พุทธจริยธรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมตามวิถีพุทธ

ผู้แต่ง

  • พระครูอุทัยสุตกิจ
  • สุวิชัย อินทกุล

คำสำคัญ:

อนุรักษ์, สิ่งแวดล้อม, วิถีพุทธ

บทคัดย่อ

บทความนี้ต้องการนำเสนอการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมวิถีพุทธ การใช้ชีวิตแบบวิถีพุทธที่เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติการกลมกลืนกับธรรมชาติ การเป็นเพื่อนกับธรรมชาติ ซึ่งเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมตามแนวทางของพระพุทธศาสนา ปัจจุบันมนุษย์มีความเข้าใจผิดว่าการทำลายธรรมชาติทำให้ตนได้รับประโยชน์มากทำให้มนุษย์มองไม่เห็นคุณค่าของชีวิตทุกชีวิต คำสอนในทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับเรื่องป่านั้นได้สนับสนุนให้มนุษย์มีการดำรงชีวิตอย่างฉลาดโดยการใช้ให้น้อยเพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เข้าใจในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างที่ควรจะเป็นหรือวินัยในการใช้ประโยชน์ร่วมกัน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมวิถีพุทธทางด้านพุทธศาสนาได้สร้างระบบจริยธรรมตั้งแต่พื้นฐานไว้ พระพุทธศาสนาเชื่อว่าศีลธรรมของมนุษย์สามารถส่งผลกระทบไปถึงสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เพราะว่าทัศนะของพระพุทธศาสนา สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติไม่ใช่เป็นสิ่งที่แยกขาดจากการกระทำของมนุษย์ มนุษย์จะเพิกเฉยต่อผลกระทบถึงสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ อันเนื่องมาจากการกระทำของมนุษย์ไม่ได้ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่มีการทำกุศลกรรม เช่น การปลูกต้นไม้ การกตัญญูต่อแผ่นดินที่อยู่อาศัยความเสียสละต่อบุคคลอื่น และคุณธรรมจริยธรรมต่อเพื่อนมนุษย์ ทั้งนี้เพื่อประยุกต์หลักพุทธธรรมให้มีคุณค่าและมีประโยชน์ต่อสังคมมนุษย์ โดยจะนำหลักธรรม 2 ข้อ คือ หลักอิทัปปัจจยตา และเมตตา ดังนี้ 1. อิทัปปัจจยตา หลักธรรมเกี่ยวกับกฎธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นตั้งอยู่และสลายไปโดยความอาศัยกันเป็นเหตุเป็นผลแก่กันและกัน 2. เมตตาเป็นคุณธรรมที่สัมพันธ์กับกฎแห่งกรรมและเพื่อความอยู่รอดปลอดภัยของคนทั้งหลายสืบไป

 

References

กรมควบคุมมลพิษ, (2564). ความรู้ด้านการลด คัดแยก และนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ใหม่. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://pcd.go.th/info_serv/waste_3R.htm. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2564.

กรมป่าไม้. (2548). การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สำนักงานสารนิเทศกรมป่าไม้.

ประพันธ์ ศุภษร. (2561). พระวินัยกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2563. จาก https://www.mcu.ac.th/article/detail/427.

ประเวศ อินทองปาน. (2559). พระพุทธศาสนากับสิ่งแวดล้อม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พรวิวาห์ กึกก้อง. การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก เมืองพิษณุโลก. สืบค้นเมื่อ. 3 ธันวาคม 2563. https://sites.google.com/site/resourcemanagemen/naewkhid-ni-kar-xnuraks-sing-waedlxm-laea-thraphyakrthrrmchati

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2543). คนไทยกับป่า. กรุงเทพมหานคร: กรมวิชาการ องค์การค้าของคุรุสภา.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). (2544). พุทธธรรมฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 20. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัทสหธรรมิกจํากัด.

พระมหาสมชาย ฐานวุฑโฒ. (2547). มงคลชีวิต ฉบับ “ทางก้าวหน้า”. กรุงเทพมหานคร: ชมรมพุทธศาสตร์สากลในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์.

มานพ นักการเรียน. (2556). พระพุทธศาสนากับสิ่งแวดล้อมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

โสภารัตน์ จาระสมบัติ. (2551). นโยบายและการจัดการสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: โครงการตำราและสิ่งพิมพ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Chatchapol Songsunthornwong. Royal forest department. 2003 Online. Retrieved December 2, 2020. from: http://www.forest.go.th.

Nash Nancy. The Buddhist Perception of Nature Project. (Geneva: Earl & Associates, 1987).

Somporn Thepsithar. (1994).Religion and environment, In the environment: impact on Thai society. Academic meeting of the Royal Institute On the occasion of the founding day Royal Academy. 60th Anniversary.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-19