พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ

ผู้แต่ง

  • พระเทพคุณาภรณ์

คำสำคัญ:

ความเชื่อ, พระอินทร์, ช้างเอราวัณ

บทคัดย่อ

ตำนานพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ มีการกล่าวถึงในพระไตรปิฎกมากที่สุด เพราะเป็นเทพผู้พิทักษ์รักษาพุทธศาสนาเป็นบุคลาธิษฐานในตำนานที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อผู้เคารพ เชื่อถือทั้งในศาสนาต้นกำเนิดคือ ศาสนาพราหมณ์ และ พระพุทธศาสนาผู้นำที่ผู้ตามเปี่ยมด้วยศรัทธาเพราะด้วยความเปี่ยมเมตตา, เป็นพุทธสาวกผู้อุปัฏฐาก, สามีผู้ยึดมั่น, บรรพบุรุษผู้ตั้งมั่นทานบดี,กัลญาณมิตรต่อผู้ประพฤติธรรม, บุคลาธิษฐานเปรียบองค์ด้วยกฎแห่งกรรม, พระโพธิสัตว์บาเพ็ญบารมี, บิดาผู้เที่ยงธรรม, นักสังคมสงเคราะห์บำเพ็ญประโยชน์, บุตรกตัญญู, ญาติผู้อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่, แม้พระอินทร์จะเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในเทวโลกก็ยังมีวาระที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆบทบาทความสำคัญที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละยุคมีทั้งรุ่งเรืองและตกต่ำถูกลดบทบาทลงเป็นเทพชั้นรองจาก พระศิวะ พระวิษณุ และพระพรหม  ทางพระพุทธศาสนา พระอินทร์ต้องถือศีล 5 บริสุทธิ์ และ บำเพ็ญวัตตบท 7 ประการ จึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงเพราะคุณงาม  ความดี เปรียบเหมือนผู้ปกครองในปัจจุบันจะไม่มีความเสื่อมหากยึดมั่น ปฏิบัติมั่นในหลักธรรม ดังนั้นพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ จึงเป็นเทพที่ปกปักรักษาพุทธศาสนิกชนที่ยึดมั่นในศีลธรรมอันดีงาม การมีสร้างพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ เครื่องเตือนใจเป็น รูปหล่อ รูปเหมือน และอื่นๆ เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้ระลึกว่า คนดีเทพรักษา พระคุ้มครอง  และเป็นเครื่องป้องกันภัยจากสิ่งที่ไม่สามารถสัมผัสได้ที่จะมาทำร้าย เพราะพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ เป็นเทพเทวราชาคอยปราบปรามสิ่งชั่วร้ายทั้ง 3 โลก คือสวรรค์ มนุษย์ และนรก

References

กรุณา-เรืองอุไร กุศลาศัย, ภารตวิทยา, พิมพ์ครั้งที่ 6, (กรุงเทพมหานคร: บริษัทเคล็ดไทย, 2550)

เกื้อพันธ์ นาคบุปผา, “พระอินทร์ในวรรณคดีสันสฤต บาลี และวรรณคดีไทย”, คอสมอส. (2546) ตำนานเทพ ชาวเหนือ. กรุงเทพมหานคร: เครือเถา,

ตำนานเทพแห่งศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูสืบค้นจากhttp://www.oceansmile.com/KHM/ Tamnanthep.htm สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2564

ไตรภูมิพระร่วง จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี สืบค้นจาก https://th.wikipedia.org/wiki/ไตรภูมิพระ ร่วง#cite_ref-1 สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2564

ผศ. ดร. มนตรี สิระโรจนานันท์,“พระอินทร์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท”, บทความวิจัยวารสารมหา จุฬาวิชาการ. ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2561), หน้า 50

ผาสุก อินทราวุธ, "ดาวดึงส์ :สวรรค์ของศาสนาพราหมณ์หรือศาสนาพุทธ", ดำรงวิชาการ, 3, 5 (มกราคม- มิถุนายน):

พระยาสัจจาภิรมย์ฯ (สรวง ศรีเพ็ญ), เทวกำเนิด, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อมรินทร์,2555),

พิทักษ์ โค้ววันชัย พระอินทร์ “ราชาผู้ครองสวรรค์” สืบค้นจาก www.siamganesh.com/ indra.html สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2564

มนต์ ทองชัช, 4 ศาสนาสำคัญของโลกปัจจุบัน, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2530),

เมืองโบราณ “ตำนานและคติความเชื่อเกี่ยวกับพระอินทร์และช้างเอราวัณผู้พิทักษ์พระพุทธศาสนา” สืบค้นจาก https://www.erawanmuseum.com/history/ สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2564

วัชทนีย์ เสนาะล้ำ, “คติความเชื่อเรื่องพระอินทร์ในศิลปกรรมแบบเขมรในประเทศไทย”, สารนิพนธ์ศิลปศา สตรบัณฑิต (โบราณคดี), (ภาควิชาโบราณคดี: มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2530).

ศานติ ภักดีคำ, พระอินทร์, กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อมรินทร์, 2556.

สุวรรณ สุวรรณเวโช, พื้นฐานความเชื่อของคนไทย, (กรุงเทพมหานคร: บรรณกิจ 1991, 2546), 101.

Alan Cameron Greek Mythography in the Roman World (2005) OUP, Oxford (reviewed by T P Wiseman in Times Literary Supplement 13 May 2005 )

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-19