พุทธวิถีสายกลาง เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีความสมดุล

ผู้แต่ง

  • เฉลิมพงศ์ แก้วกัณหา
  • สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
  • วิชชุดา ฐิติโชติรัตนา
  • สรายุทธ อุดม

คำสำคัญ:

พุทธวิถีสายกลาง, คุณภาพชีวิตในการทำงาน, การทำงานที่มีความสมดุล

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาคุณลักษณะของพุทธวิถีสายกลางเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีความสมดุล 2) ศึกษาวิเคราะห์การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีความสมดุล 3) นำเสนอรูปแบบพุทธวิถีสายกลางเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีความสมดุล เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีที่ใช้วิธีเชิงปริมาณเพื่อขยายผลวิธีเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เป็นผู้บริหารองค์กร ผู้เชี่ยวชาญทางพระพุทธศาสนา ผู้ทรงคุณวุฒิทางจิตวิทยา ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิทางคุณภาพชีวิต จำนวน 18 รูป/คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง และใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 410 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบง่าย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป และการวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยมีดังนี้

รูปแบบพุทธวิถีสายกลางเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีความสมดุล พบว่า ค่าไค-สแควร์ (   = 53.07, df = 26, p = .065, GFI = .87, AGFI = .78, RMSEA = .109) สามารถอธิบายความแปรปรวนความสมดุล ได้ร้อยละ 90 และพิจารณาตัวแปรส่งผ่าน (Mediators) พบว่า พุทธวิถี และแรงจูงใจในการทำงาน มีอิทธิพลอ้อมสูงกว่าอิทธิพลตรง หมายความว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพุทธวิถีสายกลาง เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีความสมดุลที่พัฒนาขึ้น มีแรงจูงใจ เป็นตัวแปรส่งผ่าน (Mediators) ที่ดี

References

รศ.ดร.ทัศนีย์ ชาติไทย, (2559), คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, รายงานผลการวิจัย, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2559.

เสฐียรพงษ์ วรรณปก, (2546), คิดเป็นทำเป็นตามแนวพุทธธรรม, (กรุงเทพมหานคร: หจก. ซันต้าการพิมพ์, 2546).

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), (2548), คู่มือชีวิต, พิมพ์ครั้งที่ 6, (กรุงเทพมหานคร: พิมพ์สวย, 2548.

นราทิพย์ ผินประดับ. (2562). “โมเดลเชิงสาเหตุคุณภาพชีวิตข้าราชการกรุงเทพมหานคร ในบริบทพุทธจิตวิทยา”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2562).

ว่าที่ร้อยตรีหญิง วาริณีโพธิราช. (2558). คุณภาพชีวิตการทํางานของลูกจ้างในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-29