รูปแบบการสวดมนต์และปฏิบัติอานาปานสติส่งเสริมอัตมโนทัศน์เชิงพุทธของผู้ปฏิบัติธรรม
คำสำคัญ:
รูปแบบการสวดมนต์, อานาปานสติ, อัตมโนทัศน์เชิงพุทธ, ผู้ปฏิบัติธรรมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการบริหารจัดการแนวปฏิบัติการสวดมนต์และปฏิบัติอานาปนสติในสำนักปฏิบัติธรรม เพื่อพัฒนารูปแบบการสวดมนต์และการปฏิบัติอานาปานสติส่งเสริม
อัตมโนทัศน์เชิงพุทธของผู้ปฏิบัติธรรมและนำเสนอรูปแบบการสวดมนต์และการปฏิบัติอานาปานสติส่งเสริม
อัตมโนทัศน์เชิงพุทธของ ผู้ปฏิบัติธรรม ผู้ศึกษาได้ทำการวิจัยแบบเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการวิจัยเอกสาร (Document Research ) และวิธีการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ โดยอาศัยวิธีการทางจิตวิทยา สัมภาษณ์แบบเชิงลึก (In- depth interview) และการสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus group) การใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูลเป็นลักษณะการพรรณนาความ (Descriptive Presentation)
ผลการวิจัย พบว่า 1. การบริหารจัดการแนวปฏิบัติการสวดมนต์และปฏิบัติอานาปนสติในสำนักปฏิบัติธรรมในสังคมไทย พบว่า มี 7 ด้าน (1) ด้านสถานที่และสภาพแวดล้อมควรมีความเป็นสัปปายะ
(2) ด้านบุคลากร ได้แก่ เจ้าหน้าที่วัดและจิตอาสา จะช่วยอำนวยความสะดวกในการให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ ตอบคำถามเกี่ยวกับการจัดการในสำนักปฏิบัติและวิปัสสนาจารย์คือต้นแบบที่ดี (3) การบริหารจัดการและเทคโนโลยีสื่อสารสำนักปฏิบัติ การประชาสัมพันธ์ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย (4) การสวดมนต์ การกระทำที่ต้องพร้อมด้วยกาย วาจา ใจ อันนำไปสู่กุศล (5) การปฏิบัติอานาปานสติแบ่งเป็น 4 หมวด คือ กายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา และ ธัมมานุปัสสนา (6) รูปแบบการสวดมนต์และปฏิบัติอานาปานสติ เป็นกำหนดให้มีการสวดมนต์แปลเพื่อให้เกิดความเข้าใจในบทสวดและเกิดศรัทธาด้วยความเข้าใจความหมาย
(7) การบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมที่มีผลต่อการสวดมนต์และปฏิบัติอานาปานสติ เป็นการจัดสภาพแวดล้อมที่ดีที่เหมาะสมต่อการมาปฏิบัติธรรมส่งเสริมให้เกิดความสบายกายสบายใจช่วยให้เกิดดุลยภาพของชีวิตมากขึ้นทั้งทางกายใจและใจ เอื้ออำนวยส่งเสริมต่อการปฏิบัติ
References
กาญจนา ไชยพันธุ์. (2549). การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม (Group Counseling). (กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์. 2549).
กิจจ์ศรัณย์ จันทร์โป๊. (2556). “ผลของการสวดมนต์ตามแนวพระพุทธศาสนา และการทำสมาธิแบบอานาปานสติที่มีต่อความเครียดของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. (บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2556).
ณรงค์ สุภัทรพันธุ์. (2529). “สุขภาพจิตผู้สูงอายุ”. เอกสารคำสอนภาควิชาจิตเวชศาสตร์.
(คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธบิดี. 2529).
พรพิมพ์ ลิปิวัฒนาการ. (2560). “การสวดมนต์เพื่อบรรเทาทุกข์ กรณีศึกษาการสวดมนต์วันอาทิตย์ ณ วัดธรรมมงคล”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2560).
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2563). ปฏิบัติธรรม คืออย่างไร. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.dharma-gateway. com/monk/preach/lp-prayuth/lp-prayuth-33.htm [20 สิงหาคม 2563].
พระเมธีวชิโรดม (วุฒิชัย วชิรเมธี). (2563). อริยสัจสี่. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www. posttoday. com/life/healthy/548924 [20 สิงหาคม 2563].
พันเอกเกื้อ ชัยภูมิ. (2557). “รูปแบบการสวดมนต์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท”. การประขุมวิชาการและนำเสนอผลการวิจัย ระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ ๖ รวมรวมโดยวารสารบัณฑิตศึกษา. (กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 2557)
Kabat-Zinn J..(1999). Indra’s Net at Work: The Mainstreaming of Dharma Practice in Society. In Watson G. Batchelor S & Claxton G. (editors). The Psychology of an Awakening: Buddhism Science and Our Day-to-Day Lives. (London: Rider. 1999). pp. 225-249.