การปลูกฝังความกตัญญูกตเวทีเพื่อพัฒนาเยาวชนไทยเชิงพุทธบูรณาการ

ผู้แต่ง

  • เบญจวรรณ ชยางกูร ณ อยุธยา

คำสำคัญ:

พุทธบูรณาการ, ความกตัญญูกตเวที, เยาวชนไทย

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งแสดงให้เห็นถึงการปลูกฝังความกตัญญูกตเวทีเพื่อพัฒนาเยาวชนไทยเชิงพุทธบูรณาการ
ซึ่งมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพคุณธรรมจริยธรรมด้านความกตัญญูกตเวทีของเยาวชนไทย
2) เพื่อศึกษาหลักการปลูกฝังความกตัญญูกตเวทีตามหลักพระพุทธศาสนา และ 3) เพื่อเสนอรูปแบบการปลูกฝังความกตัญญูกตเวทีเชิงพุทธบูรณาการของเยาวชนไทย เป็นการวิจัยแบบการศึกษาเชิงคุณภาพ และวิจัยเชิงเอกสาร  โดยแบงลําดับขั้นตอนการดําเนินการวิจัย ดังนี้ ใชการสัมภาษณ์ โดยสัมภาษณ์เชิงลึกพระภิกษุสงฆ์ นักวิชาการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เยาวชนไทยที่เป็นตัวอย่างที่ดี ครู และผู้ปกครอง แล้วนำมาข้อมูลจากสัมภาษณ์มาเรียบเรียง โดยวิธีพรรณนา มีการวิจัยภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลหลัก 5 กลุ่ม โดยการเลือกแบบเจาะจง และมีการสนทนากลุ่ม โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัยพบว่า

(1) สภาพคุณธรรมจริยธรรมความกตัญญูกตเวทีของเยาวชนไทย มีปัญหาที่เกิดกับเยาวชนไทยจำนวนมาก ได้แก่ ปัญหาสุขภาวะในเยาชนต่ำกว่าเกณฑ์ ปัญหายาเสพติด ปัญหาคุณภาพการศึกษา เยาวชนเห็นคุณค่าทางวัตถุมากกว่าเห็นคุณค่าทางด้านจิตใจ ทำให้คุณค่าของวัตถุมีอิทธิพลต่อการครอบงำจิตใจ ทำให้เกิดปัญหาครอบครัว ไม่มีสำนึกด้านความกตัญญูกตเวทีอันเป็นพื้นฐานของคนดี ต่อบิดามารดาและผู้ที่มีพระคุณ เยาวชนไม่มีบุคคลต้นแบบของชีวิต นำไปสู่ปัญหาทางสังคม

(2) หลักการปลูกฝังความกตัญญูกตเวทีตามหลักพระพุทธศาสนาเป็นหลักการสำคัญในทางพระพุทธศาสนาที่สังเกตได้ด้วยการกระทำความดีต่อกัน เป็นการแสดงถึงความปรารถนาดีของทุกคนโดยผลของการกระทำย่อมจะทำให้ตนมีความสุข และผู้อื่นก็มีความสุขด้วย หลักการพระพุทธศาสนาจึงได้กล่าวยกย่องบุคคล ผู้มีความกตัญญูว่า “เป็นบุคคลที่หาได้ยากในโลก” ว่า บุคคลที่หาได้ยากมีอยู่ 2 จำพวก คือ 1. บุพพการี คือผู้ทำอุปการะก่อน และ 2. กตัญญูกตเวที คือ ผู้รู้อุปการะที่เขาทำแล้วและตอบแทน หลักมงคลที่ 25 มีความกตัญญู และทิศ 6  

(3) รูปแบบการปลูกฝังความกตัญญูกตเวทีเพื่อพัฒนาเยาวชนไทยเชิงพุทธบูรณาการ จากการวิจัย พบว่า ผู้วิจัยได้องค์ความรู้ใหม่ในการพัฒนาเยาวชนไทย คือ รูปแบบการปลูกฝังความกตัญญูกตเวทีเพื่อพัฒนาเยาวชนไทยเชิงพุทธบูรณาการ ได้แก่ 1. การปฏิสัมพันธ์ทางสังคม 2. วิถีประชา และ 3. การเรียนรู้แบบองค์รวม

References

พระธรรมญาณมุนี (บุญนาค ชินวํโส ป.ธ.9). คนดีของพระธรรมญาณมุนี. ลพบุรี: หัตถโกศลการพิมพ์.

พระพรหมคุณภรณ์ (ป.อ.ปยุต.โต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 10.

กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2526.

พระพรหมคุณภรณ์ (ป.อ.ปยุต.โต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 17.

กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 2541.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต ) ปัจจุบันดำรงสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์. พุทธศาสนากับสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มูลนิธิ โกมลคีมทอง. 2552.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เอกสารประกอบการประชุมงานสมัชชาคุณธรรมภาคเหนือ “รวมพลังประชารัฐขับเคลื่อนสังคมคุณธรรม :

พอเพียงวินัย สุจริต จิตอาสา” วันที่ 22-23 มิถุนายน 2560 ณ ศาลาสภาบริหารคณะสงฆ์จังหวัดพิจิตร วัดท่าหลวง พระอารามหลวง อ.เมือง จ.พิจิตร โดยศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) กระทรวงวัฒนธรรม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-29