2563. จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-21