การเสริมสร้างความสุขของบุคลากรในองค์กรสร้างสุขตามหลักพุทธจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ผู้แต่ง

  • สุทธิรัตน์ ชูเลิศ
  • สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
  • เมธาวี อุดมธรรมานุภาพ
  • สรายุทธ อุดม

คำสำคัญ:

ความสุข, บุคลากร, องค์กรสร้างสุข, พุทธจิตวิทยา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักการเสริมสร้างความสุขของบุคลากรและหลักการเสริมสร้างองค์กรสร้างสุขตามหลักพุทธจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์กระบวนการเสริมสร้างความสุขของบุคลากรในองค์กรสร้างสุขตามหลักพุทธจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการเสริมสร้างความสุขของบุคลากรในองค์กรสร้างสุขตามหลักพุทธจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย การวิจัยแบบผสมวิธี (Mixed Methods Research) ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อขยายผลวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Quantitative Method to Extend Qualitative Results) ผลการวิจัยมีดังนี้

รูปแบบการเสริมสร้างความสุขของบุคลากรในองค์กรสร้างสุขตามหลักพุทธจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พบว่า ค่าไค-สแควร์ ( = 53.61, df = 142, p = .068, GFI = .90, AGFI = .85, RMSEA = .077) สามารถอธิบายความแปรปรวนองค์กรสร้างสุข ได้ร้อยละ 24 และพิจารณาตัวแปรส่งผ่าน (Mediators) พบว่า หลักธรรมสร้างสุข และภาวะผู้นำสร้างสุข มีอิทธิพลอ้อมสูงกว่าอิทธิพลตรง หมายความว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการเสริมสร้างความสุขของบุคลากรในองค์กรสร้างสุขตามหลักพุทธจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่พัฒนาขึ้น มีภาวะผู้นำสร้างสุข เป็นตัวแปรส่งผ่าน (Mediators) ที่ดี

References

กมลทิพย์ รักวงศ์ภัทร, (2560). “แรงจูงใจในการทำงานและความเครียดจากการทำงานของนักกายภาพบำบัด ในโรงพยาบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร”, วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาสุขภาพจิต (บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560),

บุรินทร์ เทพสาร, (2557), ยุทธศาสตร์การบริหารการเปลี่ยนแปลงสถาบันอุดมศึกษาเอกชนสู่การเป็นองค์กรแห่งความสุข, ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, (สาขาวิชาอุดมศึกษา: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557).

จุฑามาศ แก้วพิจิตร และคณะ, (2556), 123 สู่การเป็นองค์กรแห่งความสุข,พิมพ์ครั้งที่ 1,

(กรุงเทพมหานคร: ศูนย์องค์กรสุขภาวะ (Happy Workplace Center), 2556).

วัฒนชัย ศิริญาณ, (2563), องค์กรแห่งนวัตกรรม: ทางเลือกใหม่สำหรับการพัฒนาในศตวรรษที่ 21, [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://infojournal.kku.ac.th/index.php/information/article

/view/75. [20 กุมภาพันธ์ 2563].

พระราชธรรมนิเทศ (ระแบบ ฐิตญาโณ), (2536). ธรรมะสาหรับประชาชน. (กรุงเทพมหานคร: บริษัท

คลังวิชา จำกัด, 2536).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-29