แนวทางการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุอย่างเหมาะสม
คำสำคัญ:
การจัดสวัสดิการ, รัฐสวัสดิการ, สังคมผู้สูงอายุบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ ต้องการอธิบายถึง ความสำคัญของผู้สูงอายุในสังคมไทยเพื่อให้มีการจัดสวัสดิการสังคม เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ซึ่งภาครัฐได้มีการจัดสวัสดิการสังคมให้กับผู้สูงอายุ โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้สูงอายุ นับว่าเป็นนโยบายในระดับชาติ ที่เล็งเห็นความสำคัญของผู้สูงอายุ ซึ่งมีแนวโน้มว่า สังคมไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุ ดังนั้น การจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุของภาครัฐนั้น จึงมีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งผู้เขียนได้เห็นความสำคัญของการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุที่เหมาะสม มี 4 ด้าน ประกอบด้วย 1. สุขภาพอนามัย คือ การที่ผู้สูงอายุได้รับการดูแลทางด้านสุขภาพกาย คือ ได้รับอาหารให้ครบตามหลักโภชนาการ การออกกำลังกาย และการได้รับการดูแลทางด้านจิตใจ คือ การได้อยู่ในครอบครัวที่อบอุ่น ได้รับการเอาใจใส่จากลูกหลาน มีกิจกรรมนันทนาการเพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินและผ่อนคลาย 2. ที่อยู่อาศัย คือ การที่ผู้สูงอายุมีที่อยู่อาศัยที่ถูกสุขลักษณะ มีความสะอาดและปลอดภัย 3. การทำงานและการมีรายได้ คือ การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ มีการส่งเสริมอาชีพให้กับผู้สูงอายุ และพัฒนารายได้ให้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพและ4. ความมั่นคงทางสังคม คือ การที่ผู้สูงอายุได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมไม่มีมลภาวะ และสังคมมีความปลอดภัย ดังนั้น การจัดสวัสดิการสังคมให้กับผู้สูงอายุนั้น ภาครัฐควรให้มีการส่งเสริมให้ครอบคลุมในทุกด้านทั้งด้านร่างกาย จิตใจ ครอบครัว สังคม รวมทั้งสิ่งแวดล้อม
References
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2552). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2548). พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พุทธศักราช 2546. กรุงเทพมหานคร: เจ.เอส.การพิมพ์.
จิราพร เกศพิชญ์วัฒนา, จันทร์เพ็ญแสงเทียนฉายและยุพินอังสุโรจน์ (2543). ความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ.กรุงเทพมหานคร : สถาบันนบริหารศาสตร์.
ณิชานี ฉุนฉลาด. (2558). การจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย (ออนไลน์). เข้าถึงได้ จาก: http://library2.parliament.go.th/wichakarn/content-digest/ digest021.pdf
, เมษายน 30]
นารีรัตน์ จิตรมนตรี และ สาวิตรี ทยานศิลป์. (2551). การทบทวนองค์ความรู้และแนวทางการจัดระบบ
สวัสดิการผู้สูงอายุในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.): ม.ป.พ.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.(2553). สถานการณ์สุขภาพผู้สูงอายุไทย. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย กระทรวงสาธารณสุข.
ระพีพรรณ คำหอม. (2554). สวัสดิการสังคมกับสังคมไทย (เอกสารประกอบการสอน วิชาแนวคิดและทฤษฎีปฏิบัติงานสวัสดิการสังคม). กรุงเทพมหานคร: คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ราชบัณฑิตยสถาน (2542). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน.พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์. การพิมพ์.
ระพีพรรณ คำหอม. (2549). สวัสดิการสังคมกับการสังคมไทย (Social Welfare in Thai Society) พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
วรรณภา ศรีธัญรัตน์, ผ่องพรรณ อรุณแสง, เพ็ญจันทร์ เลิศรัตน์และพรทิพา สมบัติ. (2545). ระบบบริการสุขภาพและหลักประกันสุขภาพสำหรับผู้สูงอำยุประเทศสิงคโปร์.ขอนแก่น:คลังนานาวิทยา.
วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์. (2541). นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: สถาบันระบบสาธารณสุข.
ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2550). การเตรียมการเข้าสู่วัยสูงอายุที่มีศักยภาพของบุคลากรกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุปีที่ : 8 ฉบับที่: 4 เลขหน้า: 25-34 ปีพ.ศ. : 2550.
ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2549).รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการผู้ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศิริพันธ์ ถาวรทวีวงษ์. (2543). ประชากรศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2544). สวัสดิการผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2545). สวัสดิการผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ. (2547). รายงานผลการดำเนินการรองรับสิทธิผู้สูงอายุตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุพ.ศ.2546 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550. (ตุลาคม 2549– กันยายน 2550).
สุรกุล เจนอบรม. (2541). วิสัยทัศน์ผู้สูงอายุและการศึกษานอกระบบสำหรับผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพมหานคร: นิชินแอดเวอร์ไทชิ่งกรุ๊ฟ.
สมบัติ กาญจนกิจ. (2544). นันทนาการและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.