การประยุกต์พุทธจริยธรรมเพื่อการเสริมสร้างภาวะผู้นำ ของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • พระภิญโญ ตสฺสนาโม
  • จำนง อดิวัฒนสิทธิ์
  • ยุทธนา ปราณีต
  • สวัสดิ์ จิรัฎฐิติกาล

คำสำคัญ:

พุทธจริยธรรม, ภาวะผู้นำ, นักการเมืองท้องถิ่น

บทคัดย่อ

ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพจริยธรรม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่เสริมสร้างภาวะผู้นำ 3) เพื่อการประยุกต์หลักพุทธจริยธรรมต่อการเสริมสร้างภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดชลบุรี ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 375 คน นำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 19 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 10 รูปหรือคน

ผลการวิจัยพบว่า

  1. จริยธรรมทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่น ประกอบด้วย 1) ด้านความดีงาม 2) ด้านความถูกต้อง และ 3) ด้านความเหมาะสม ดำเนินการปฏิบัติงานตามกรอบจริยธรรม ให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและชุมชน
  2. ปัจจัยที่เสริมสร้างภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่น คือ 1) หลักนิติธรรม เมื่อบังคับใช้ให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่กฎหมายกำหนด 2) หลักคุณธรรม การยึดถือและเชื่อมั่นในความถูกต้องดีงาม 3) หลักความโปร่งใส เปิดเผยข้อมูลข่าวสารอย่างตรงไปตรงมา 4) หลักการมีส่วนร่วม เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้
    5) มีความรับผิดชอบต่อประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน 6) หลักความคุ้มค่า จึงจำเป็นต้องยึดหลักความประหยัดและคุ้มค่า
  3. การประยุกต์หลักพุทธจริยธรรมคือ ภาวนา 4 ในการเสริมสร้างภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดชลบุรี คือ 1) กายภาวนา มีใจเป็นกลาง มีความซื่อตรง โปร่งใส จริงใจ และเป็นแบบอย่างที่ดี 2) ศีลภาวนา มีความอดทนอดกลั้น ยึดมั่นความถูกต้องเป็นธรรม มีน้ำใจ ใจเย็น สามารถควบคุมอารมณ์ได้แม้จะประสบปัญหา 3) จิตตภาวนา ทำหน้าที่ด้วยความขยันหมั่นเพียร มุ่งมั่นในจุดมุ่งหมาย หมั่นใส่ใจดูแลและสร้างขวัญกำลังใจแก่บุคลากรในองค์กร 4) ปัญญาภาวนา มีความเสียสละ เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล ช่วยเหลือบำเพ็ญประโยชน์ มีความจริงใจในการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักธรรมาภิบาล

References

กมลวรรณ คารมปราชญ์ และคณะ. (2554). “กระบวนการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองด้านจริยธรรมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร” . วารสารพฤติกรรมศาสตร์. 17 (1): 31-45.

จิดาภา เร่งมีศรีสุข. (2556). “ยุทธศาสตร์การพัฒนาจริยธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคกลาง”. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ณัฏฐวัฒน์ สุดประเสริฐ. (2555). “พฤติกรรมเชิงจริยธรรมในสังคมมนุษย์ที่มีผลต่ออายุและทรัพยากรธรรมชาติในจักกวัตติสูตร”. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2555.

ณัฐดนัย แก้วโพนงาม. (2560). “เศรษฐศาสตร์การเมืองในบริบทสังคมไทยภายใต้สภาวะความขัดแย้งในจังหวัดชัยภูมิ”. รายงานวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หน้า 2.

ทวนธง ครุฑจ้อน. (2561). การปกครองท้องถิ่นและการบริหารท้องถิ่น. พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลา: นำศิลป์โฆษณา.

ทวนธง ครุฑจ้อน. (2561). การปกครองท้องถิ่นและการบริหารท้องถิ่น. พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลา: นำศิลป์โฆษณา.

ธนนันท์ สิงหเสมและคณะ. (2558). “แนวทางการส่งเสริมจริยธรรมสำหรับ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ระดับท้องถิ่น”. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม. 11 (1): 58-70.

ธนภัทร จันทร์เรือง. (2556). “ความคิดเห็นของข้าราชการกรุงเทพมหานครต่อจริยธรรมของนักการเมืองท้องถิ่น”. รายงานวิจัย. สำนักวิจัยเกษตรศาสตร์ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. หน้า 1-2.

นิด้าโพล NIDA Pool. โพลแห่งแรกในประเทศไทย. คุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง, [ออนไลน์],แหล่งที่มา : http://www.nidapoll.nida.ac.th/index.php?op=polls-detail&id=578 [7มิถุนายน 2563].

พระมหารินทร์ สุรปญฺโญ. (2563).“การประยุกต์หลักพุทธจริยธรรมเพื่อพัฒนาจริยธรรมทางการเมืองของผู้นำทางการเมืองในจังหวัดชัยภูมิ”. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศรัณย วงศ์คำจันทร์. (2555). “จริยธรรมนักการเมืองไทย”. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2 (3): 263-282.

ศิลาวัฒน์ ชัยวงศ์. (2563). “จริยธรรมของนักการเมืองในระบบการเมืองไทย”. วารสารสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 6 (1): 67-81.

เศรษฐวัฒน์ โชควรกุล และคณะ. (2561). “แนวทางสร้างค่านิยมต่อต้านการคอร์รัปชันทุกรูปแบบให้กับกลุ่มเยาวชน ในจังหวัดนครราชสีมา”. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น. 2(3): 15-16.

สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์ และคณะ. (2561). ธรรมาภิบาลกับการประยุกต์ใช้ในสังคมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัดเวิลด์เทรด ประเทศไทย.

อิสระพัฒน์ ธีรพัฒน์สิริ. บทบาทของสื่อมวลชนที่มีต่อการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมของนักการเมือง, [ออนไลน์], แหล่งที่มา :

http://library.senate.go.th/document/Ext3468/3468378_0002.PDF [7 มิถุนายน 2563].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-29