พุทธสถาปัตยกรรมเชิงจิตวิทยาส่งเสริมความปลอดภัยในองค์กร
คำสำคัญ:
พุทธสถาปัตยกรรม, เชิงจิตวิทยา, ส่งเสริมความปลอดภัย, องค์กรบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักการและองค์ประกอบการออกแบบภายในของพุทธสถาปัตยกรรมเชิงจิตวิทยาส่งเสริมความปลอดภัยในองค์กร 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์กระบวนการการออกแบบภายในของพุทธสถาปัตยกรรมเชิงจิตวิทยาส่งเสริมความปลอดภัยในองค์กร และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการออกแบบภายในของพุทธสถาปัตยกรรมเชิงจิตวิทยาส่งเสริมความปลอดภัยในองค์กร ผลการวิจัยมีดังนี้รูปแบบการออกแบบภายในของพุทธสถาปัตยกรรมเชิงจิตวิทยา ส่งเสริมความปลอดภัยในองค์กร พบว่า สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( =63.72, df = 50, p = .092, GFI = .98, AGFI = .94, RMSEA = .023) สามารถอธิบายความแปรปรวน ความปลอดภัย ได้ร้อยละ 74 และพิจารณาตัวแปรส่งผ่าน (Mediators) พบว่า หลักสัปปายะ มีอิทธิพลอ้อมสูงกว่าอิทธิพลตรง หมายความว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพุทธสถาปัตยกรรมเชิงจิตวิทยาส่งเสริมความปลอดภัยในองค์กรที่พัฒนาขึ้น มีหลักสัปปายะ เป็นตัวแปรส่งผ่าน (Mediators) ที่ดี
References
ณันธวุฒิ กัญจนกาญจน์. แนวทางการออกแบบการใช้สอยแนวตั้งสำหรับอาคารชุดพักอาศัยขนาดเล็กระดับราคาปานกลางในเมือง. สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553.
ธีรา อินทร์สวาท. การศึกษาและวิเคราะห์ปัจจัยธรรมชาติที่มีผลต่อการออกแบบอาคารพักอาศัย ที่ใช้ระบบธรรมชาติในแต่ละภูมิภาค. สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545.
พระไพยนต์ รกฺขิตธมฺโม (ชะเอ). ศึกษาวิเคราะห์คติธรรมทางพระพุทธศาสนาที่แฝงอยู่ในสถาปัตยกรรม ของวัดในล้านนา, วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ปีที่ 6 ฉบับที่ 7 กันยายน 2562.
มนัสพงษ์ สงวนวุฒิโรจนา. คติ และ สัญลักษณ์ ในการออกแบบสถาปัตยกรรมของสัปปายะสภาสถาน. สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558.
บทความ. การก่อสร้าง ความหมาย ประเภท และการแบ่งงานก่อสร้าง. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.chi.co.th/article/article-1201/. [1 เมษายน 2564].
บทความ. เรียนรู้ขั้นตอนการออกแบบ และตกแต่งภายใน-ภายนอกอาคาร เพื่อความสวยงาม. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.chi.co.th/article/article-1153/. [12 สิงหาคม 2563].