ศูนย์การสร้างสุขภาวะให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้วยการปฏิบัติธรรม ร่วมกับนวัตกรรมการป้อนกลับทางชีวภาพ

ผู้แต่ง

  • ศรัณย์ กอสนาน
  • อุบลวรรณา ภวกานนท์
  • วิวัฒน์ หามนตรี
  • จ่ามยุ้น ลุงเฮือง

คำสำคัญ:

ระดับความเครียด, การปฏิบัติธรรม, เครื่องมือการป้อนข้อมูลกลับทางชีวภาพ GSR2, แบบค่าความต้านทานไฟฟ้า, แบบการจับเวลาในการเข้าสู่สภาวะจิตสงบ, ค่าระยะเส้นฐาน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาการปฏิบัติธรรมที่มีผลต่อระดับความเครียดโดยการวัดด้วยเครื่องมือการป้อนข้อมูลกลับทางชีวภาพแบบ GSR2 2. ศึกษาประสบการณ์การปฏิบัติธรรมที่มีผลต่อระดับความเครียดโดยการวัดด้วยเครื่องมือการป้อนข้อมูลกลับทางชีวภาพแบบ GSR2 และ 3. เสนอค่าระยะเส้นฐาน (Baseline) ของระดับความเครียดคนไทยของเครื่องมือการป้อนข้อมูลกลับทางชีวภาพแบบ GSR2 ซึ่งจะเป็นแนวทางของศูนย์การสร้างสุขภาวะในการใช้เป็นมาตรฐานวัดให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การวิจัยเป็นแบบกึ่งการทดลอง ซึ่งวัดระดับความเครียดด้วยนวัตกรรมเครื่องการป้อนข้อมูลย้อนกลับทางชีวภาพแบบ GRS2 ทั้งในแบบความต้านทานกระแสไฟฟ้าที่ผิวหนังด้วยผลเข็มหน้าปัทม์ (โอห์ม) และแบบการจับเวลาการเข้าสู่สภาวะจิตสงบ (นาที) ตามอุณหภูมิและความชื้นร่างกาย ประชากรศึกษาคือ ทั้งบรรพชิตและฆราวาสที่เป็นนิสิต เจ้าหน้าที่ บุคลากร ที่เรียนหรือทำงานในหลักสูตรสาขาต่างๆ และผู้ที่มาปฏิบัติธรรมที่มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตวังน้อย จ. พระนครศรีอยุธยา รวมทั้งสงฆ์ สามเณร นักเรียนที่ศูนย์จิตตภาวนา
วัดสุทธิวราราม กรุงเทพฯ โดยกลุ่มตัวอย่าง 180 รูป/คน จะถูกสุ่มตามเงื่อนไขประสบการณ์ในการปฏิบัติธรรมเป็น 3 กลุ่มคือ 1) กลุ่มที่ปฏิบัติธรรม 1 - 2 ครั้ง 2) กลุ่มที่ปฏิบัติธรรม 3 - 10 3) กลุ่มที่ปฏิบัติธรรมเกินกว่า 10 ครั้ง โดยแต่ละกลุ่มจะมีตัวอย่าง 60 รูป/คน)

ผลการวิจัยพบว่า

กลุ่มตัวอย่างส่วนมากอายุ 30-55 ปีและมีอยู่ในทุกกลุ่มเงื่อนไขการปฏิบัติธรรม แต่กลุ่มตัวอย่างที่อายุน้อยกว่า 30 ปีจะพบเฉพาะในกลุ่มเงื่อนไขปฏิบัติธรรม 1-2 ครั้งเท่านั้น เช่นเดียวกับกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไป ที่พบเฉพาะในกลุ่มปฏิบัติธรรมมาเกินกว่า 10 ครั้ง

ผลรวมและผลในแต่ละกลุ่มเงื่อนไขประสบการณ์การปฏิบัติธรรมที่ต่างกันพิสูจน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติว่า การปฏิบัติธรรมทำให้ระดับความเครียดลดลง ไม่ว่าจะวัดด้วยเครื่องมือการป้อนข้อมูลกลับทางชีวภาพ GSR2 แบบค่าความต้านทานไฟฟ้าที่ผิวหนัง (โอห์ม) และแบบจับเวลาในการเข้าสู่สภาวะจิตสงบ (นาที) ต่างก็ให้ผลสอดคล้องกันว่า การปฏิบัติธรรมนั้นมีผลต่อระดับความเครียด

ผลการเปรียบเทียบระดับความเครียดระหว่างกลุ่มเงื่อนไขที่มีประสบการณ์ต่างกันนั้น พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเฉพาะในผลหลังการทดลองเมื่อวัดด้วยแบบเวลาในการเข้าสู่สภาวะจิตสงบ โดยกลุ่มที่ปฏิบัติธรรมเกิน 10 ครั้งจะใช้เวลาในการเข้าสู่สภาวะจิตสงบน้อยที่สุด ( = 2.2 นาที) รองลงมาคือ กลุ่มที่ปฏิบัติธรรม 3 - 10 ครั้ง ( = 2.8 นาที) ส่วนกลุ่มที่ปฏิบัติธรรม 1-2 ครั้ง จะใช้เวลามากที่สุด ( = 3.1 นาที) ผลการศึกษานี้ทำให้เห็นว่า ประสบการณ์การปฏิบัติธรรมมีผลแตกต่างกันต่อระดับความเครียด

ค่าระยะเส้นฐานของระดับความเครียดที่วัดแบบค่าความต้านทานไฟฟ้าในกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 
(n = 180 คน) คือ -1.56 โอห์ม และผลในกลุ่มปฏิบัติธรรม 1-2 ครั้งจะมีสูงสุด คือ -2.05 โอห์ม รองลงมาคือ กลุ่มปฏิบัติธรรม 3–10 ครั้ง คือ -1.55 โอห์ม และกลุ่มปฏิบัติธรรมเกิน 10 ครั้งจะมีค่าน้อยที่สุด คือ -1.07 โอห์ม

ค่าระยะเส้นฐานของระดับความเครียดที่วัดแบบการจับเวลาในการเข้าสู่สภาวะจิตสงบ ในกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดคือ 4.7 นาที และในกลุ่มปฏิบัติธรรม 1-2 ครั้งจะมีสูงสุดคือ 4.9 นาที รองลงมาคือ กลุ่มปฏิบัติธรรม 3 – 10 ครั้ง คือ 4.6นาที และกลุ่มปฏิบัติธรรมเกิน 10 ครั้งจะมีค่าน้อยที่สุด คือ 4.1 นาที

References

กนกภรณ์ ทองคุ้ม มรรยาท รุจิวิชญญ์ และชมชื่น สมประเสริฐ. (2558). ผลของการฝึกสมาธิร่วมกับการฝึกโปรแกรมไบโอฟีดแบคต่อระดับความเครียด ของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. พยาบาลสาร. ปีที่ 42 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มีนาคม พ.ศ. 2558): 24

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2539). ความเครียดและสุขภาพจิตของคนไทย. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงสาธารณสุข.

กรมสุขภาพจิต. (2541). คู่มือคลายเครียด. (พิมพครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: ดีไซน์คอนดักชั่น.

เกวลี เครือจักร กิตติ ศศิวิมลลักษณ์ และวิโรจน์ มงคลเทพ. (2560). ความเครียดและพฤติกรรมการปรับตัวของประชากรวัยทอง ตำบลแม่กรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 (มกราคม - เมษายน 2560): 2-3

จันทร์เพ็ญ สันตวาจา. (2548). แนวคิดพื้นฐานทฤษฎีและกระบวนการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ธนาเพลส.

จำลอง ดิษยวณิช. (2543). วิปัสสนากรรมฐานและเชาว์อารมณ์. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์แสงศิลป์.

จุฑารัตน์ สุคันธรัตน์. (2541). การรับรู้บรรยากาศองค์การและความเครียดของบุคลากร ในโรงพยาบาล

ตากสิน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรม และองค์การ. คณะศิลปะศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ตรีนุช ราษฎร์ดุษดี, มรรยาท รุจิวิชชญ์, เพ็ญพักตร์ อุทิศ. (2014). ผลของโปรแกรมไบโอฟีดแบคร่วมกับการ สร้างจินตนาการ ต่อระดับพฤติกรรมก้าวร้าวของผู้เสพสารแอมเฟตามีน. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ทองแถม นาถจำนง (2562). การทำวิปัสสนาสมาธิมีผลต่อร่างกายของคน สยามรัฐออนไลน์ https://siamrath.co.th/เมื่อวันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พุทธศักราช 2562

ทองแถม นาถจำนง. (2561). ฌานสมาธิกับเครื่องมือวิทยาศาสตร์ สยามรัฐออนไลน์ https://siamrath.co.th/ 1 กุมภาพันธ์ 2561 ตามรอยศึกฤทธิ์

ประเวศ วะสี. (2538). วัฒนธรรมกับการพัฒนา. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

ประเวศ วะสี. (2543). สุขภาพในฐานะอุดมการณ์ของมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: สํานักงาน.

พระครูสมุห์เดือน ปุญฺญจาโร (มงคลคูณ) และกรรมาธิการ จิตตะมาก. (2560). “สัญญาขันธ์ : หนึ่ง ในความสำคัญของการศึกษาและการพัฒนาชีวิต”. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน 2560). 16-32

พระชัยพร จนฺทวํโส (จันทวงษ์). (2554). ศรัทธาในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาตามแนวสติปัฏฐาน 4. ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิปัสสนาภาวนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระฐิตะวงษ์ อนุตฺตโร, สิริวัฒน์ ศรีเครือดง, ประพันธ์ กุลวินิจฉัย, และคณะ. (2550). ผลการฝึกสมาธิที่มีต่อการควบคุมตนเองของนักเรียนอาชีวศึกษา ในกรุงเทพมหานคร. คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2539). ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง. กรุงเทพมหานคร: ชมรมผู้ปฏิบัติธรรม สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2542). ชีวิตและผลงานพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) และนานาทัศน์ของนักวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปฎก (ประยุทธปยุตฺโต). (2540). การสร้างสรรค์ปัญญาเพื่ออนาคตของมนุษยชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหธรรมิก จำกัด.

พระปราโมทย์ ปาโมขโช. (2550). ทางผิดที่ติดตาย ในหนังสือ ทางเอก. ชลบุรี: วัดสวนสันติธรรม.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2548). ความหมายของสุขภาวะ. ธรรมกถา ปาฐกถา แก่ นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน์ อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และคณะ ณ วัดญาณเวศกวัน. หน้า 103-112. (28-29 เมษายน 2522). พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง. ก่อน กันยายน

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2551). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสหพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง.

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2557). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ. พิมพครั้งที่ 35. นนทบุรี: กองการแพทยทางเลือก กรมพัฒนาการแพทยแผนไทยและการแพทยทางเลือก สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข.

พระมหาสากล สุภรเมธี (เดินชาบัน). ดร.. (2558). การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมตามแนวพุทธปรัชญา. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 ประจำเดือน กรกฎาคม-ธันวาคม 2558: 351-358

พระราชพุทธิญาณ. (2505). วิปัสสนากรรมฐาน (แนวมหาสติปัฏฐานสูตร). รวบรวมโดย พระราชพุทธิญาณ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ ประธานศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่นวัดบุพพาราม วัดบุพพาราม อำเภอเมือง จ.เชียงใหม่ จัดพิมพ์โดย กรมการศาสนา กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

พลศักดิ์ จิรไกรศิริ. (2529). ความคิดทางการเมืองเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

พุทธทาสภิกขุ. (2537). ธรรมโฆษณ์ ชุดเยาวชนกับศีลธรรม. สุราษฎร์ธานี: ธรรมทานมูลนิธิ.

มรรยาท รุจิวิชชญ์. ณฐวรรณ รักวงศ์ประยูร. สารรัตน์ วุฒิอาภา. และคณะ. (2012). ผลของโปรแกรมการฝึกไบโอฟีดแบคและเทคนิคผ่อนคลายความเครียดต่อภาวะสุขภาพและระดับความเครียดของผู้ป่วยโรคหัวใจ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่. ปีที่ 20 ฉบับที่ 5 (Supplement Issue 2012): บทคัดย่อ

มาลี อนากุล. (2539). การศึกษาเปรียบเทียบกรรมฐานในคัมภีร์พระอภิธัมมัตถสังคหะกับคัมภีร์วิสุทธิมรรคและวิธีปฏิบัติกรรมฐานของสำนักวิปัสสนาอ้อมน้อยกับวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์ สาขาศาสนาเปรียบเทียบ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน

วรพงษ์ แสงประเสริฐ. รุ่งทิวา แย้มรุ่ง และ ลัดดาวัลย์ เกษมเนตร.(2560). การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริม ความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ: ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน 2560: 106-124

วิชัย รูปขำดี, กฤษฎา นันทเพ็ชร, สิทธิพร เขาอุ่น. (2557). โครงการการจัดทำรายงานการนำนโยบายพัฒนาส้วมสาธารณะไทยไปสู่การปฏิบัติ. สำนักอนามัยและสิ่งแวดล้อม: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณะสุข.

วิชิต เปานิล. (2546). พุทธกระบวนทัศน์เพื่อสุขภาพและการเยียวยาในสังคมไทย. วารสารทางวิชาการ คณะสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 49-55วิธีปฏิบัติธรรม5. (2017). OoCities http://www.oocities.org/rainforest/jungle/2897/file5.html บทที่ 5 ข้อแนะนำในการปฏิบัติธรรม. สืบค้นเมื่อ Dec 4. 2017.

วิปัสสนาไทย. (2562). ศูนย์ปฏิบัติธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

https://www.vipassanathai.org/ main.php สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน พ.ศ. 2562

ศรีจันทร์ พรจิราศิลป์. (2017). ความเครียดและวิธีแก้ความเครียด. (Online) Available: http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id=47. สืบค้นเมื่อ Sep 12. 2017.

ศุภวรรณ ธนุภาพรังสรรค์ และมาลีวัล เลิศสาครศิริผล. (2559). การใช้รูปแบบการฝึกสมาธิโดยบูรณาการสติปัฏฐาน 4 กับ เอสเคที 1 ต่อความสามารถทางสมอง ความตระหนักรู้ในตนเอง และสัมฤทธิผลทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ ปีที่ 36 ฉบับพิเศษ กันยายน - ธันวาคม 2559

เสถียรพงษ วรรณปก. (2540). ชีวิตตัวอย่าง : หมอชีวกโกมารภัจจ์. วารสารลานธรรมจักร. (19 เมษายน 2540) : 34

โสฬส ศิริไสย์. (2537). “โลกานุวัตรจากมุมมองทางวัฒนธรรม” ใน เอกสารประกอบการสัมมนา เรื่อง การเสริมสร้างพลังทางวัฒนธรรมแก่ครอบครัวในยุคโลกานุวัตร. หน้า 5. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.

อารี เพชรผุด. (2540). สภาพการทํางานและองค์ประกอบด้านบุคคล. กรุงเทพฯ : ภาควิชาจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อุบลวรรณา ภวกานันท์. (2554). เอกสารประกอบการสอนวิชา จิตวิทยาผู้บริโภค. ภาควิชาจิตวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Christopher Dowrick. Patricia Casey. Odd Dalgard. and Clemens Hosman. (1998). Outcomes of Depression International Network (ODIN): Background. methods and field trials. The British Journal of Psychiatry. Volume 172. Issue 4 April 1998 . pp. 359-363. https://doi.org/10.1192/bjp.172.4.359 Published online: 03 January 2018. สืบค้นเมื่อ Sep 12. 2018.

Davidson RJ. (2004). Well-being and affective style: neural substrates and biobehavioural correlates. Philosophical Transactions of the Royal Society (London). 359:1395-411.

Jean Piaget. (1969). The psychology of the child. New York: basic books

Lazarus. A A. (1971). Behavior therapy and beyond. New York: McGraw-Hill.

Miller - Keane. (1983). The Miller-Keane Encyclopedia & Dictionary of Medicine. Nursing & Allied Health. 7th Edition. USA.: Amazon Co. Ltd. 30.

Though Technology Ltd.. (2019). GSR2 Biofeedback Relaxation System; Instruction Manual. Quebec. Canada: Though Technology Ltd.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-29